การประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงท่องเที่ยวไทยใจป้ำ ช่วยสอนการท่องเที่ยวชุมชนให้พม่า

ข่าวทั่วไป Monday January 24, 2011 15:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ม.ค.--กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสมบัติ คุรุพันธ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(ป.กก.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(Greater Mekong Sub-region Workshop on Community-based Tourism) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23- 28 มกราคม 2554 โดยมีผู้ บริหารและผู้ประกอบการจากภาครัฐ จากกระทรวงการท่องเที่ยวและโรงแรม ประเทศพม่า และเอกชนด้านการท่องเที่ยวระดับสูงของประเทศพม่า จำนวน 30 คน บุคลากรจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศ ไทย อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย จำนวน20 คน เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ณ โรงแรมเดอะปาร์ค ถนนช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2554 นายสมบัติ คุรุพันธ์ ป.กก. กล่าวถึง ความเป็นมาถึงสาเหตุการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในครั้งนี้ว่า จาก การที่ประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ของแผนงานพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 18-21 สิงหาคม 2553 ณ ประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม และได้แถลงต่อที่ประชุมรัฐมนตรีกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเกี่ยว กับแผนงานด้านการท่องเที่ยวว่าประเทศไทย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ด้านการท่องเที่ยว โดยชุมชนในประเทศไทย ให้แก่ประเทศพม่า อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้ง ที่ 25 ระหว่างวันที่ 5-8 พฤษภาคม 2553 ณ ประเทศกัมพูชา โดยสำนักงานประสานการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำโขง ได้ขอความอนุเคราะห์ให้ประเทศไทย พิจารณาสนับสนุนการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในกรอบอนุ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS Workshop on Community-based Tourism) แก่ผู้แทนจากประเทศพม่า ในปี 2554 ณ ประเทศไทย ดังนั้นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงได้จัดโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในกรอบอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ำโขงขึ้นมา เนื่องจากเห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าว จะเป็นการช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ บุคลากรจากประเทศพม่า จะได้มีโอกาสเรียนรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการศึกษาสำรวจสภาพพื้นที่การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนจาก ตัวอย่างของประเทศไทยด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ที่มีความหลากหลาย โดยมีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ดีและได้รับการยอมรับในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดี ที่ประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย จะได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของไทย รวมถึงการนำเสนอชุมชน/หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นองค์อาริยะปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ในเรื่องดังกล่าวด้วย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เลือกพื้นที่ทางภาคเหนือของไทย คือ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community based Tourism — CBT)ที่ดี มีความสมบูรณ์ในหลายด้านไม่ว่าความพร้อมของชุมชน บุคลากร การบริหารจัดการ การตลาด ที่พัก การบริการ การต้อนรับ และอาหารการกิน ตลอดจนมีสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ มีความปลอดภัย และใกล้เขตชายแดนประเทศพม่า โดยการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ กระบวนการเรียนรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านท่องเที่ยวโดยชุมชน และการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบต่อชุมชน ท้องถิ่น สังคม สิ่งแวดล้อม และส่ง เสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาอย่างสมดุล โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว นำไปสู่ความรู้สึกการเป็นเจ้าของพื้นที่ นำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และก่อให้เกิดมิตรภาพเครือข่าย และการบูรณาการการทำงานระหว่างการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภูมิภาคอาเซียนด้วย ป.กก. กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในประเทศไทย เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลาร่วมยี่สิบปี เป็นการส่งเสริมอาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชน จนกลับกลายเป็นอาชีพหลัก ที่จะต้องมีการเติบโตที่ยั่งยืน มีวิถีชีวิตชุมชน(way of Life)ที่ เป็นเอกลักษณ์เป็นจุดยืน/จุดขาย ในลักษณะสร้างคน สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ โดยชุมชนเพื่อชุมชน ไม่มีประเด็นหลักของการแบ่งส่วนทางการตลาดท่องเที่ยวจากภาคเอกชน แต่หากในอนาคต การท่องเที่ยวโดยชุมชน มีความสามารถพัฒนาก้าวไปถึงขั้นการจัดทำเป็นธุรกิจ/เป็นอุตสาหกรรมได้ หรือเป้าหมายเปลี่ยนไปเชิงธุรกิจ/พาณิชย์ที่ชัดเจน ก็ควรเข้าระบบการจัดการเชิงธุรกิจเช่นเอกชน ภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 แต่ความเป็นจริง ค่อนข้างเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะโดยธรรมชาติของการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากทุกมุมทั่วโลก มักจะมีจุดยืนของตนเอง ที่ต้องขายวิถีชีวิตชุมชน ที่มีความเป็นตัวตนของชุมชนเป็นหลัก ภายใต้ข้อจำกัดในหลายประการ อาทิ การสื่อสาร ความเชื่อถือ มาตรฐาน อาหาร ที่พัก ห้องน้ำ ฯลฯ ประกอบกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย ในภาพรวมมีจำนวนนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยมากกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งใช้บริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์จากยอดรวมประมาณ 15 ล้านคนต่อปี ใช้บริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ มีรายได้จากการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ลักษณะต่างๆ(โฮมสเตย์ สินค้าพื้นบ้าน/โอท็อป อาหาร/เครื่อดื่ม ฯลฯ) ภาพรวมประมาณ 9,000-10,000 ล้านบาทต่อปี นับเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวไทย ที่ควรได้รับการสนับสนุนและจัดระบบการบริหารจัดการ ทั้งนี้ภาครัฐ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยังคงบทบาทหนึ่งในการสนับสนุนชุมชนรากหญ้าให้เป็นรากแก้วที่แข็งแรง ในวิถีหนึ่งของการท่องเที่ยว ที่เรียกว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้คนไทย/ชุมชนไทยดำรงชีวิตในวิถีชีวิตชุมชนที่มีเอกลักษณ์แบบไทย ในอาชีพท่องเที่ยว อย่างมีความสุขและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ