ข้าวสีทอง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาขาดวิตามินเอ

ข่าวทั่วไป Wednesday November 10, 2010 15:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 พ.ย.--กรีนพีซ กรีนพีซเปิดเผยรายงาน ณ การประชุมข้าวนานาชาติในวันนี้ ซึ่งระบุว่าข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่เรียกกันในชื่อ “ข้าวสีทอง” จะไม่ช่วยแก้ภาวะขาดวิตามินเอ (VAD) ในรายงานยังได้ระบุถึงวิธีการที่ประสบผลสำเร็จในการลดผลกระทบของภาวะขาดวิตามินเอทั่วโลก รวมถึงรายละเอียดของ “ข้าวสีทอง” และเงินทุนที่เสียไปทั้งๆที่ควรจะนำมาใช้เพื่อลดปัญหาการขาดวิตามินเอด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้าวสีทองถูกพัฒนามากว่า 20 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาภาวะขาดวิตามินเอได้ นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ทรัพยากรและเงินทุนจำนวนมหาศาล ทั้งๆที่สามารถนำทรัพยากรดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ และยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการไร้ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอสามารถปนเปื้อนไปยังพืชปกติได้หากปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม “การเข้ามาของข้าวจีเอ็มโอในภูมิภาคเอเชียจะส่งผลกระทบต่อสายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง รวมถึงสายพันธุ์ข้าวป่าดั้งเดิมและยังลดศักยภาพในการใช้สายพันธุ์ข้าวพื้นถิ่นในอนาคต นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปยังวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวทั้งหมด” ดร. จาเน็ท คอตเตอร์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ห้องวิจัย กรีนพีซกล่าว การดูดซึมวิตามินเอในร่างกายต้องการมากกว่าการที่มีส่วนประกอบของสารประกอบโปรวิตามินเอ pro-vitamin A compounds อยู่ในอาหาร (โปรวิตามินเอมีอยู่ในข้าวสีทอง) อย่างเช่นร่างกายต้องการไขมันเพื่อเปลี่ยนโปรวิตามินเอให้เป็นวิตามินเอก่อนที่ร่างกายจะนำไปใช้ในทางกลับกัน ปัจจุบันได้มีวิธีการอื่นที่ถูกมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดวิตามินเอทั่วโลก ความหลากหลายทางอาหารได้ช่วยขจัดการขาดแคลนสารอาหารเชิงซ้อน ในกรณีนี้ การปลูกผักในสวนสามารถช่วยให้มีความหลากหลายของอาหารขึ้นได้หรือแม้กระทั่งการทานอาหารเสริมอย่างวิตามินและแร่ธาตุ วิตามินเอเสริมในรูปแคปซูลก็สามารถทำได้อย่างมีระสิทธิภาพทั้งในระยะสั้นและในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะขาดแคลนวิตามินเอก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งไม่ใช่เกิดจากการขาดวิธีการรับมือกับปัญหาการขาดวิตามินเอ แต่เป็นเพราะการขาดเสถียรภาพทางการเมือง การขาดเงินทุนและเจตจำนงทางการเมืองที่จะลงมือทำ “กว่า 20 ปีและการสูญเสียเงินไปหลายล้านเหรียญฯ ข้าวสีทองก็ยังเป็นเพียงภาพลวงตา ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น โลกของเราได้รับมือกับภาวะขาดแขลนวิตามินเอด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแล้ว วิธีการดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ว่าประสบผลสำเร็จและพร้อมใช้งาน ส่วนข้าวสีทองนั้นเป็นเพียงมายา ซ้ำร้ายยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีความเสี่ยงด้านสุขภาพเหมือนกับพืชจีเอ็มโอ การสูญเสียเวลาและทรัพยากรด้านการเงินไปกับการพัฒนาข้าวสีทองนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการไร้ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังก่อความเสียหายต่อมวลมนุษย์อีกด้วย” ดร. ชิโต เมดินา จาก MASIPAG กล่าว IRRI หรือ สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เป็นผู้นำในการพัฒนาข้าวสีทอง และสร้างเครือข่ายข้าวสีทองรวมทั้งยังอยู่ในตำแหน่งผู้ผลักดันอนาคตข้าวจีเอ็มโอ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวิตามินเอที่ผิดโดยสิ้นเชิง กรีนพีซต้องการให้ IRRI หยุดการทดลองข้าวสีทองในแปลงเปิดรวมถึงข้าวสายพันธุ์อื่นๆ มูลนิธิเกตส์ (Gates Foundation), ฮาเวสพลัส (HarvestPlus), มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์รวมถึงองค์กรและประเทศอื่นๆ ควรหยุดการให้เงินสนับสนุนเพื่อพัฒนาข้าวสีทองและข้าวจีเอ็มโอสายพันธุ์อื่นๆ แล้วหันไปลงทุนกับการแก้ปัญหาการขาดวิตามินเอและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ที่อยู่ในภาวะดังกล่าว ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ จาเน็ท คอตเตอร์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยกรีนพีซ โทร +84 1236144 518 (ขณะนี้อยู่ในกรุงฮานอย) ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โทร 085-843-7300 (ขณะนี้อยู่ในกรุงฮานอย) หมายเหตุ 1. ดาวน์โหลดรายงาน “Golden rice’s lack of lustre” ได้ที่ http://www.greenpeace.org/Golden-rice-report-2010 2. การประชุมข้าวนานาชาติ (The International Rice Congress) จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 12 พฤศจิกายน ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.ricecongress.com 3. MASIPAG เป็นองค์กรภาคประชาชนซึ่งนำโดยเครือข่ายเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในประเทศฟิลิปปินส์ในประเด็นด้านควายั่งยืนและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการควบคุมสายพันธุ์โดยเกษตรกรและทรัพยากรทางชีวภาพ ผลผลิตทางการเกษตรและภูมิปัญญา www.masipag.org Turn the Tide 10 years of Protecting the Environment Together Wiriya Kingwatcharapong Media Campaigner Greenpeace Southeast Asia, Thailand Tel +66 (0)2 357 1921 # 115 Fax +66 (0)2 357 1929 skype wiriyanueng

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ