เมื่อศิลปะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนเป็นเรื่อง "ร่วมมือ ร่วมใจ งดงาม"

ข่าวทั่วไป Monday January 24, 2011 14:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ม.ค.--หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จากเมืองสงจ้วง เมืองเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยดินทราย ผลผลิตทางการเกษตร รอวันเสียหาย 10 ปีมาแล้ว การพลิกฟื้นคืนผืนดิน ปัจจัยด้านการผลิตของประชาชนของจีน โดยการเปิดหน้าดินให้เป็นพื้นที่ด้านศิลปะร่วมสมัย เพราะร่วมสมัยจึงทำให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจ สามารถไปต่อได้ ปัจจุบัน สงจ้วงมีหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ใกล้เคียงเมืองทองธานีของประเทศไทยจำนวน 5-6 แห่ง กลายเป็นพื้นที่หรือเมืองศิลปะร่วมสมัยขนาดย่อมให้ศิลปินชาวจีน ศิลปิน และนักสะสมจากทั่วโลกเข้ามาเยือน คณะศิลปินไทยได้มีโอกาสไปเยือนและนำผลงานไปแสดงเมื่อครั้งเทศการศิลปะสงจ้วงนานาชาติ โดยการบริหารจัดการของ จาง เคอซิ่นและ จาง หวิน ศิลปินและภัณฑารักษ์ชาวจีนที่เคยมีถิ่นพำนักในกรุงเทพถึง 20 ปีจากเทศกาลดังกล่าว สร้างมิตรภาพที่ดีระหว่างศิลปินที่เข้าร่วมงาน คณะไทยโดย อ.อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และคุณอภิศักดิ์ สนจด สองภัณฑารักษ์ที่ร่วมเดินทางในครั้งนั้น ซึ่งได้มีการพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร (ตามธรรมเนียมจีน) ถึงความร่วมมือกันในมิติของศิลปิน โดยมีเรื่องของศิลปะและเนื้อหาทางสังคม ปรากฏการณ์นิทรรศการอาเซียน 10+1 จึงเกิดขึ้น และงอกเงยเป็นนิทรรศการ 10+1 Asian Pulse Tactic ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ อภิศักดิ์ สนจด นอกจากนี้ภัณฑารักษ์และศิลปินในโครงการบางท่านยังได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการดังกล่าว รวมถึงแสดงทัศนคติอันมีมิติแห่งความเชื่อมโยงกันระหว่างแนวคิดทางการเมืองของไทยกับจีน โดยมีประเด็นสัมภาษณ์ดังนี้ ศิลปะสามารถเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระดับประเทศได้อย่างไร จาง เคอซิ่น และ จาง หวิน ศิลปินและภัณฑารักษ์ชาวจีน ได้ให้ความเห็นร่วมกันว่าการมาร่วมงานศิลปะ Asian Pulse 10 + 1 ในครั้งนี้ ได้ช่วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบบสังคมของประเทศเอเชียกับทางจีนมีระบบสังคมที่ไม่เหมือนกัน บางครั้งเมื่อมีปัญหาระหว่างประเทศและไม่สามารถใช้การทูตแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ จึงได้ใช้ศิลปวัฒนธรรมเข้ามาช่วยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงสันติภาพ และคิดว่าสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยแก้ไขได้ นอกจากนี้ สาเหตุที่ตั้งชื่อว่า Asian Pulse เพราะเมื่อกลับมาคิดถึงเรื่องการจุดประเด็นทางวัฒนธรรม เนื่องจากในปัจจุบันประเทศเอเชียซึ่งไม่ใช่แค่อาเชียน ส่วนมากเป็นวัตถุนิยม หลายคนชอบ Brand Name ขาดเรื่องการแสดงสปิริต แต่ Asian Pulse ที่เราทำเป็นเรื่องของศิลปะร่วมสมัย ในประเทศจีนและเอเชีย งานศิลปะก็มีการตลาด แต่เมื่อทุกคนมุ่งแต่ไปทางการตลาด ทำให้ไม่ได้กลับมาคิดว่าศิลปะที่แท้จริงคืออะไร ศิลปะร่วมสมัยในแต่ละประเทศจะมีการบอกเล่าในสิ่งที่ไม่ถูกต้องทางสังคม เรื่องราวในสังคม เรื่องของการเมือง แต่ตอนนี้ทุกอย่างเริ่มเป็นวัตถุนิยม และเมื่อเราต่างไปยุ่งกับการตลาดมากเกินไป ทำให้ความหมายของศิลปะร่วมสมัยเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นโครงการที่เราทำก็เป็นการหวนกลับมาให้ความสำคัญกับคำว่าศิลปะร่วมสมัยอีกครั้ง ศิลปินมีความเห็นในเรื่องของ “สีแดง” อย่างไร ในประเด็นของสีแดง สี ไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับเรา การใช้สีแดงมาวัดเหตุผลทางการเมืองเป็นความคิดที่ตื้นมาก การแสดงงานในครั้งนี้จาก 4 ศิลปินจีน ศิลปินจากจีนทั้ง 4 คนจะไม่เหมือนกัน จูหมิงเป็นศิลปินที่กล้ามาทำ performance โดยไม่ใส่เสื้อผ้า ซึ่งในประเทศจีนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ในเมื่อศิลปินทั้ง 4 คนเป็นตัวแทนที่เราคัดเลือกมา โดยมีจูหมิงเป็นตัวแทนของกลุ่ม อีกคนคือหยู๋ ซิงจื๋อ ที่อยู่ในเยอรมัน ตอนกลับมายังประเทศจีน เขาอยู่ในระบบมหาลัยเหมือนศิลปากร จึงกลายเป็นตัวแทนอีกระบบหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าศิลปินในราชการเป็นอย่างไร ถูกเทรนมาเป็นแบบ academy ส่วนจูหย่ง เป็นศิลปินที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมและการเมือง และจาง เคอซิ่น เป็นคนที่เดินทางในต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นยุโรป เอเชีย เดินทางตลอด ดังนั้น 4 คนนี้จึงเป็นตัวแทนของกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในระบบการตลาด แต่อยู่ในระบบศิลปะร่วมสมัย ชู หย่ง ความรู้สึกที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ ครั้งแรกที่มาเมืองไทยรู้สึกเหมือนไม่ได้ออกจากบ้านตัวเอง เหมือนอยู่กวางเจา เพราะอาหารการกิน ดินฟ้าอากาศ ทุกอย่างเหมือนกันยกเว้นภาษา ที่เมืองจีน ทุกคนพูดถึงประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องการขายบริการทางเพศ กระเทย เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่ไม่ค่อยดี ก่อนหน้านี้เขารู้สึกว่าประเทศไทยแปลกมาก แต่พอได้มาเห็นเองแล้วกลับคิดว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว จุดเด่นของการแสดงในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ต้องขอเน้นคือ การเชิญกลุ่มทุนนิยมหรือพวกนายทุนมาร้องเพลงชาติจีนที่เมืองไทย ชาติจีนเป็นระบบสังคมนิยม แต่เมื่อเราให้พวกที่เป็นทุนนิยมมาร้องเพลงชาติจีน นี่คือสิ่งที่ท้าทาย มุมมองต่อเสื้อแดง สีแดงของจีนกับของไทยไม่เหมือนกัน มีเรื่องขันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ขนส่งกล่องเสื้อแดงเข้ามายังประเทศไทย ทำให้กงศุลกากรเข้าใจผิด ทางศิลปินจึงต้องยื่นจดหมายเชิญจากศิลปากรให้ดูว่าเป็นเรื่องของการแสดง จุดประสงค์ของการแสดงมีการล้อกันไหมระหว่างกรณีเสื้อแดงของไทยกับการแสดงชุดแดงของจูหย่ง เป็นเรื่องบังเอิญ สีแดงเป็นวัฒนธรรมของจีน เขานำเสื้อแดงไปทั่วโลกเพื่อทำ performance แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะมาล้อกับเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย แต่เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม นี่คือเป้าหมายที่จริง อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ การใช้ศิลปะเป็นตัวสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราใช้ศิลปะเป็นช่องทางในการเปิดประตูทางวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมง่ายต่อการเชื่อมความสัมพันธ์ ได้เห็นการทำงานร่วมกัน เพราะนอกจากกลุ่มศิลปินแล้ว ก็ยังมีกลุ่มคนดูที่ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจศิลปินชาติอื่น ถือเป็นพัฒนาการที่ดีอีกระดับหนึ่ง สีต่างๆ ในมุมมองของศิลปิน "สี" อยู่คู่งานศิลปะอยู่แล้ว สีมีความหมายต่างๆ มีความรู้สึก เป็นเหมือนภาษาของอารมณ์ จากการพูดคุยกับศิลปินกลุ่มนี้ ทำให้เรามองเห็นจุดประสงค์ของศิลปินมากขึ้น การต้องดำรงตัวตนแห่งความเป็นศิลปะร่วมสมัยให้คงไว้ท่ามกลางแนวทางใหม่ของศิลปะ อันเป็นเรื่องของระบบทุนนิยม เรื่องของการตลาด ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อศิลปินร่วมสมัยอย่างในยุคปัจจุบันนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้หลายคนไขว้เขว การตีความหมายของคำว่าศิลปะร่วมสมัยจึงเปลี่ยนไป และไม่ใช่ว่าสิ่งนี้เพิ่งเกิดขึ้น เพราะหากมองย้อนกลับไปในอดีต เราจะเห็นได้ว่าเคยเกิดการตีความหมายของคำว่า “ศิลปะ” เปลี่ยนไปเช่นกัน ยุคสมัยเปลี่ยนไปตามกาลเวลา และเมื่อปัจจัยหลายอย่างเข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะพูดถึงและแสดงออกถึงความคิดและทัศนคติต่อสิ่งเหล่านั้น สำหรับงานนิทรรศการในครั้งนี้ก็เช่นกัน เป็นโอกาสดีที่เราจะได้เห็นศิลปินระดับนานาชาติถึง 3 ประเทศคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และไทย มาแสดงความคิดเห็นในมุมมองของศิลปะร่วมสมัยในแบบตนเอง เป็นศิลปะร่วมสมัยที่ไม่ได้รองรับเนื้อหาของทุนนิยม หากทว่านำระบบทุนนิยมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานได้อย่างน่าสนใจต่างหาก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ