โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถผู้ประกอบการ จัดทำโครงการนำร่องและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์

ข่าวทั่วไป Wednesday January 26, 2011 16:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ม.ค.--มหาวิทยาลัยศิลปากร โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถผู้ประกอบการ จัดทำโครงการนำร่องและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และโครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการใช้เครื่องมือออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใน 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถผู้ประกอบการ จัดทำโครงการนำร่องและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และโครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการใช้เครื่องมือออกแบบ และพัฒนาฐานข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใน 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในแต่ละโครงการจะมีหลักสูตรการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ โดยทางคุณปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถผู้ประกอบการ จัดทำโครงการนำร่องและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชื่อหลักสูตรที่1 “หลักสูตรด้านการบริหารการออกแบบให้กับผู้ประกอบการจาก 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” จัดขึ้นเพื่อยกระดับองค์กรของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น ด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะ (Capacity Building) การบริหารจัดการการออกแบบ (Design Management) ในองค์กร ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญและตระหนักถึงบทบาทของการออกแบบต่อการดำเนินธุรกิจ กระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำกระบวนการบริหารจัดการการออกแบบ(Design Management) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในองค์กรของตนและยังเป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการ ในการเรียนรู้กระบวนการออกแบบ และสามารถนำมาประยุกต์กับการบริหารจัดการองค์กรของตนเอง เนื้อหาหลักสูตรการบริหารจัดการการออกแบบเพื่อยกระดับองค์กรนี้ มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการที่เข้ารับการอบรม มีความเข้าใจหลักการ แนวทาง และกระบวนการการออกแบบทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยหลักสูตรที่ออกแบบขึ้นนี้สามารถใช้ฝึกอบรมผู้ประกอบการทุกประเภทธุรกิจ ทั้งองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีทักษะและกระบวนการคิด ในการบริหารจัดการการออกแบบขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถระบุข้อจำกัดของบุคลากรและองค์กร ตลอดจนความต้องการที่ชัดเจนในการทำงานร่วมกัน ระหว่างนักออกแบบกับผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจ ทำให้การกำหนดแผนกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติเป็นไปอย่างสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน มีความเหมาะสมกับศักยภาพและทักษะของผู้ปฏิบัติด้วย ชื่อหลักสูตรที่ 2 “หลักสูตรด้านการออกแบบ การวิเคราะห์ความต้องการของตลาด” จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ (Capacity Building) นักออกแบบ ให้มีศักยภาพในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ด้วยการเสริมองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตและการสร้างอัตลักษณ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการออกแบบที่เชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาไปสู่กระบวนการผลิตจริง เพื่อให้นักออกแบบตระหนักถึงบทบาทของการวิเคราะห์ความต้องการของตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตในการออกแบบและยังสร้างความเข้าใจให้แก่นักออกแบบในการวิเคราะห์ความต้องการของตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยีและกระบวนการผลิต ให้สามารถนำมาประยุกต์กับกระบวนการออกแบผลิตภัณฑ์ให้แก่องค์กรของตนเอง เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้นักออกแบบนำกระบวนการออกแบบที่เชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่กระบวนการผลิตจริง มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในองค์กรของตน เนื้อหาหลักสูตรนี้ มีวัตถุประสงค์ให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรการบริหารจัดการการออกแบบเพื่อยกระดับองค์กร (Design Management for Corporate Upgrading) ที่ใช้ฝึกอบรมผู้ประกอบการ ซึ่งมุ่งให้ผู้ประกอบการทำในสิ่งที่ใช่ (Do the Right Thing) สำหรับหลักสูตรกระบวนการสู่ความสำเร็จในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์นี้ มุ่งเน้นให้นักออกแบบที่เข้ารับการอบรมทำสิ่งที่ใช่ให้เป็นจริง (Do Thing Right) ดังนั้นเนื้อหาหลักสูตรจึงมุ่งให้ความรู้และความเข้าใจหลักการ แนวทางและกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ความต้องการของตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการออกแบบทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการออกแบบได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงการออกแบบกับกระบวนการผลิต ตั้งแต่การจัดทำต้นแบบ การทำแม่พิมพ์และวิศวกรรมคู่ขนาน เพื่อพัฒนาสู่กระบวนการผลิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักสูตรที่ออกแบบขึ้นนี้สามารถใช้ฝึกอบรมนักออกแบบ ทั้งองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีทักษะการออกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค และสามารถขยายผลการออกแบบสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีกิจกรรมหลักที่จะอบรมนักออกแบบจาก 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยจะจัดอบรมใน 4 ภูมิภาคได้แก่ กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 21-23 และ 29-30 มกราคม 2554 และ 15 กุมภาพันธ์ นครปฐม ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2554 และ 12-13 กุมภาพันธ์ 2554 ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 11-13 และ19-20 กุมภาพันธ์ 2554 เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17 -19 กุมภาพันธ์ 2554 และ 20,26 กุมภาพันธ์ 2554 โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการใช้เครื่องมือออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใน 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยแบ่งออกเป็น 10 หลักสูตร จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ในการพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับนวัตกรรม (Innovation) ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไทยให้มีคุณภาพและมีเอกลักษณ์จุดเด่นที่ตอบสนองต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต(LifeStyle) ของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทยจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตตามแบบ (OEM) ให้มาเป็นผู้รับจ้างผลิตที่มีการออกแบบและพัฒนาสินค้าได้เป็นของตนเอง (ODM: Original Design Manufacturing) ที่เน้นรูปแบบ การใช้งาน ความสวยงาม การประหยัดพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใน 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และสร้างให้เป็นเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของไทยที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศต่อไปเพื่อให้มีการวางรากฐานในการศึกษารูปแบบการพัฒนา Design Center เพื่อบูรณาการด้านการส่งเสริมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนในระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Development) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย ให้ครบวงจร อันนำมาซึ่งการยกระดับขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันทางการวิจัย และพัฒนาการออกแบบวัตกรรมของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล ที่ได้มีการประกาศพันธสัญญา 12 ข้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน (Creative Industrial Hub of ASEAN) และเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากร้อยละ 12 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ เป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2555 โดยมี 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย เป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบาย ในการอบรมแต่ละครั้งผู้เข้าร่วมจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับ หลักสูตรที่ 1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามแนวคิด Lean Product Design และ ECO Design หลักสูตรที่ 2 โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการการออกแบบและการตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ บวกกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม/ธุรกิจอาหาร/การแพทย์แผนไทย/ทัศนศิลป์/สิ่งพิมพ์ 2.อุตสาหกรรมภาพยนต์/เพลง/การแพร่ภาพและกระจายเสียง/โฆษณา/ศิลปะการแสดง/ซอฟต์แวร์3.อุตสาหกรรมแฟชั่น/งานฝีมือและหัตถกรรมและ 4.อุตสาหกรรมการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญการออกแบบในแต่ละสาขา อาทิ คุณสุรชัย พุฒิกุลางกูร นักสร้างภาพมือรางวัลระดับโลกเจ้าของบริษัทอิลลูชั่น คุณไพโรจน์ ธีรประภา นักออกแบบกราฟิคผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์สยามรวย คุณสมชาย จงแสงนักออกแบบตกแต่งภายในรางวัลศิลปาธรและคุณศุภพงษ์ สอนสังข์นักออกแบบยอดเยี่ยมด้านหัตถกรรม ทั้งนำชมสถานประกอบการเพื่อให้เห็นภาพจริงด้วย โดยมีกิจกรรมหลักที่จะอบรมนักออกแบบจาก 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในการใช้เครื่องมือและโปรแกรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถความสามารถในการแข่งขันของนักออกแบบไทยให้สูงขึ้น โดยจะจัดอบรมใน 4 ภูมิภาคได้แก่ กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 21-23 และ 29-31 มกราคม 2554 ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 11-13 และ19-21 กุมภาพันธ์ 2554เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 25 -27 กุมภาพันธ์ 2554 และ 5-7 มีนาคม 2554 สงขลา ระหว่างวันที่ 11-13 และ 19-21 มีนาคม 2554 คุณอลงกรณ์ พลบุตร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์) ประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ กล่าวเสริมต่อว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มุ่งหวังให้ทั้ง 3 โครงการเป็นโครงการนำร่องเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในกลุ่ม 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพ และสามารถแข่งขันกับนานาชาติ และทางภาครัฐบาลพร้อมพลักดันเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการของธุรกิจจาก SME รายเล็ก ก้าวสู่บริษัทยักษ์ใหญ่ได้ ในอนาคตถ้าผู้ประกอบการท่านใดสนใจทั้ง 3 โครงการ สามารถเข้ารับการฝึกอบรม ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆตามรายละเอียดที่กล่าวมา ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณบงกฎรัตน์ สุบงกฎ(แก้ว) โทร.086-7844681 E-mail: kikimiz@hotmail.com , bongkotrut@gmail.com หรือติดต่อได้ที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถ.หน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์: 02-2227130 โทรสาร: 02-2224851

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ