ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Tuesday December 23, 2008 14:11 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

ส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งฝอยทะเล เพื่อการส่งออกญี่ปุ่น

นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกทรุด ส่งผลให้ออเดอร์การส่งออกกุ้งในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ปี 52 ลดลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคากุ้งในประเทศไทย ทำให้ราคาไม่มีเสถียรภาพขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงเตรียมการเพื่อดึงราคาให้ได้ โดยมี 2 วิธี คือ เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงแบบปกติมาเป็นการเลี้ยงแบบชีวภาพ และผลิตกุ้งฝอยทะเลขนาด 600 — 700 ตัวต่อกิโลกรัม กุ้งชีวภาพเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอย่างมากและตลาดก็จะเป็นทางยุโรป ญี่ปุ่น โดยราคาเราจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะได้ราคาสูงกว่าตลาดทั่วไป 30 เปอร์เซ็นต์ และเป็นราคาที่แน่นอนที่รู้ล่วงหน้า แต่เนื่องจากตลาดต่างประเทศไม่แน่นอน เราก็มองตลาดในประเทศอีก 10 เปอร์เซ็นต์ จากที่เราผลิตได้ทั้งหมดนั้น คนไทยกินกุ้งเพียง 0.8 กิโลกรัมต่อปีต่อคนเท่านั้น เราอยากจะเพิ่มตรงนี้ให้เป็น 1.2 กิโลกรัม

นางสาวสุพัตรากล่าวเพิ่มเติมว่า กุ้งฝอยทะเลตัวจะเท่ากับกุ้งฝอยแม่น้ำ สิ่งที่แตกต่างคือ กุ้งฝอยแม่น้ำจะมีเป็นช่วงฤดูกาล ไม่ได้มีตลอดทั้งปี รวมทั้งยังไม่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรค เช่น พยาธิใบไม้ การผลิตกุ้งฝอยทะเลจะปรับเปลี่ยนกรรมวิธีจากการเลี้ยงกุ้งไซส์ใหญ่ขนาด 60 — 70 ตัวต่อกิโลกรัม เลี้ยง 4 เดือน มาเลี้ยงแค่ 1 เดือน จะได้ขนาด 600 — 700 ตัวต่อกิโลกรัม สามารถเลี้ยงได้ทั้งปี พร้อมส่งออกสู่ท้องตลาดได้เลย และมีความปลอดภัยเพราะกุ้งทะเลไม่มีพยาธิ ประเด็นสำคัญเป็นการตัดวงจรกุ้งใหญ่ คือ ลดปริมาณกุ้งขนาดไซส์ใหญ่ เมื่อกุ้งมีปริมาณน้อยความต้องการก็จะมากขึ้น ราคาก็จะเพิ่มขึ้น การเลี้ยงกุ้งไซส์ใหญ่ขนาด 100 ตัวต่อกิโลกรัม เลี้ยง 3 เดือน ราคา 70 บาทต่อกิโลกรัม แต่กุ้งฝอยทะเลเลี้ยง 1 เดือน ราคา 80 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกันแล้วเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งฝอยจะได้ราคาดีกว่า กุ้งฝอยทะเลใช้ทำอาหารได้เหมือนกุ้งฝอยแม่น้ำทั่วไป เช่น ทำกุ้งเต้น กุ้งทอด สามารถส่งตลาดล่างได้ ไม่จำเป็นต้องขึ้นโมเดิร์นเทรด เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานกุ้งฝอยกันอยู่แล้ว อีกอย่างเรามองไปที่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นจะมีร้านสาเกประมาณ 30,000 กว่าร้าน เขาจะเสิร์ฟสาเกพร้อมกุ้งฝอยทอด ซึ่งเรากำลังมองตลาดตรงนี้ แต่เนื่องจากญี่ปุ่นนำเข้าจากจีนปีละประมาณ 30,000 ตัน ทำให้เรามองว่าขอส่วนแบ่ง ทางตลาด 10 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 500 ตัน ก็ถือว่ามากแล้ว

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (21—27 พ.ย.2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 974.85 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 609.58 ตัน สัตว์น้ำจืด 365.27 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก                    ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                       3.10         ตัน
          1.2  ปลาช่อน                   ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                       4.30         ตัน
          1.3  กุ้งทะเล                   ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                     103.66         ตัน
          1.4  ปลาทู                     ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                      12.98         ตัน
          1.5  ปลาหมึก                   ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                      70.16         ตัน

การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 109.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 107.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.76 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.84 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.99 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 13—19 ธ.ค.2551)เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 ธันวาคม 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ