ปภ. สรุปสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2553 รวม 36 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 25 จังหวัด

ข่าวทั่วไป Wednesday October 27, 2010 16:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ต.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 36 จังหวัด 289 อำเภอ 2,059 ตำบล 16,299 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,091,515 ครัวเรือน 3,224,108 คน ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 25 จังหวัด 232 อำเภอ 1,762 ตำบล 14,341 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 941,889 ครัวเรือน 2,759,354 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าได้รับความเสียหาย 3,468,204 ไร่ ผู้เสียชีวิต 47 ราย เส้นทางจราจรไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 16 สาย ใน 7 จังหวัด นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึง สถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่10 — 27 ตุลาคม 2553 มีพื้นที่ประสบภัยรวม 36 จังหวัด 289 อำเภอ 2,059 ตำบล 16,299 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,091,515 ครัวเรือน 3,224,108 คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทรบุรี ตราด ตาก ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ สระแก้ว และนครนายก ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 25 จังหวัด 232 อำเภอ 1,762 ตำบล14,341 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 941,889 ครัวเรือน 2,759,354 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย 3,468,204 ไร่ ผู้เสียชีวิต 47 ราย เส้นทางจราจรไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 16 สาย ใน 7 จังหวัด ดังนี้ ภาคเหนือ ๓ จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ 71 ตำบล 404 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 50,869 ครัวเรือน 182,105 คน ได้แก่อำเภอเมืองนครสวรรค์ ตาคลี ลาดยาว หนองบัว ท่าตะโก ไพศาลี บรรพตพิสัย โกรกพระ และพยุหคีรี กำแพงเพชร น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ 84 ตำบล 721 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 57,125 ครัวเรือน 134,594 คน ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร คลองลาน ขาณุวรลักษบุรี โกสมพีนคร ปางศิลาทอง ไทรงาม บึงสามัคคี ทรายทองวัฒนา พรานกระต่าย และคลองขลุง อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ 21 ตำบล 79 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,800 ครัวเรือน 15,200 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี ทัพทัน หนองขาหย่าง หนองฉาง และสว่างอารมณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 32 อำเภอ 284 ตำบล 2,921 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 145,111 ครัวเรือน 315,189 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 815,189 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 1,395,933,824 บาท ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน ขามทะเลสอ โนนแดง คง เสิงสาง หนองบุญมาก จักรราช เทพารักษ์ ด่านขุนทด บ้านเหลื่อม โนนสูง โชคชัย พิมาย โนนไทย ห้วยแถลง ปากช่อง สีคิ้ว ปักธงชัยขามสะแกแสง เฉลิมพระเกียรติ พระทองคำ บัวใหญ่ ครบุรี บัวลาย เมืองยาง สีดา ชุมพวง วังน้ำเขียว ลำทะเมนชัย แก้งสนามนาง และประทาย ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 16 อำเภอ 113 ตำบล 1,305 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 63,610 ครัวเรือน 185,742 คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว บำเหน็จณรงค์ เนินสง่า จัตุรัส บ้านเขว้า แก้งคร้อ หนองบัวแดง หนองบัวระเหว คอนสวรรค์ ซับใหญ่ คอนสาร ภักดีชุมพล เทพสถิติ และบ้านแท่น ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ 58 ตำบล 416 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 33,838 ครัวเรือน 148,338 คน ได้แก่ อำเภอภูสิงห์ ขุนหาญ ขุขันธ์ กันทรลักษณ์ เบญจลักษณ์ โนนคูณ ปรางค์กู่ อุทุมพรพิสัย และกันทรารมย์ สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ 45 ตำบล 252 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 32,342 ครัวเรือน 117,354 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ สังขะ บัวเชด ศรีขรภูมิ ศรีณรงค์ ชุมพลบุรี กาบเชิง ท่าตูม และรัตนบุรี บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 19 อำเภอ 125 ตำบล 1,258 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 32,393 ครัวเรือน 152,847 คนได้แก่ อำเภอโนนดินแดง สตึก ปะคำ บ้านกรวด ประโคนชัย เฉลิมพระเกียรติ ละหานทราย นางรอง หนองหงส์ ชำนิ กระสังลำปลายมาศ พลับพลาชัย บ้านใหม่ไชยพจน์ โนนสุวรรณ พุธไธสง หนองกี่ คูเมือง และแคนดง ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ 45 ตำบล 469 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 25,216 ครัวเรือน 120,052 คน ได้แก่ อำเภอแวงใหญ่ แวงน้อย ชนบท บ้านแฮด มัญจาคีรี โคกโพธิ์ไชย โนนศิลา ภูผาม่าน ชุมแพ และหนองเรือ กาฬสินธุ์ น้ำในแม่น้ำชีและลำน้ำป่าวเอ่อล้นท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอกมลาไสย ร่องคำ และคล้องชัย มหาสารคาม น้ำในแม่น้ำชีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 61 ตำบล 799 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 46,343 ครัวเรือน 148,945 คน ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม โกสุมพิสัย กุดรัง เชียงยืน กันทรวิชัย นาเชือก และบรบือ อุบลราชธานี น้ำในแม่น้ำมูลเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ 2 เทศบาล 25 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 843 ครัวเรือน 2,941 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 40 ตำบล 342 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 16,940 ครัวเรือน 44,987 คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท เนินขาม หันคา วัดสิงห์ หนองมะโมง มโนรมย์ และสรรพยา สิงห์บุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ 9 ตำบล 55 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 7,888ครัวเรือน 23,664 คน อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 52 ตำบล 226 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน2,950 ครัวเรือน 7,892 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และแสวงหา สุพรรณบุรี น้ำในแม่น้ำท่าจีนไหลเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ 61 ตำบล 304 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 44,300 ครัวเรือน 121,436 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า สองพี่น้อง สามชุก หนองหญ้าไซ และเดิมบางนางบวช พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน 16 อำเภอ 183 ตำบล 1,275 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 101,363 ครัวเรือน 328, 625 คน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ บางบาล เสนา บางปะอิน ภาชี อุทัย วังน้อย ท่าเรือ บางปะหัน นครหลวง บ้านแพรก บัวหลวง และบางซ้าย ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ 122 ตำบล 1,060หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 145,095 ครัวเรือน 333,061 คน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองม่วง สระโบสถ์ ลำสนธิ พัฒนานิคม ท่าหลวง โคกสำโรง โคกเจริญ และชัยบาดาล ยังคงมีสถานการณ์วิกฤตใน ๓ อำเภอที่ติดคลองชัยนาท-ป่าสัก ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี บ้านหมี่ และท่าวุ้ง สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ 108 ตำบล 834 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 57,988 ครัวเรือน 163,363 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 93,128 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 453,161,422 บาท ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหมอ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด หนองแซง หนองแค วิหารแดง และหนองโดน นนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 54 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 15,027 ครัวเรือน 17,940 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี ปากเกร็ด บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง และไทรน้อย ปทุมธานี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล่นเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 50 ตำบล 144 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 13,197 ครัวเรือน 26,394 คน ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ นครปฐม แม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ 42 ตำบล 256 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 7,219 ครัวเรือน 24,647 คนได้แก่ อำเภอเมืองนครปฐม บางเลน สามพราน นครชัยศรี กำแพงแสน และพุทธมณฑล ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ 21 ตำบล 99 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,734 ครัวเรือน 4,299 คน ได้แก่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา สนามชัยเขต บางเคล้า คลองเขื่อน พนมสารคาม บางน้ำเปรี้ยว แปลงยาว และท่าตะเกียบ ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 46 ตำบล 290 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 13,008 ครัวเรือน 31,094 คนได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี นาดี กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ ประจันตคาม และบ้านสร้าง สมุทรปราการ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 14 ตำบล 107 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 14,750 ครัวเรือน 41,100 คน ได้แก่ อำเภอบางเสาธง บางพลี และบางบ่อ สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน 1,268 ลำ ถุงยังชีพ 167,234 ชุด เต๊นท์ที่พักอาศัย 1,215 หลัง รถผลิตน้ำดื่ม 13 คันน้ำดื่ม 131,038 ขวด ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 217 เครื่อง รถกู้ภัยทุกชนิด 565 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 7 คัน กระสอบทราย 3,047,798 ใบยารักษาโรค 3,552 ชุด เครื่องนุ่งห่ม 700 ชุด รถสุขา/สุขาเคลื่อนที่ 7,026 หลัง สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ