สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์: ปศุสัตว์

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 20, 2020 13:27 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10 - 16 กรกฎาคม 2563

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรเริ่มคึกคักและคล่องตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 67.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 72.91 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,600 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.69

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.69

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่เริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.08 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

แม้ว่าตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาเปิดภาคเรียนซึ่งคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น แต่จากผลผลิตไข่ไก่ที่ผ่านมายังคงมีมากและสะสม ทำให้เริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 274 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 278 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 273 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 295 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.56

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 346 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 343 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 358 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 320 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.64 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.89 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ