สิงคโปร์คือเมืองสีเขียวที่สุดแห่งเอเชีย กรุงเทพฯ อยู่ในกลุ่มระดับปานกลาง

ข่าวทั่วไป Thursday February 17, 2011 14:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.พ.--ซีเมนส์ การศึกษาดัชนีวัดความเป็นเมืองสีเขียวในเอเชียวิเคราะห์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองหลัก 22 เมืองในทวีปเอเชีย สิงคโปร์เป็นมหานครที่มีความเป็นสีเขียวมากที่สุดของเอเชีย ซึ่งเป็นผลจากดัชนีวัดความเป็นเมืองสีเขียวในเอเชีย โดยซีเมนส์ได้มอบหมายให้หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit — EIU) เป็นผู้จัดทำ ซึ่งใช้เวลาหลายเดือนที่ผ่านมาทำการศึกษาวิเคราะห์เป้าหมายและผลลัพธ์ของ 22 เมืองหลักในทวีปเอเชียในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศ โดยสิงคโปร์มีความโดดเด่นมากในการมีเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าท้าทายและมุ่งมั่นพยายามดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุผลความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยเมืองอื่นๆ ในทวีปเอเชียก็เช่นกัน อย่างไรก็ดี การรับรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและแนวทางของการปกป้องภูมิอากาศกำลังเพิ่มบทบาทสำคัญ ไม่น่าแปลกใจที่โอซาก้า โตเกียว โยโกฮามา โซล ไทเป และฮ่องกงได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย (above average) จากการศึกษาในภาพรวมทั้งหมดในขณะที่กรุงเทพมหานครอยู่ในกลุ่มระดับปานกลางเช่นเดียวกับนครปักกิ่ง กรุงเดลลี กวางเจา จาการ์ต้า กัวลาลัมเปอร์ นานจิง เซี่ยงไฮ้ และหวู่ฮั่น ทั้งนี้ คะแนนที่ดีที่สุดที่กรุงเทพฯ ได้รับอยู่ในหมวดคุณภาพอากาศ (air quality) และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (environmental governance) โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย “ข้อบ่งชี้จากรายงานแสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ ดำเนินการเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ดีอย่างไรรวมถึงมีความเป็นเมืองสีเขียวมากน้อยเพียงใด ซึ่งผลดังกล่าวจะช่วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแผนอย่างยั่งยืนและรับมือต่อความท้าทายต่างๆ ได้อย่างตรงจุดและเหมาะสมต่อไป” นายแอนโทนี่ เชย์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ประเทศไทยกล่าว “ดัชนีวัดความเป็นเมืองสีเขียวในเอเชียนี้จะช่วยชี้แนะเมืองต่างๆ ในการขยายระบบสาธารณูปโภคบนฐานของความยั่งยืน เราต้องการทำให้เมืองใหญ่ต่างๆ ศูนย์กลางในเอเชียมีอัตราการเติบโตที่ดีไปพร้อมๆ กับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับสูง” กล่าวโดย บาร์บาร่า คุกซ์ สมาชิกคณะกรรมการบริหารของซีมนส์ เอจี และยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน (Chief Sustainability Officer) ดัชนีวัดความเป็นเมืองสีเขียวในเอเชียตรวจสอบผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมใน 8 หมวดของ 22 เมืองหลัก ได้แก่ พลังงานและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (energy and CO2) การใช้ที่ดินและอาคารต่างๆ (land use and buildings) การขนส่ง (transport) ขยะ (waste) น้ำ (water) สุขาภิบาล (sanitation) คุณภาพอากาศและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (air quality and environmental governance) ซึ่งหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit — EIU) ได้พัฒนาระเบียบวิธีวิจัยด้วยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นชุมชนเมือง (urban expert) ระดับแนวหน้าทั่วโลก รวมถึงตัวแทนจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี, ธนาคารโลก และบรรดาเครือข่ายเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย, CITYNET “การศึกษาเมืองต่างๆ ของเอเชียแสดงให้เห็นสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมากก็คือ รายได้ที่มากขึ้นไม่ได้มีความจำเป็นต่อการต้องใช้ทรัพยากรที่มากขึ้น ขณะที่มีการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นอย่างเต็มที่จนถึงประมาณ 15,000 ยูโรของ GDPต่อหัวของประชากร ตัวเลขจะลดลงอีกครั้งเมื่อรายได้เพิ่มสูงกว่านี้” ยาน ฟรีดริช หัวหน้าหน่วยวิจัยของงานศึกษาของEIU (research head of the EIU study) กล่าว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น... เมืองที่มีความเจริญมั่งคั่งต่างๆ ของเอเชีย การรับรู้และตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีมากกว่า อีกทั้งระบบสาธารณูปโภคก็มีประสิทธิภาพมากกว่า โดยเมืองเหล่านี้ล้วนแข็งขันในการลดการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติโดยเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้มากขึ้น “นอกจากนี้ เมืองต่างๆ ที่ได้รับการจัดอันดับที่ดีเป็นผลมาจากความสามารถในการดำเนินโครงการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและบังคับใช้ข้อกำหนดต่างๆ อย่างต่อเนื่องได้อย่างสำเร็จ” ฟรีดริช อธิบาย การศึกษาแสดงผลหลักๆ ของกรุงเทพฯ ดังนี้ - กรุงเทพฯ ได้คะแนนดีในหมวดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีแผนกที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม - กรุงเทพฯ อยู่ในระดับปานกลางในเรื่องของพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ประมาณ 6.7 ตันต่อคนซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ 22 เมืองซึ่งอยู่ที่ 4.6 ตัน/คน อย่างไรก็ดี กรุงเทพฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดีในแง่ของการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ซึ่งคิดเป็น 6 เมกะจูลต่อเหรียญสหรัฐซึ่งเท่ากับเกณฑ์ระดับปานกลางของดัชนี การขนส่งมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ถึงร้อยละ 40 ในกรุงเทพฯ เนื่องจากมีรถยนต์และการผลิตพลังงานในอัตราที่สูง - กรุงเทพฯ ทำได้ค่อนข้างดีในแง่ที่เกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ที่แข็งแกร่งด้านพลังงานและการลงทุนด้านพลังงานที่ได้จากขยะ (waste-energy) - กรุงเทพฯ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยในหมวดการใช้ที่ดินและอาคารต่างๆ เนื่องจากมีพื้นที่สีเขียวเพียง 3 ตารางเมตร/คน อย่างไรก็ตาม กรุงเทพฯ ได้คะแนนดีจากการมีการประชาสัมพันธ์วิธีการปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอาคารต่างๆ - การมีโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะที่ดีเพียง 0.04 ก.ม./ตารางกิโลเมตรของกรุงเทพฯ เมื่อเทียบกับระดับเกณฑ์เฉลี่ยที่ 0.17 ก.ม./ตารางกิโลเมตรของค่าเฉลี่ยดัชนี ทำให้กรุงเทพฯ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในหมวดการขนส่ง - ยานพาหนะกว่า 6 ล้านคันที่จดทะเบียนในกรุงเทพฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากราวๆ 4 ล้าน 2แสนคันในปี พ.ศ. 2542 สะท้อนถึงความต้องการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากกว่าการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ - ในหมวดขยะนั้น กรุงเทพฯ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เพราะมีการสร้างขยะคนละ 535 ก.ก./คน ในเมืองหลวงในขณะที่เกณฑ์เฉลี่ยของดัชนีอยู่ที่เพียง 375 ก.ก./คน และมีการจัดเก็บขยะเพียงร้อยละ 63 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 83 - การที่เมืองหลวงของประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในหมวดของน้ำเกิดจากมีการใช้น้ำที่สูงถึง 340 ลิตร/คน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ 278 ลิตร/คน และการรั่วไหลของน้ำทำให้กรุงเทพฯ ต้องสูญเสียน้ำไปราวร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 22 จากผลการศึกษา แผนปฏิบัติการที่ข้ามแผนกกันได้ของกรุงเทพฯ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศมีการริเริ่มใน 5 เรื่องที่เด่นชัดเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ซึ่งได้แก่ การขยายระบบขนส่งมวลชน การกระตุ้นการใช้พลังงานหมุนเวียน การปรับปรุงการใช้พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอาคารต่างๆ การพัฒนาเรื่องการบำบัดขยะมูลฝอยและน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะ นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมีบทบาทนำในโครงการ “Cool ASEAN, Green Capitals” ซึ่งริเริ่มโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nations — ASEAN) ในการจัดการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศซึ่งธนาคารโลกให้การสนับสนุน การย้ายถิ่นฐานจากชนบทอย่างต่อเนื่องในเอเชียไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มนุษย์ ตามข้อมูลของหน่วยงานด้านประชากรขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Population Division) สัดส่วนของชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ เพิ่มมากขึ้นใน 20 ปีที่ผ่านมาโดยเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 3 จนถึงร้อยละ 40 เพียงเฉพาะใน 5 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นจำนวนผู้ที่อาศัยในเมืองในเอเชียเพิ่มขึ้นราวๆ 100,000 คนต่อวัน ซึ่งจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกหลายๆ ปีข้างหน้า เฉพาะในประเทศจีนประเทศเดียวผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนอาศัยอยู่ในเมืองๆ ต่างๆ กว่า 200 เมืองภายในปี พ.ศ. 2568 โดยในขณะนี้มีไม่ถึง 90 เมืองที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 1 ล้านคนอาศัยอยู่ในขณะที่ในทวีปยุโรปนั้นมี 25 เมือง การเพิ่มขึ้นของการเป็นชุมชนเมืองส่งผลกระทบอย่างมากต่อโครงสร้างสาธารณูปโภคเพราะจำนวนคนที่มากขึ้นย่อมมีความต้องการใช้พลังงาน น้ำสะอาด การขนส่ง และที่อยู่อาศัยที่มีการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) ประมาณการณ์จากการไหลบ่าของผู้คนไว้ว่า เมืองต่างๆ ในเอเชียจำเป็นต้องสร้างบ้านพักเพิ่มขึ้นอีก 20,000 หลัง และต้องมีการสร้างถนนเพิ่มขึ้นอีก 250 ก.ม. รวมถึงต้องมีการจัดหาโครงสร้างสาธารณูปโภคด้านการขนส่งและการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดเพิ่มมากขึ้นอีก 6 ล้านลิตรในแต่ละวัน นอกจากนี้ เมืองต่างๆ คือตัวการหลักในการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ที่เป็นอันตรายเนื่องจากเป็นเครื่องจักรในการขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตโดยมีความต้องการใช้พลังงานถึงร้อยละ 75 ของการใช้พลังงานของโลกและผู้คนในเมืองได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ถึงร้อยละ 80 “ยุทธการเพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจะเกิดขึ้นในเมืองต่างๆ รวมถึงในเอเชียที่มีการขยายตัวของเมืองอย่างมากซึ่งมากกว่าที่ไหนในโลก โดยเมืองที่มีความเป็นสีเขียวเท่านั้นที่จะทำให้ชีวิตน่าอยู่ขึ้นในระยะยาว” บาร์บาร่า คุกซ์ กล่าว กรุงเทพฯ เป็นตัวอย่างได้อย่างดีที่แสดงให้เห็นว่าเมืองต่างๆ สามารถเติบโตได้รวดเร็วเพียงใด และการเติบโตนั้นสามารถส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง “การขยายตัวของชุมชนเมืองต้องการโซลูชั่นที่น่าดึงดูดใจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดในทุกภาคส่วนของการบริหารจัดการเมืองใหญ่ๆอย่างมหานครเพื่อที่จะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ ซึ่งซีเมนส์พร้อมที่จะช่วยกรุงเทพฯให้ได้รับการจัดอันดับในระดับที่ดีขึ้นและกลายเป็นเมืองที่มีความเป็นสีเขียวมากที่สุดเมืองหนึ่งของเอเชียในอนาคต” เชย์กล่าวเพิ่มเติม ด้วยพอร์ทโฟลิโอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของซีเมนส์ๆจึงเป็นพันธมิตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนภายใต้การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ มีเทคโนโลยีสีเขียวที่ใหญ่และครอบคลุมมากที่สุดสำหรับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การผลิตพลังงานสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ การจ่ายพลังงาน และการขนส่งมวลชน รวมถึงระบบบำบัดน้ำเสีย ในปี งบประมาณ 2553 ปีเดียว บริษัทฯ สามารถสร้างรายได้ได้ราว 28,000 ล้านยูโรจากพอร์ทโฟลิโอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ โดยบางส่วนของรายได้มาจากโครงการต่างๆ ในเมืองต่างๆ ในทวีปเอเชีย เช่น การขยายและปรับให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นของเครือข่ายระบบรางต่างๆ ระบบการจัดหาพลังงานในเมือง และระบบอัตโนมัติสำหรับอาคาร ขอบเขตของดัชนีวัดความเป็นเมืองสีเขียว (Green City Index) มีลักษณะเฉพาะที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก(unique in the world) ทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคที่ 3 ซึ่งได้รับการทำการศึกษาวิเคราะห์โดย EIUให้ซีเมนส์ โดยทำแบบซีรีย์ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2552 ด้วยดัชนีวัดความเป็นเมืองสีเขียวในทวีปยุโรป (European Green City Index) ซึ่งโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก ถูกจัดให้เป็นเมืองสีเขียวแห่งยุโรป ตามด้วยในปี พ.ศ. 2553 ได้ทำการศึกษาทวีปอเมริกาใต้ (Latin American Green City Index) ซึ่งเมืองกูรีติบา (Curitiba) ในประเทศบราซิลได้รับคะแนนสูงสุด โดยการศึกษาเช่นนี้มีแผนที่จะดำเนินการในส่วนอื่นๆ ของโลก ซีเมนส์ เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทระดับโลกด้านอิเลคทรอนิกส์และวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งประกอบการในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม พลังงาน และ เฮลท์แคร์ กว่า 160 ปีที่ซีเมนส์ เป็นบริษัทฯ ที่แทนความหมายได้ถึง ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม คุณภาพ ไว้วางใจได้ และมีความเป็นสากล บริษัทฯ เป็นผู้จัดหารายใหญ่ที่สุดของโลกในเรื่องของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งสร้างรายได้ให้ราว 28,000 ล้านยูโร โดยกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมดมาจากผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นสีเขียว ในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งสิ้นสุดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 มีรายได้ทั้งหมดอยู่ที่ 76,000 ล้านยูโร โดยมีรายได้สุทธิ 4,100 ล้านยูโร จนถึงสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ซีเมนส์มีพนักงานราว 405,000 คนทั่วโลก ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าไปที่ www.siemens.com. เกี่ยวกับบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ประเทศไทย ซีเมนส์ จำกัด ประเทศไทยดำเนินธุรกิจในทั้ง 3 ภาคธุรกิจ ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรม พลังงาน และเฮลท์แคร์ โดยมุ่งเน้นการขยายธุรกิจในธุรกิจที่มีฐานธุรกิจที่กว้าง ทั้งนี้ บริษัทฯ สามารถบรรลุผลสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดของธุรกิจที่กำลังเติบโตในภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน เช่น ปิโตรเคมี น้ำ โลหะ พลังงานสะอาด และ น้ำกับก๊าซ ในปีงบประมาณ 2553 สิ้นสุดปีงบประมาณในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 บริษัทฯ มียอดสั่งซื้อ 8,500 ล้านบาท และมีพนักงานราว 1,200 คน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ