สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์: ปศุสัตว์

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 31, 2020 13:43 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 24 - 30 กรกฎาคม 2563

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดสุกรยังคงคึกคักและคล่องตัว เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรทั้งในประเทศและต่างประเทศมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 76.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 70.11 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.12 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.50 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.88

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อสอดรับกับผลผลิตไก่เนื้อในท้องตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.78 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.14 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.17 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาเปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 286 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 279 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 273 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 289 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 343 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 341 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 355 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 92.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.09 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 74.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.25 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ