กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
นวัตกรรมการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อความเป็นเลิศทางธุรกิจวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00-16.00 น.ณ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย รามคำแหง 39 (ซ.วัดเทพลีลา)
วิทยากร
คุณณัช อุษาคณารักษ์
วิทยากรและที่ปรึกษาอิสระด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและองค์การ
หลักการและเหตุผล
ด้วยปัจจุบันการพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างผลผลิตได้ตามเป้าหมายขององค์การนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาทักษะพฤติกรรมการสื่อสารทั้งส่วนบุคคลและระหว่างบุคคล ซึ่งจะช่วยทำให้กระบวนการสื่อสารเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน และช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ทีมงาน ผลผลิตของงาน และองค์การโดยรวม รวมทั้งยังเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีภายในองค์การ และยกระดับการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งความสุข(Happiness Organization) กระบวนการสื่อสารของบุคคลในยุคปัจจุบันมีจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสารส่วนบุคคล และระหว่างบุคคลเชิงสร้างสรรค์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ ความผูกพัน และพลังแห่งการทำงานเป็นทีม ช่วยลดปัญหาข้อขัดแย้ง และช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้อีกทางหนึ่ง
การใช้นวัตกรรมการสื่อสารสัมพันธ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยพัฒนา ความคิดหรือ ทัศนคติ ความสามารถทางอารมณ์ การพัฒนาทักษะทางสังคม และการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความเข้าใจที่ดีทั้งต่อตนเอง,ผู้อื่น,ทีมงาน,ลูกค้า,ผู้ถือหุ้น,องค์การและสังคม เป็นหลักสูตรที่ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ(Effective Communication)
ลักษณะพิเศษของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรคุณภาพเชิงปฏิบัติด้านการพัฒนาการสื่อสารที่ครบกระบวนการ ซึ่งช่วยเสริมสร้างและพัฒนาความคิดและความเข้าใจ รวมทั้งทัศนคติที่ดีต่อตนเอง, ผู้อื่น, องค์การ และสังคม
2. เป็นเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริง(Learning by Doing) และเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริงในองค์การและนำประสบการณ์จริงของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แบบมีส่วนร่วม
3. เน้นกระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้น(Intensive Training) โดยเน้นการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจังต่อเนื่อง
4. เป็นการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารที่พึงประสงค์ในเชิงสร้างสรรค์ และบูรณาการ ส่งผลต่อผลผลิตและการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
5. สร้างสรรค์การฝึกอบรมโดยทีมวิทยากรที่มีประสบการณ์โดยตรง ด้านการฝึกอบรม-พัฒนาทรัพยากรบุคคล และเป็นจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารโดยตรง
6. ให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารเป็นรายบุคคลตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม และเพื่อการนำไปใช้จริงในองค์การ
7. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในงานและชีวิตประจำวันได้โดยตรง
8. วิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม-การพัฒนาทรัพยากรบุคคล-พฤติกรรมศาสตร์ และเป็นนักจิตวิทยาด้านให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมโดยตรงมีประสบการณ์กว่า 20 ปี
วัตถุประสงค์/ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้หลักการ, กระบวนการ, พฤติกรรมการสื่อสารที่มีคุณภาพ และฝึกทักษะการสื่อสารเชิงพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ
2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ปรับปรุงและพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อช่วยจรรโลงบรรยากาศของการปฏิบัติงานร่วมกันภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. การกำหนด KPIs สี่ด้านเพื่อครอบคลุมทั้งด้านเชิงปริมาณและคุณภาพ
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมประยุกต์ใช้ทักษะการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทบทวนและพัฒนาศักยภาพแห่งการสื่อสารของตนเองได้อย่างมีประสิทธิผล และมีพัฒนาการของพฤติกรรมการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ได้
ผู้เข้าสัมมนา
ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในองค์การ
หัวข้อการสัมมนา
กิจกรรม : พฤติกรรมสื่อสารสัมพันธ์(WORKSHOP)
ความหมายและความสำคัญของพฤติกรรมการสื่อสารเชิงจิตวิทยา
แนวคิดใหม่ของการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารที่มีคุณภาพ
ความจำเป็นของการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสาร
ประโยชน์ของการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารที่มีคุณภาพ
เป้าหมายการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารแนวใหม่
องค์ประกอบที่สำคัญของพฤติกรรมการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์
วงจรกระบวนการสื่อสารด้วยใจ
หลักการของการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสาร
ทักษะที่สำคัญเพื่อสร้างพลังการสื่อสารที่มีคุณภาพ(WORKSHOP)
ทักษะการรับฟังที่มีประสิทธิภาพ
ทักษะการการสื่อความอย่างมีคุณค่า
ทักษะการใช้ภาษากาย-ภาษาใจเชิงสร้างสรรค์
ทักษะการพูดที่มีประสิทธิภาพ
ทักษะบุคลิกภาพเพื่อเสริมสร้างมูลค่าในการสื่อสาร
คลิกนวัตกรรมการสื่อสาร : เพื่อสร้างความสุขและความสำเร็จในองค์การ(WORKSHOP)
นวัตกรรมการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ “ด้วยใจ” (WORKSHOP)
กลยุทธ์การเปิดใจรับฟัง
กลยุทธ์การฟังใจ
กลยุทธ์การใส่ใจ
กลยุทธ์การสร้างความเข้าใจ
กลยุทธ์การดูแลใจ
แกะรอยสาเหตุอุปสรรคของการสื่อสารในปัจจุบัน(WORKSHOP)
ประเมินพฤติกรรมการสื่อสารส่วนบุคคล และในองค์การ(WORKSHOP)
ฝึกปฏิบัติการการสื่อด้วยใจ(WORKSHOP)
การจัดทำแผนการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารเป็นรายบุคคล(WORKSHOP)
ถอดสาระพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและองค์การ
กิจกรรม : สื่อสาร...สานใจสัมพันธ์(WORKSHOP)
วิธีการสัมมนา
- เน้นการฝึกปฏิบัติเชิงพฤติกรรม
- ใช้การบรรยาย, การอภิปราย, การแบ่งกลุ่มกิจกรรมการเรียนรู้, การระดมสมอง
- ใช้การฝึกปฏิบัติการรับฟัง-การสื่อความ-การสนทนาโดยใช้สถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง สู่การวิเคราะห์การเรียนรู้ร่วมกัน และค้นหาแนวทางการประยุกต์การสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและองค์การ
- ใช้เทคนิคเสริมกระบวนการฝึกอบรม เพื่อการยกระดับพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม เช่น…
- Sensitivity Training Group
- Experiential Leaning
- Face to Face Consultancy Interactio
- Art of Feedback
- เน้นการเรียนรู้การพัฒนาระดับความรู้สึกในการสื่อสารที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
- บรรยากาศการฝึกอบรมเชิงสร้างสรรค์ความสุขและความสนุกในการรับรู้และการเรียนรู้ร่วมกันด้วยความอบอุ่นตลอดการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียน
สมาชิก TMA 7,000 บาท บุคคลทั่วไป 7,800 บาท
(ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
พิเศษ!! สมัครและชำระเงินภายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 ลด 10%
วิธีการชำระเงิน
- เช็คสั่งจ่าย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย 276 ถนนรามคำแหง ซอย 39 วังทองหลาง กทม. 10310
- โอนเงินเข้าบัญชี สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ สาขาหัวหมาก บัญชี สะสมทรัพย์ เลขที่ 180-4-315255
(กรุณาแฟกซ์ 0-2319-5666,0-2718-6144 สำเนาใบฝากเงิน ไปยังสมาคมเพื่อยืนยันการชำระเงิน)
หมายเหตุ : สมาคมฯ เสียภาษีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ผู้จ่ายเงินเข้าสัมมนาจึงมิต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามข้อ 8(2) แห่งคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากร ที่ ทป.4/2528 ลงวันที่ 26 ก.ย 2528
การยกเลิก ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วัน มิฉะนั้น สมาคมฯขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินค่าธรรมเนียม 50% ของราคาค่าอบรม
ติดต่อสอบถาม : สำรองที่นั่ง
แจ่มจันทร์ ยะมงคล
Tel.02-319-3312 (เบอร์ตรง)
02-319-7675-8 /02-718-5601-4 ต่อ 110
Fax.02-319-5666/02-718-6144