ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 23, 2015 16:15 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

ปีการผลิต 2557/58

1) มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย

— มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนแรก ในส่วนของมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท แก่ชาวนาที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเปิดบัญชีไว้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งมีที่ดินทำกินไม่เกิน 15 ไร่ และชาวนาที่มีที่ดินมากกว่า 15 ไร่ ให้เงินช่วยเหลือครอบครัวละ 15,000 บาท เพื่อช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และ

— มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558 อนุมัติขยายระยะเวลาให้เกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก (จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่มีการเพาะปลูกข้าวในช่วงหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะ 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ จำนวน 37,402 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้ และอนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตรเปิดระบบให้สำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการบันทึก แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเพื่อให้เกษตรกร จำนวน 2,091 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วม

มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้

ผลการดำเนินงาน

1.1) กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.)ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2558

          - ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว                         3.714 ล้านครอบครัว          61.411 ล้านไร่

1.2) ธ.ก.ส.ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2558

          - กสก. ตรวจสอบและส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส.          3.628 ล้านครอบครัว          39.458 ล้านไร่

(ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2558)

          - อยู่ระหว่างรอการจัดส่งเอกสาร และ               11,404 ครอบครัว             78,750 ไร่

เกษตรกรแจ้งความจำนงกับ ธ.ก.ส.

          - ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกร                  3.619 ล้านครอบครัว     39,397.500 ล้านบาท

2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558

— มติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 58 เห็นชอบในหลักการการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558 โดยเป็นการนำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2557/58

มาปรับปรุงโครงการ/จัดทำเป็นโครงการใหม่ และใช้วงเงินคงเหลือ ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่

1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)

2) การเชื่อมโยงตลาดในประเทศและต่างประเทศ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)

3) โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (กรมการค้าภายใน)

4) โครงการจัดตลาดนัดข้าวและพืชไร่ ปีการผลิต 2557/58 (สำนักงานการค้าภายในจังหวัด)

— ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ ราคาลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์

ที่ผ่านมา เนื่องจากข้าวเปลือกมีความชื้นสูง ประกอบกับช่วงนี้ผู้ประกอบการชะลอการสั่งซื้อ

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

— ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,335 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,149 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,639 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,828 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

— ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,310 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,530 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.91

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 852 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,430 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 866 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,997 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 567 บาท

— ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 666 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,787 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 680 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,339 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 552 บาท

— ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 354 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,643 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 360 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,885 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 242 บาท

— ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 344 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,286 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 348 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,456 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 170 บาท

— ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 360 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,858 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 365 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,064 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 206 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7161 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

— ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2558/59 ประจำเดือนกันยายน 2558 ว่าจะมีผลผลิต 475.759 ล้านตันข้าวสาร (709.4 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 478.565 ล้านตันข้าวสาร (713.5 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 จากปี 2557/58

2) การค้าข้าวโลก

— บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2558/59 ณ เดือนกันยายน 2558 ว่าผลผลิต ปี 2558/59 จะมี 475.759 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2557/58 ร้อยละ 0.59 การใช้ในประเทศจะมี 487.417 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.68 การส่งออก/นำเข้าจะมี 42.231 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.53 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 90.161 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.45 โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา อิยิปต์ กายานา ปารากวัย เวียดนาม และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมาร์ กัมพูชา อินเดีย และสหรัฐอเมริกาสำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล คาเมรูน จีน คิวบา กานา อินโดนีเซีย อิรัก มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อียู อิหร่าน ไนจีเรีย และฟิลิปปินส์ ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

กัมพูชา

มีรายงานวา กัมพูชาอาจจะไม?เข้าร่วมการประมูลซื้อข้าวของฟิลิปปินส?จำนวน 750,000 ตัน ในวันที่ 17 กันยายน 2558 โดยผู้านวยการของบริษัท Green Trade ซึ่งอยู?ภายใต?การกำกับดูแลของรัฐบาลกัมพูชาระบุว่ กัมพูชาไม่ามารถที่จะแข่ขันด้นราคากับประเทศเวียดนามและไทยได้เพราะต้ทุนของกัมพูชาสูงกว่าคู่แข่งทั้งด้านการผลิต การเก็บรักษา และการขนส่ง ถ้าหากกัมพูชาเข้าร่วมการประมูลต้องมีการปรับปรุงด้านต้นทุนการผลิตและ ลดราคาแข่งกับคู่แข่งให้ได้ก่อน ซึ่งปัจจุบันกำลังดำเนินการลดต้นทุนอยู? ทั้งนี้ ในการประมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 กัมพูชาเสนอข้าวที่ราคา 455 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (15,236 บาทต่อตัน) ซึ่งสูงกว่าราคาที่เวียดนามเสนอที่ 416 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (13,930 บาทต่อตัน) และสูงกว่าราคาอ้างอิงที่ 408.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (13,667 บาทต่อตัน)

ที่มา Oryza.com

เมียนมาร?

รัฐบาลเมียนมาร?ได้ยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวชั่วคราวแล้ว หลังจากระงับการส่งออกข้าวไว?เป็นการชั่วคราวตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2558 โดยได้มีการประกาศในระหว่างการประชุมประจำปีของสหพันธ?หอการค้า และอุตสาหกรรมแห่งเมียนมาร?(The Union of Myanmar Federation of Chambers and Industry) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนื้ หลังจากที่สถานการณ?อุทกภัยเริ่มบรรเทาลงและเกษตรกรสามารถกลับมาเพาะปลูกข้าวได?ในบางพื้นที่ รวมทั้งได้มีการประเมินความเสียหายแล้ว รัฐบาลจึงได้ตัดสินใจดังกล่าว รองประธานสหพันธ?ข้าวเมียนมาร?(The Vice Chairman of the Myanmar Rice Federation; MRF) ระบุว่า การระงับส่งออกข้าวชั่วคราวส่งผลให้การส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2558/59 (เม.ย. 2558-มี.ค. 2559) ลดลงประมาณ 400,000 ตัน ทางด้านกระทรวงพาณิชย?เมียนมาร์ รายงานว่า สต็อกข้าวในประเทศกว่า 500,000 ตันนั้น สามารถรองรับการบริโภคได?ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า หลังจากที่ได้เกิดภาวะอุทกภัยครั้งรุนแรงในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558 ซึ่งเหตุน้ำท่วมที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อพื้นที่นาข้าวกว่า 1.4 ล้านเอเคอร?(หรือประมาณ 3.5 ล้านไร่) และทำลายพื้นที่ปลูกข้าวไปกว่า 8 แสนเอเคอร์ (หรือประมาณ 20 แสนไร่) ทั้งนี้ เมืองอิระวดี (Ayawadee) ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหลักของประเทศไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงเท่ากับพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งฤดูเก็บเกี่ยวจะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมนี้

ที่มา Oryza.com

ญี่ปุ่น

กระทรวงเกษตร ป่าไม? และประมงของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries) ได้จัดการประมูลนำเข้าข้าวแบบ General Import ครั้งที่ 1 ภายใต?Minimum Access ป?งบประมาณ 2558 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 โดยกำหนดซื้อข้าวสารเมล็ดยาวจากไทย จำนวน 7,000 ตัน ข้าวสารเมล็ดกลางจากสหรัฐฯ จำนวน 12,000 ตัน ข้าวสารเมล็ดกลางจากประเทศใดก็ได?(Global) จำนวน 12,000 ตัน และข้าวสารเมล็ดยาวจากประเทศใดก็ได?(Global) จำนวน 12,000 ตัน ซึ่งมีรายงานว่า ญี่ปุ?นได้ตกลงซื้อข้าวสารเมล็ดยาวจากไทย จำนวน 19,000 ตัน และข้าวเมล็ดกลางจากสหรัฐฯ จำนวน 24,000 ตัน โดยราคาเฉลี่ยของการประมูลครั้งนี้อยู?ที่ 82,371 เยนต่อตัน (ราคารวมภาษีอยู?ที่ 88,961 เยนต?อตัน)

ที่มา Oryza.com

อิรัก

ความคืบหน้าการเปิดประมูลซื้อข้าวของกระทรวงการค้าของอิรัก (The Iraq Trade Ministry) จำนวนอย่างน้อย 30,000 ตัน จากประเทศสหรัฐฯ อุรุกวัย บราซิล อารเจนติน่า และอินเดีย โดยข้อเสนอจะต้องมีผลไป จนถึงวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา ขณะนี้กระทรวงการค้าของอิรักกำลังพิจารณาข้อเสนอของผู้เข้าร่วมการประมูล ซึ่งมีการเสนอข้าว IR-64 จากอินเดียปริมาณรวม 50,000 ตัน แบ่งเป็น 3 ล็อต ในราคาต่ำสุดที่ 537, 538, และ 539 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (19,180 19,215 และ 19,251 บาทต่อตัน) ข้าวจากสหรัฐเสนอราคาที่ 559 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (19,965 บาทต่อตัน) ข้าวจากอาร์เจนติน่าเสนอราคาที่ 547 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (19,537 บาทต่อตัน) ข้าวจากอุรุกวัยเสนอราคาที่ 549 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (19,608 บาทต่อตัน) ส่วนบราซิลไม่มีการยื่นเสนอเข้ามา ทั้งนี้กระทรวงการค้าของอิรักได้ยืดเวลาในการพิจารณาไปจนถึงวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมาการประมูลซื้อข?วครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 อิรักได?ตกลงซื้อข้าวปริมาณรวม 142,000 ตัน ประกอบด้วย ข้าวจากอุรุกวัย ปริมาณ 30,000 ตัน ในราคา 605 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (21,608 บาทต่อตัน) ข้าวจากอาร์เจนติน่า 3 ล็อต ปริมาณรวม 112,000 ตัน ในราคา 602, 603 และ 608.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (21,501 21,537 และ 21,746 บาทต่อตัน)

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 14 - 20 ก.ย. 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ