วช. มอบเงินซื้อขายคาร์บอดเครดิตครั้งแรกในประเทศแก่ชุมชนอินแปง จ.สกลนคร

ข่าวทั่วไป Monday February 28, 2011 13:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.พ.--วช. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการประชุมชี้แจงเรื่องข้อตกลง และลงนามการซื้อขายคาร์บอนเครดิต พร้อมติดตามโครงการ ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม และมอบเงินจากการซื้อขายคาร์บอนแก่ชุมชนอินแปง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วช. ร่วมกับมหาวิทยาลัย มิชิแกน สเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการศึกษาวิจัยการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยพืช พร้อมจัดทำโครงการนำร่องว่าด้วยการศึกษาวิจัยการตรวจวัดชีวมวลของต้นไม้ และนำเข้าสู่กระบวนการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ —๒๕๕๔ ซึ่งในการมอบเงินครั้งนี้มีมูลค่ากว่า ๓ หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า ๙ แสนบาท ให้แก่ชุนชนอินแปง จ.สกลนคร จ.หนองบัวลำพูน จ.อุดรธานี และจ.นครสวรรค์ นายเชษฐพงษ์ บุตรเทพ ในนามของรักษาการ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้มอบหมายให้ลงนามสักขีพยานของวช. กล่าวถึงการดำเนินงานว่า โครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้มแข็งของชุมชน ที่ต้องการให้เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ป่าไม้ หรือส่งเสริมการปลูกป่า เพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โครงการนี้เป็นโครงการต้นแบบของประเทศไทยที่ได้รับความร่วมมือจากม.มิชิแกน สเตท สหรัฐอเมริกา และคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหาสารคาม ซึ่งโครงการยังต้องมีการพัฒนาระเบียบ มาตรฐาน วิธีการดำเนินการ โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่จะได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานต่อไป และโครงการนี้จะไม่มีการรับเงินเพื่อเข้าโครงการจากเกษตรกร เพราะเป็นโครงการที่ดำเนินงานโดยภาครัฐเพื่อประโยชน์ต่อชุมชน ที่ต้องการการถ่ายทอดเทคโนโลยีวิชาการ และการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม โดยมิได้หวังผลประโยชน์ใดๆ การพัฒนาโครงการจะมีอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นมาตรฐานของประเทศต่อไป และหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงสามารถนำมากำหนดเป็นนโยบายยุทธศาสตร์ของประเทศต่อไปได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร นายจำลอง ราชวงศ์ ชาวบ้านชุมชนอินแปงที่เข้ารับมอบเงินกล่าวถึงโครงการว่า ตนเองและชาวบ้านชุมชนอินแปงส่วนหนึ่งได้รับการติดต่อจากทาง วช. และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ไปรับฟังโครงการซื้อขายคาร์บอน จึงได้เข้าไปอบรมกับโครงการและได้รู้ประโยชน์ว่าจากเดิมที่คิดปลูกไม้ไว้เพื่อใช้สอย แต่ตอนนี้กลับได้รับประโยชน์ทางอ้อม ก็เห็นว่าเป็นเรื่องดีจึงได้ชวนเพื่อนบ้านมาร่วมโครงการด้วย และตนเองยังต้องการให้ส่งเสริมให้คนไทยได้รับรู้เรื่องนี้ เพราะป่าไม้ในเมืองไทยก็มีมาก คนที่ปลูกก็มีมากถ้ากระจายโครงการนี้ออกไปก็จะได้รับประโยชน์กันมากขึ้น ส่วนเงินที่ได้รับมานี้ตนเองจะนำไปซื้อที่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ