ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 28, 2015 14:03 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด

ปีการผลิต 2557/58

— มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย

มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนแรก ในส่วนของมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท แก่ชาวนาที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเปิดบัญชีไว้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งมีที่ดินทำกินไม่เกิน 15 ไร่ และชาวนาที่มีที่ดินมากกว่า 15 ไร่ ให้เงินช่วยเหลือครอบครัวละ 15,000 บาท เพื่อช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ

ผลการดำเนินงาน

1) กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2558

          - ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว                                            3.714 ล้านครอบครัว        61.411 ล้านไร่

2) ธ.ก.ส. ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2558

          - กสก. ตรวจสอบและส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2558)  3.600 ล้านครอบครัว        39.136 ล้านไร่
          - อยู่ระหว่างรอการจัดส่งเอกสาร และ                                0.029 ล้านครอบครัว         0.221 ล้านไร่

เกษตรกรแจ้งความจำนงกับ ธ.ก.ส.

          - ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกร                                     3.571 ล้านครอบครัว    38,914.840 ล้านบาท

— มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558

มติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 58 เห็นชอบในหลักการการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558 โดยเป็นการนำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2557/58 มาปรับปรุงโครงการ/จัดทำเป็นโครงการใหม่ และใช้วงเงินคงเหลือ ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่

1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)

2) การเชื่อมโยงตลาดในประเทศและต่างประเทศ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)

3) โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (กรมการค้าภายใน)

4) โครงการจัดตลาดนัดข้าวและพืชไร่ ปีการผลิต 2557/58 (สำนักงานการค้าภายในจังหวัด)

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่สามารถเทียบราคาได้ เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันหยุดเทศกาลสงกรานต์

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,450 บาท

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,598 บาท

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,550 บาท

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 964 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,995 บาท/ตัน)

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 677 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,767 บาท/ตัน)

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,861 บาท/ตัน)

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 385 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,379 บาท/ตัน)

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,861 บาท/ตัน)

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1521 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2557/58 ประจำเดือนเมษายน 2558 ว่าจะมีผลผลิต 474.596 ล้านตันข้าวสาร (707.5 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 476.880 ล้านตันข้าวสาร (711.1 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือลดลงร้อยละ 0.48 จากปี 2556/57

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2557/58 ณ เดือนเมษายน 2558 ว่าผลผลิต ปี 2557/58 จะมี 474.596 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2556/57 ร้อยละ 0.48 การใช้ในประเทศจะมี 483.028 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.61 การส่งออก/นำเข้าจะมี 42.326 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.70 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 98.579 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.88

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา กัมพูชา จีน ปากีสถาน ปารากวัย เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล พม่า อิยิปต์ อินเดีย และอุรุกวัย

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล จีน คิวบา กานา อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และเวเนซูลา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ คาเมรูน อียู โมแซมบิค ฟิลิปปินส์ เซเนกัล และสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย และอินโดนีเซีย

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

ปากีสถาน

สำนักงานสถิติปากีสถาน (Pakistan Bureau of Statistics: PBS) เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ปากีสถานส่งออกข้าวรวม 472,357 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 355,747 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ และเพิ่มขึ้นจาก 338,415 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมของปีที่ผ่านมา ส่วนมูลค่าการส่งออก ในเดือนมีนาคมปากีสถานส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่า 215 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 6,912.70 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 173.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 5,602.84 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ แต่ลดลงจาก 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 6,978.44 ล้านบาท) หรือลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมของปีที่ผ่านมา

เมื่อพิจารณาตามชนิดข้าวที่ส่งออก พบว่า ในเดือนมีนาคม 2558 ปากีสถานส่งออกข้าวบาสมาติ 45,596 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 37,374 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 แต่ลดลงจาก 61,249 ตัน หรือลดลงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2557 ในแง่ของมูลค่าการส่งออก ในเดือนมีนาคม 2558 ปากีสถานส่งออกข้าวบาสมาติคิดเป็นมูลค่า 48.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 1,571.04 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 42.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 1,371.04 บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 แต่ลดลงจาก 76.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 2,460.14 ล้านบาท) หรือลดลงร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2557

สำหรับข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ในเดือนมีนาคม 2558 ปากีสถานส่งออก 429,788 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 318,373 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 และเพิ่มขึ้นจาก 277,166 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2557 ส่วนมูลค่าการส่งออก ในเดือนมีนาคม 2558 ปากีสถานส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติคิดเป็นมูลค่า 166.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 5,390.13 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 130.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 4,231.80 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 และเพิ่มขึ้นจาก 140.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 4,542.09 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2557

ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557/58 (กรกฎาคม 2557 – มิถุนายน 2558) ปากีสถานส่งออกข้าว 3.09 ล้านตัน (จำแนกเป็นข้าวบาสมาติ 393,483 ตัน และข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ 2.7 ล้านตัน) เพิ่มขึ้นจาก 2.97 ล้านตัน (จำแนกเป็นข้าวบาสมาติ 479,751 ตัน และข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ 2.49 ล้านตัน) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57 ส่วนมูลค่าการส่งออก ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557/58 (กรกฎาคม 2557 – มิถุนายน 2558) ปากีสถานส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่า 1,569 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (จำแนกเป็นมูลค่าส่งออกกข้าวบาสมาติ 406.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ 1,163.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงจาก 1,667 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (จำแนกเป็นมูลค่าส่งออกข้าวบาสมาติ 542.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ 1,124.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57

ที่มา Oryza.com

อินเดีย

หน่วยงานพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูป (Agricultural and Processed Food Products Export Development: APEDA) เปิดเผยว่า ในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 2557/58 (เมษายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558) อินเดียส่งออกข้าวรวม 10.81 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 9.96 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57 ส่วนมูลค่าการส่งออก ในช่วงเดือนเมษายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558 อินเดียส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่า 437,220 ล้านรูปี (หรือประมาณ 7.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 427,330 ล้านรูปี (หรือประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57

เมื่อพิจารณาตามชนิดข้าวที่ส่งออก พบว่า ในช่วงเดือนเมษายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติ 3.3 ล้านตัน ลดลงจาก 3.44 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57 ในแง่ของมูลค่าการส่งออก ในช่วงเดือนเมษายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติคิดเป็นมูลค่า 250,870 ล้านรูปี (หรือประมาณ 4.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 265,150 ล้านรูปี (หรือประมาณ 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57

สำหรับข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ในช่วงเดือนเมษายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558 อินเดียส่งออก 7.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 6.52 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57 ในแง่ของมูลค่าการส่งออก ในช่วงเดือนเมษายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558 อินเดียส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติคิดเป็นมูลค่า 186,350 ล้านรูปี (หรือประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 162,180 ล้านรูปี หรือประมาณ 2.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2556/57

ที่มา Oryza.com

เวียดนาม

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่า ในปี 2558 เวียดนามส่งออกข้าว 6.5 ล้านตัน คงที่เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 13 เมษายน ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวไปแล้ว 1.144 ล้านตัน ลดลงจาก 1.76 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับปริมาณส่งออกข้าวในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2557 ด้านการผลิต FAO คาดการณ์ว่า ในปี 2558 เวียดนามผลิตข้าว 44.8 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือประมาณ 28.9 ล้านตันข้าวสาร) ลดลงเล็กน้อยจาก 44.99 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือประมาณ 29 ล้านตันข้าวสาร) เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

เกษตรกรเวียดนามเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิปี 2557/58 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 45 ของผลผลิตทั้งปี ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวในเดือนกรกฎาคมในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ ขณะที่ เกษตรกรบางส่วนเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง 2558 แล้ว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนที่มีไม่เพียงพอในที่ราบสูงตอนกลางและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าว อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวอาจไม่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตโดยรวมของประเทศมากนัก เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวในพื้นที่ดังกล่าว

คิดเป็นร้อยละ 5 ของผลผลิตทั้งประเทศ โดย FAO คาดการณ์ปริมาณผลผลิตข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ ปี 2558 ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2557/58 (มกราคม – ธันวาคม 2558) เวียดนามผลิตข้าวได้ 28 ล้านตันข้าวสาร (หรือประมาณ 45 ล้านตันข้าวเปลือก) และส่งออกข้าวได้ 6.7 ล้านตัน

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 - 26 เม.ย. 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ