กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--รีดเดอร์ส ไดเจสท์ คนไทยและคนเอเชียเป็นโรคอะไรและกลัวโรคอะไร ในการสำรวจที่รีดเดอร์สไดเจสท์จัดทำขึ้น มีผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองราว 24,000 คน ที่ตอบแบบสอบถาม ผลสำรวจเผยว่าคนเอเชียสับสนและกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ร่วมกับนีลสัน มีเดีย รีเสิร์ช สรุปผลการสำรวจสุขภาพของชาวเอเชียเป็นครั้งแรกใน 7 ประเทศ คือ ฮ่องกง อินเดียมาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และฟิลิปปินส์ การสำรวจครั้งนี้เป็นหนึ่งในการสำรวจที่ครอบคลุมหัวข้อรอบด้านที่สุด และได้รับความสนใจจากผู้ตอบแบบสอบถามราว 24,000 คนจากทั่วทั้งภูมิภาค คนเมืองในประเทศเหล่านี้ตอบคำถาม 26 ข้อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย การใช้ยาและวิธีรักษา ความเห็นต่อบริการของโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในต่างประเทศ และอื่น ๆ “ผมรู้สึกทึ่งที่มีผู้ตอบแบบสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าสุขภาพที่ดีและข้อมูลที่บอกว่าทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดีเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่” จิม พลัฟฟ์ บรรณาธิการบริหารนิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์ ภาคภาษาอังกฤษ ฉบับเอเชีย กล่าว “เราพบว่าคนเอเชียในเมืองยังค่อนข้างสับสนและกังวลเรื่องสุขภาพของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด ประเด็นนี้จะเป็นหัวข้อสำคัญของเวทีสัมมนาเรื่องสุขภาพของคนเอเชียที่รีดเดอร์ส ไดเจสท์จัดขึ้นในระดับภูมิภาคเป็นครั้งแรก ซึ่งเราหวังว่าจะนำประเด็นความวิตกกังวลเหล่านี้ขึ้นมาพูดคุยและพยายามหาแนวทางแก้ปัญหาในเวทีนี้” การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นที่โรงแรมฮิลตัน ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29 และ 30 มิถุนายน 2550 โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากทั่วภูมิภาคมาร่วมพูดคุย ประเด็นสำคัญอันดับแรก ๆ ผลสำรวจสุขภาพคนเอเชียของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ มีดังนี้ คนเอเชียในเมืองเป็นกังวลเรื่องสุขภาพของตน แต่ก็สับสนว่าควรจะกังวลเรื่องอะไร และจะหาคำตอบได้จากที่ไหน ทั่วทั้งเอเชีย ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบร้อยละ 50 เผยว่าตนเป็นคนสุขภาพดี โดย 40% ให้คะแนนสุขภาพตัวเองอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและต่ำ มีเพียง5.8% ที่บอกว่าตัวเองสุขภาพดีเยี่ยม ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 30% จากภูมิภาคนี้บ่งบอกว่าอาจเดินทางไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ สหรัฐฯ คือจุดหมายอันดับหนึ่งด้วยคะแนน 80% สิงคโปร์เป็นอันดับสองด้วยคะแนน 44% และเป็นจุดหมายอันดับหนึ่งในเอเชียสำหรับการรักษาพยาบาล ตามด้วยยุโรปได้คะแนน 38% ผู้ตอบแบบสอบถาม 90% บอกว่าความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์/ชื่อเสียงที่ดีคือปัจจัยอันดับแรกในการพิจารณา รองลงมาเป็นบริการด้านการพักฟื้น(23%) คำยืนยันจากเพื่อน (22%) ราคา (17%) และระยะเวลารอที่สั้นกว่า (17%) ประเทศที่ต้องการไปรับการรักษาพยาบาลสหรัฐฯ 80% สิงคโปร์ 44% ยุโรป 38% จีน 18% ฮ่องกง 13% ไทย 11% มาเลเซีย 7% อินเดีย 6% ฟิลิปปินส์ 6% อินโดนีเซีย 1% จำนวนร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งคิดว่าจะเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ไม่รวมผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศนั้น ๆ คนเอเชีย 41% ที่สำรวจระบุว่าตนไม่มีประกันสุขภาพ เครียดใช่ไหม ไม่ใช่คุณคนเดียวหรอก คนเอเชีย 30% เป็นโรคเครียด คนฟิลิปปินส์เครียดที่สุดในเอเชีย ด้วยคะแนน 43% เกณฑ์เฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 30% คนไทยดูจะห่างไกลจากความเครียด อยู่ที่ 25% จัดเป็นประเทศหนึ่งที่คนเครียดน้อยที่สุด คนที่เครียดน้อยที่สุดคืออินเดียด้วยคะแนน 22% 25% ไปตรวจร่างกายนาน ๆ ครั้ง หรือไม่เคยไปเลย 60% ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคฮิตอันดับหนึ่งในเอเชีย โรคและความกังวลอันดับต้น ๆ ของคนเอเชียโรคที่เป็น กังวลว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง 60% ความดันโลหิตสูง 65% คอเลสเตอรอลสูง 44% คอเลสเตอรอลสูง 62% ปัญหาการมองเห็น 40% เบาหวาน 61% ปัญหาน้ำหนักตัว 40% มะเร็ง 46% เบาหวาน 37% ปัญหาน้ำหนักตัว 46% จำนวนร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนั้น ๆ และผู้ที่ “เป็นกังวลเกี่ยวกับโรคนั้นค่อนข้างมาก” ผู้ตอบแบบสอบถามกังวลมากที่สุดว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โดยมีจำนวน 65% ตามมาด้วยคอเลสเตอรอลสูง เบาหวาน มะเร็ง และปัญหาน้ำหนักตัว ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจเป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง (81%) ในการปรึกษาแพทย์ ผลสำรวจยังเน้นให้เห็นความแตกต่างระหว่างเพศชายกับเพศหญิงด้วย โดยในทุกประเทศทั่วทั้งภูมิภาค ผู้ชายเชื่อมั่นว่าตนสุขภาพดีมีจำนวนมากกว่าผู้หญิง คนไทยคิดอย่างไร ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยนิยมรักษาตัวในประเทศ 34.8% เลือกไทยเป็นประเทศที่พิจารณาว่าจะเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งสูงเป็นอันดับสองเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ สิงคโปร์นิยมรักษาตัวในประเทศมากที่สุดด้วยจำนวน 36.3% ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย เปิดเผยว่าตนป่วยเป็นโรคปวดหลังและปวดกล้ามเนื้อคิดเป็นสัดส่วนที่สูง (60.5%) เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในเอเชียด้วยกัน ตัวเลขสูงสุดมาจากฟิลิปปินส์ซึ่งอยู่ที่ 67.4% จำนวนเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ประมาณ 57% ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 48.2% ตอบว่าตนสุขภาพดี โดย 44.7% เผยว่าตนอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย มีเพียง 3.3% ที่ตอบว่าสุขภาพดีเยี่ยม ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 67.9% ตอบว่า “รู้เรื่องมากพอสมควร” เกี่ยวกับการตระหนักถึงสภาวะด้านสุขภาพและการรักษาที่มีอยู่ ขณะที่ 31.6%เผยว่าพวกตน “รู้นิดหน่อย” ความดันโลหิตสูงเป็นอาการเจ็บป่วยอันดับหนึ่งของคนไทย ตามด้วยคอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน และเบาหวาน คนไทยเป็นโรคอะไรและกลัวโรคอะไร โรค เป็น กังวลว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง 54% 66.7% คอเลสเตอรอลสูง 46.4% 70.6% ปัญหาน้ำหนักตัว/โรคอ้วน 39.9% 49.3% เบาหวาน 35.9% 64.1% ข้ออักเสบ 33.1% 37.4% ปัญหาการมองเห็น 31.4% 39.8% นอนไม่หลับ/ปัญหาการนอน 29.4% 24.8% กระดูกพรุน 15.9% 40.7% อวัยวะเพศไม่แข็งตัว/หย่อนสมรรถภาพทางเพศ 12.4% 17.1% ตับอักเสบ 7.8% 32.1% จำนวนร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนั้น ๆ และผู้ที่ “เป็นกังวลเกี่ยวกับโรคนั้นค่อนข้างมาก” มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน เช่น โรคอ้วน วัย และการเปลี่ยนนิสัยการกินจากอาหารแบบตะวันออกไปเป็นแบบตะวันตก ซึ่งมีเกลือและน้ำมันมาก มีเส้นใยน้อยอาหารเป็นปัจจัยสำคัญ เราออกกำลังน้อยลง นั่งทำงานนานๆ มากขึ้น” แพทย์หญิงมยุรา เทพเกษตรกุล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคเบาหวานแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยากล่าว ข้อสังเกตถึงบรรณาธิการเกี่ยวกับการสำรวจ การสำรวจสุขภาพคนเอเชียโดยรีดเดอร์ส ไดเจสท์ จัดทำขึ้นที่ ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย การสำรวจมุ่งเน้นที่ความเห็นส่วนบุคคลเรื่องเกี่ยวสุขภาพและความเป็นอยู่ทั่วไป วิธีสำรวจ: โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ รายชื่อผู้ตอบแบบสอบถามมาจากฐานข้อมูลสมาชิกของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ทั่วเอเชีย วิเคราะห์จากแบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 24,710 ชุด การเก็บข้อมูลภาคสนามดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม 2549 รีดเดอร์ส ไดเจสท์ แอสโซซิเอชัน อิงก์ เป็นสำนักพิมพ์ระดับแนวหน้าของโลก และผู้นำในด้าน การตลาด แบบขายตรงนิตยสาร หนังสือ และผลิตภัณฑ์บันเทิงสำหรับครอบครัว โดยมุ่งให้ ข่าวสารข้อมูล เสริมความรู้ ให้ความบันเทิง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านทุกเพศทุกวัยทั่วโลก บริษัทฯ จัดพิมพ์นิตยสารรวม 77 ฉบับ ซึ่งรวมถึงนิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์ นิตยสารที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในเอเชียและทั่วโลก ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ใน 50 รูปแบบ 21ภาษารวมทั้ง สรรสาระ ในฉบับภาษาไทย รีดเดอร์ส ไดเจสท์ดำเนินกิจการโดยบริษัท ริปเพิลวูด โฮลดิงส์ แอล.แอล.ซี สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่รัฐนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทได้ที่ www.rdasia.com สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ [email protected] โทร. 02-262-2091