ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday July 16, 2009 14:46 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552

เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 6 ล้านตันข้าวเปลือก

ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)

ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25%

ตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (คละ) ตันละ 9,000 บาท และจากมติ กขช. เมื่อวันที่ 29 เมย. 52 เพิ่มราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ราคาตันละ 10,000 บาท (ซึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดีส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เป็นต้น)

ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 9 ก.ค.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 4,423,864 ตัน คิดเป็นร้อยละ 73.73 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดัง นี้

     จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ                --------------ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)-----------------
                                                ข้าวเจ้า        ข้าวปทุมธานี       ข้าวเหนียว        รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ                   14 จังหวัด           1,689,953           27,199         31,554          1,748,706
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ        11 จังหวัด             154,672               -           9,085            163,757
ภาคกลาง                   20 จังหวัด           1,930,017          581,384             -           2,511,401
รวม                       45 จังหวัด           3,774,642          608,583         40,639          4,423,864

1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 8 ล้านตันข้าวเปลือก

ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. — 28 ก.พ.52 (ยกเว้นภาคใต้ 1 ก.พ.-28 พ.ค.52)

ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนทีรับจำนำทั้งจำนำใบประทวน และจำนำยุ้งฉาง

ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 15 มิ.ย. 52 ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 5,360,265 ตัน คิดเป็นร้อยละ 67.00 ของเป้าหมายที่รับจำนำ

ภาวะการซื้อขาย ข้าวในสัปดาห์นี้ ราคายังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากผู้ส่งออกข้าวนึ่งและข้าวขาวยังคงมีความต้องการส่งออก จึงออกมาซื้อข้าวในตลาดสูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้ ปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดลดน้อยลง เนื่องจากอยู่ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ประกอบกับผลผลิตข้าวส่วนใหญ่ ทั้งข้าวนาปี 2551/52 และข้าวนาปรังปี 2552 อยู่ในโครงการรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งยังไม่มีการระบายออกสู่ตลาด

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 มิถุนายน 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4,432,309 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 5 , 985,623 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.95 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.3 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,361 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,126 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.79

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,402 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,401 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,188 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,211 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,317 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,246 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% ( ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,650 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,450 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15

ราคาส่งออก เอฟ . โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 945 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,005 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 915 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,942 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.28 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,063 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 823 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,873 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 808 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,324 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 549 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,932 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,701 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 231 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 462 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,647 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,522 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 125 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5 % ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 638 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,608 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 631 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,338 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 270 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.8678 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 ผลผลิตข้าวปากีสถานต่ำกว่าเป้า

ทางการปากีสถาน เปิดเผยว่า ผลผลิตข้าวฤดูกาลเพาะปลูกฤดู Kharif ปีนี้หรือปี 2552/53 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้เนื่องจากภาวะแห้งแล้งภายในประเทศ โดยกระทรวงอาหารและเกษตรของปากีสถานได้ตั้งเป้าหมายผลผลิตข้าวของฤดูกาลนี้ที่ 5.949 ล้านตันจากพื้นที่เพาะปลูก 2.529 ล้านเฮกแตร์ หรือ ประมาณ 15.8 ล้านไร่ ซึ่งต่ำกว่าผลผลิตฤดู Kharif ปีที่ผ่านมา หรือ ปี 2551/52 ที่ผลผลิตข้าวอยู่ที่ 6.954 ล้านตันจากพื้นที่เพาะปลูกข้าว 2.962 ล้านเฮกแตร์ หรือ ประมาณ 18.5 ล้านไร่

2.2 ผลผลิตข้าวฤดูร้อนของบังกลาเทศเกินเป้า

รัฐบาลประเทศบังกลาเทศ คาดว่า ผลผลิตข้าวของฤดูกาลเพาะปลูกฤดูร้อนปีนี้นั้นจะมีประมาณ 19 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 1 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นจาก 17.7 ล้านตัน ร้อยละ 73 ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาข้าวที่แพงขึ้นปีที่ผ่านมาจูงใจให้ชาวนาขยายการเพาะปลูกข้าวในปีนี้

2.3 ฟิลิปปินส์ตั้งเป้านำเข้าข้าวปีนี้ถึง 2.4 ล้านตัน

นาย Ludovico Jarina รองผู้อำนวยการองค์การอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (National Food Authority : NFA) ซึ่งองค์การฯ นี้มีหน้าที่ในการประเมินข้าวสำรองของประเทศและควบคุมราคาข้าวภายในประเทศไม่ให้มีความผันผวนมากนัก ได้เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ตั้งเป้าการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ปีนี้ประมาณ 2.046 — 2.4 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์อาจจะไม่ได้นำเข้าข้าวเต็มโควตาตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพราะว่า เมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลกำหนดโควตาการนำเข้าข้าวที่ 2.7 ล้านตัน แต่กลับนำเข้าข้าวจริงเพียง 2.35 ล้านตันและปีนี้ก็เป็นที่คาดการณ์ว่าการนำเข้าคงจะไม่เต็มจำนวนโควตาที่รัฐบาลกำหนดไว้เช่นกัน โดยปกติแล้วแต่ละปีฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวร้อยละ 10 ของปริมาณความต้องการข้าวรวมของประเทศ ซึ่งปีนี้ได้นำเข้าข้าวจากเวียดนามแล้วจำนวน 1.5 ล้านตันภายใต้เงื่อนไขรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจี(G-to-G) อีกทั้งได้อนุญาตให้เอกชนนำเข้าข้าวเพิ่มอีกจำนวน 200,000 ตัน อย่างไร ก็ตาม ฟิลิปปินส์อาจจะนำเข้าเพิ่มอีก ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ผลผลิตข้าวภายในประเทศด้วย โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ปริมาณข้าวสำรองของประเทศอยู่ที่ 1.399 ล้านตันซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศได้เพียง 40 วันเท่านั้น

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 6 - 12 กรกฎาคม 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ