ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 26, 2016 15:44 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด

โครงการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59

— มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 เห็นชอบในหลักการโครงการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ส่วนรายละเอียดการดำเนินโครงการและงบประมาณ

ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้มีกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 1,860.57 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และปีต่อๆ ไป ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน จำนวน 3 โครงการ ดังนี้

  • 1. โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2558/59 วงเงิน 975.57 ล้านบาท
  • 2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2558/59 วงเงินงบประมาณ 236.67 ล้านบาท (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการจาก MLR เป็น MLR-1 รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 โดยปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 5)
  • 3. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59 วงเงินงบประมาณ 648.33 ล้านบาท (ปรับลดระยะเวลาให้สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินโครงการไม่เกิน 10 เดือน)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกนาปีหอมมะลิ ราคาลดลง เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง ส่วนข้าวเปลือกเจ้า

ความชื้น 15% ราคาสูงขึ้น เนื่องจากตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่องจากการที่ผู้ประกอบการส่งออกต้องการข้าว

เพื่อทยอยส่งมอบให้กับประเทศคู่ค้า

1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
  • ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,751 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,075 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.93
  • ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,704 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,639 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
  • ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
  • ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
  • ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 774 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,891 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
  • ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 548 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,747 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 6 บาท
  • ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 365 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,153 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 366 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,185 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
  • ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 357 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,864 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
  • ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 374 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,477 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 368 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,257 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 220 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.0347 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2558/59 ประจำเดือนมกราคม 2559 ว่าจะมีผลผลิต 470.119 ล้านตันข้าวสาร (700.8 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 478.251 ล้านตันข้าวสาร

(713.0 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือลดลงร้อยละ 1.70 จากปี 2557/58

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2558/59 ณ เดือนมกราคม 2559 ว่าผลผลิต ปี 2558/59 จะมี 470.119 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2557/58 ร้อยละ 1.70 การใช้ในประเทศ

จะมี 484.271 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.08 การส่งออก/นำเข้าจะมี 42.096 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.35 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 89.702 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 13.63

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา เมียนมาร์ จีน อิยิปต์ ปากีสถาน ปารากวัย อุรุกวัย เวียดนาม และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล กัมพูชา กายานา อินเดีย และสหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล คาเมรูน จีน กานา อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ญี่ปุ่น

โมแซมบิค ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่

ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา อียู และไนจีเรีย

ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมี

สต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18 - 24 ม.ค. 59--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ