ปภ. เตือนอาคารเก่า เสี่ยงเกิดเพลิงไหม้สูง

ข่าวทั่วไป Tuesday March 1, 2011 16:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 มี.ค.--ปภ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนอาคารที่มีอายุการใช้งานมากกว่า ๑๐ ปีขึ้นไปเสี่ยงเกิดเพลิงไหม้สูง พร้อมแนะเจ้าของอาคารให้หมั่นตรวจสอบสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะบริเวณ นอกอาคาร ใต้ผนังและฝ้าเพดานเป็นพิเศษ หากอยู่ในสภาพชำรุดหรือใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าเกินขนาดให้จัดการแก้ไขโดยด่วน อีกทั้งควรจัดสภาพแวดล้อมภายในและโดยรอบอาคารให้อยู่ในสภาพปลอดภัยจากเพลิงไหม้ โดยจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ไม่ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ก่อสร้างอาคารปิดล้อมทางสาธารณะ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ภายในอาคาร นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า อาคารที่อยู่อาศัย ตึกแถว และอาคารขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า ๑๐ ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูง เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เริ่มเสื่อมสภาพ และโครงสร้างอาคารเสื่อมโทรม หากเกิดเพลิงไหม้อาจทำให้อาคารเกิดการทรุดตัวได้ง่าย เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีป้องกันเพลิงไหม้อาคารเก่า ดังนี้ ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ในสภาพปลอดภัยต้องมีลักษณะ ดังนี้ สายไฟฟ้าไม่เป็นสีคล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าไม่ชำรุด ไม่มีรอยฉีกขาด รอยแตกร้าว รอยไหม้ รอยสัตว์หรือแมลงกัดแทะ รวมถึงไม่มีรอยสิ่งของหนักกดทับ โดยเฉพาะสายไฟฟ้านอกอาคาร ใต้ผนังและฝ้าเพดานต้องหมั่นตรวจสอบเป็นพิเศษ หากพบว่าบริเวณข้อต่อสายไฟฟ้า มีมดหรือแมลงอาศัยอยู่ และมีรอยน้ำรั่วซึมให้รีบแจ้งช่างผู้ชำนาญงานมาดำเนินการซ่อมแซมทันที เลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร หากใช้กระแสไฟในปริมาณมากเกินขนาดหรือตำแหน่งจุดต่อปลั๊กไฟ ไม่แน่นหนา จะทำให้อุณหภูมิสายไฟสูงกว่าปกติจนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้ได้ ละการ ครั้ง บเพลิงจะะเจ้าของอาคารให้ครัว ไม่เดินสายไฟในพื้นที่เสี่ยงอันตราย ได้แก่ บริเวณใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี สารไวไฟ แสงแดดส่องถึง ฝนสาดหรือ วางของหนักกดทับ เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าชำรุดได้ง่าย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรสูง จัดสภาพแวดล้อมภายในและโดยรอบอาคารให้อยู่ในสภาพปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ โดยจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ไม่วางกีดขวางทางเดินหรือบันไดหนีไฟ ติดตั้งเหล็กดัดประตู หน้าต่างแบบที่สามารถเปิดปิดได้ กำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงไม่ให้วางสุมกัน พร้อมจัดเก็บสารเคมีที่ติดไฟง่ายไว้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ต่อเติมอาคารอย่างผิดกฎหมายหรือปิดล้อมทางเดินหรือรุกล้ำทางสาธารณะ โดยให้เหลือพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร สำหรับเป็นทางสาธารณะ หากเกิดเหตุฉุกเฉินรถดับเพลิงจะได้เข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ในจุดเกิดเหตุได้อย่างสะดวก ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ในอาคาร เช่น ถังดับเพลิงเคมี ระบบตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ สปริงเกิล เครื่องตรวจจับควันไฟและกริ่งสัญญาณเตือนไฟไหม้ในพื้นที่เสี่ยงเกิดเพลิงไหม้ เช่น ห้องพระ ห้องครัว ห้องเก็บของ และตรวจสอบให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนหมั่นฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟภายในอาคารอย่างน้อย ปีละ ๑ ครั้ง จะได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนและการอพยพหนีไฟอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ