เคล็ดลับคู่ใจ มือใหม่ซื้อรถ

ข่าวยานยนต์ Friday March 18, 2011 16:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สำหรับคนที่กำลังมองหารถคู่ใจคงเข้าใจดีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายในการตัดสินใจซื้อรถสักคัน โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อ “รถคันแรก” มักมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องคำนึงถึงมากมาย ซึ่งนอกจากหนุ่มสาวรุ่นใหม่จะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้แล้ว การได้ไปชมและสัมผัสหรือแม้แต่ทดลองขับรถยนต์ที่โชว์รูมรถในฝันของตนเองยังถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ว่าที่เจ้าของรถคันใหม่จึงไม่ควรพลาดงานแสดงรถระดับโลก อย่างงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์ โชว์ ครั้งที่ 32 ที่จะมีขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม - 5 เมษายนนี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในโอกาสนี้ ฟอร์ด ประเทศไทย จึงมีเคล็ดลับ แถมข้อแนะนำดีๆ สำหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ที่กำลังเตรียมตัวถอยรถใหม่ในฝันมาฝากกัน อยากซื้อรถ…ทำอย่างไรดี ถึงแม้จะตั้งใจเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะถอยรถใหม่เป็นครั้งแรกในเร็ววันนี้ แต่เชื่อว่าหลายคนยังคงมีคำถามคาใจอีกหลายข้อ ตั้งแต่การเลือกยี่ห้อและรุ่นที่ถูกใจ จนถึงเรื่องแสนสำคัญอย่างเรื่อง “เงินๆ ทองๆ” “ฉันจะซื้อรถอะไรดี” คำถามธรรมดาๆ ที่หลายคนอาจต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะได้คำตอบ ฟอร์ด ประเทศไทย แนะนำให้มองลึกกว่าแค่ “ฉันอยากได้รถใหม่” โดยพยายามมองหารถยนต์ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟสไตล์และการใช้งานในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างแท้จริง เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางออกต่างจังหวัด ไปพื้นที่สมบุกสมบันเป็นประจำ หรือกำลังมองหารถที่มีกำลังแรงบิดมหาศาล มีช่วงล่างที่ทรงตัวได้อย่างดีเยี่ยม อาจจะเหมาะกับรถลุยๆ อย่างรถกระบะ หรือถ้ากำลังมองหารถสำหรับการเดินทางเป็นครอบครัว อาจจะเน้นศึกษารถประเภทเอสยูวี (SUV) หรือในขณะเดียวกัน สำหรับผู้ที่ต้องการใช้รถเพื่อเดินทางในเมืองเป็นหลัก รถยนต์เล็กคุณภาพเยี่ยม ดีไซน์สวยซักคัน ก็น่าจะคล่องตัวกว่าและประหยัดค่าน้ำมันได้ไม่น้อย รถกระบะ อย่าง ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ เหมาะสำหรับหนุ่มสาวชอบ “ลุย” ออกต่างจังหวัด หรือต้องไปพื้นที่สมบุกสมบันเป็นประจำ รถยนต์เล็กคุณภาพเยี่ยม แสนคล่องแคล่ว อย่าง ฟอร์ด เฟียสต้า ใหม่ เหมาะสำหรับเออร์บันนิสต้า ตัวจริง นอกจากนี้ บริการหลังการขาย รวมถึง อัตราค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษารถ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คุณสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานฝ่ายการตลาด การขาย และการบริการ ฟอร์ด ประเทศไทย ฝากย้ำให้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษารถทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้มาก เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ แต่เจ้าของรถหลายคนมักมองข้าม เมื่อต้องเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คตามระยะ… ถึงแม้ว่าการ “เอารถเข้าศูนย์ฯ” จะฟังดูไม่ซับซ้อน แต่ก็แอบมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ควรให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลาการรับประกันรถ ที่คนรุ่นใหม่ควรใส่ใจพิจารณา เนื่องจากในปัจจุบันมีค่ายรถ พยายามที่จะสร้างความอุ่นใจและความสบายใจให้กับผู้ขับขี่ตลอดระยะเวลาของการเป็นเจ้าของรถ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมการยืดระยะการประกัน (Extended Warranty) รวมถึงการยืดระยะการตรวจเช็คสภาพ สำหรับรถรุ่นใหม่ๆ อย่างเช่น ฟอร์ด เฟียสต้า ที่มีรอบการตรวจเช็คระยะทุก 15,000 ก.ม. แทนที่จะเป็นทุก 10,000 ก.ม. เหมือนรถยนต์ทั่วไป ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20% จึงนับเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของรถในระยะยาว เมื่อต้องเปลี่ยนอะไหล่… อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายคนต้องปวดหัว คือเรื่องการเปลี่ยนอะไหล่รถ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา จึงควรพิจารณารถที่มีค่าอะไหล่โดยเฉลี่ยต่ำกว่าราคาตลาด รวมถึงความพร้อมในการจัดหาอะไหล่ รถรุ่นใหม่ๆ ของฟอร์ดมีค่าอะไหล่โดยเฉลี่ยต่ำกว่าราคาตลาดประมาณ 20% และมีโปรแกรม “ฟอร์ด รับประกันจัดส่งอะไหล่ภายใน 24 ชั่วโมง” ที่ช่วยย้ำความมั่นใจในความพร้อม และความรวดเร็วในการจัดหาและจัดส่งอะไหล่ให้แก่ลูกค้าโดยให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ เมื่อต้องเดินทาง… ขึ้นชื่อว่าเป็น “การเดินทาง” ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสตาร์ทรถไม่ติดในชั่วโมงเร่งรีบ รถเสีย น้ำมันหมดระหว่างทาง ต้องการใช้บริการลากรถ กุญแจหาย หรือแม้กระทั่งหลงทาง เจ้าของรถ “นักเดินทาง” ทุกคนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริการยามฉุกเฉินให้ถี่ถ้วนเพราะจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในยามคับขัน โดยฟอร์ด ประเทศไทย มีการบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทั่วประเทศ อย่าง โรดไซด์ แอสซิสแตนซ์ (Roadside Assistance) ที่ทำหน้าที่เป็น “ผู้ช่วย” เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจในทุกการเดินทางตลอด 24 ชั่วโมง “ฉันจะซื้อรถอย่างไรดี” “ตัวเลข” เล็กๆ ในบัญชีธนาคาร คือหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะชี้ว่าเราจะ “ซื้อรถอย่างไร” สำหรับผู้ที่มีเงินในบัญชีเป็นหลักล้าน หรือมีแบ็คอัพทางการเงินที่มั่นคง (เช่น คุณพ่อคุณแม่) คงไม่ยากหากจะตัดสินใจซื้อรถด้วยเงินสด แต่สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การผ่อนชำระกับสถาบันการเงินต่างๆ หรือที่เรามักเรียกติดปากว่า “ไฟแนนซ์” คงจะเป็นทางเลือกที่ดูเหมาะเจาะลงตัว “เงินสด” VS “เงินผ่อน” ถึงแม้ว่า “ซื้อเงินสด” จะดูเหมือนง่ายและรวดเร็วทันใจ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ซื้อรถมือใหม่พึงระลึกไว้ ได้แก่ เราจะเสียเงินก้อนใหญ่ไปในคราวเดียว และอาจจะทำให้โอกาสที่จะซื้อหรือนำเงินก้อนไปลงทุนด้านอื่นๆ อาจต้องชะงัก หรือชะลอตัวลงจนกว่าจะเก็บเงินก้อนได้ใหม่ ดังนั้น เพื่อทำให้ตนเองมีหลักประกันสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่จำเป็นในอนาคต ก็น่าจะเก็บเงินก้อนไว้แล้วอาจหันมา “ซื้อรถเงินผ่อน” แทน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ใครหลายคนนิยมทำกัน “...แล้วเราจะผ่อนไหวมั้ย” รายได้สุทธิ = 2 เท่าของค่างวดรายเดือน สูตรขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรท่องไว้ขึ้นใจ โดยว่าที่เจ้าของรถควรแน่ใจว่ารายได้ที่มั่นคง (หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ) ควรจะมีมากกว่าเงินผ่อนในแต่ละเดือนประมาณ 2 เท่า เช่น ถ้าตั้งใจจะผ่อนค่างวดรถ 10,000 บาท ต่อเดือน เราควรจะมีรายได้ (หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ) ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อเดือน โดยวิธีคิดข้างต้น นับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อรถที่ทุกคนควรคิดต่อให้ละเอียด เพราะถึงแม้จะมีรายได้มากกว่าค่างวดรายเดือนถึงสองเท่า ก็ยังควรที่จะต้องพิจารณาต่อไปถึงระยะเวลาการผ่อน ดังนี้ ระยะการผ่อนสั้น = ค่างวดรายเดือนสูง = ดอกเบี้ยน้อยกว่า = ราคารถโดยรวมต่ำกว่า ระยะการผ่อนยาว = ค่างวดรายเดือนต่ำ = ดอกเบี้ยสูงกว่า = ราคารถโดยรวมสูงกว่า “ไฟแนนซ์จะผ่านไหมเนี่ย” คุณสาโรช ให้ข้อคิดสั้นๆ แต่ได้ใจความว่า “อดีต คือ ตัวบอกอนาคต” เพราะเวลาที่เรายื่นเรื่องขอ “ไฟแนนซ์” ข้อมูลโดยละเอียดของ “ผู้ขอกู้” จะเป็น ปัจจัยสำคัญ ที่สนับสนุนความ “น่าเชื่อถือ” ไม่ว่าจะเป็น รายได้ อาชีพ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนประวัติการผ่อนชำระหนี้กับสถาบันการเงินต่างๆ นอกจากนี้ การเริ่มผ่อนรถในวันนี้ จะสามารถสร้างเครดิตที่ดีให้กับตนเองในอนาคตอีกด้วย พึงระลึกว่าการมี “สุขภาพทางการเงินที่แข็งแรง” คือพื้นฐานและกุญแจดอกสำคัญ ที่ผู้ซื้อรถมือใหม่ควรคำนึงถึง ก่อนตัดสินใจเดินเข้าสู่งาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์ โชว์ ครั้งที่ 32 อย่างมั่นใจ แล้วคุณล่ะ พร้อมจะซื้อรถ…แล้วหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้ว เตรียมตัวไปงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์ โชว์ กันได้แล้ว หรือถ้าอยู่ต่างจังหวัดจะไปที่โชว์รูมรถยนต์ใกล้บ้านคุณก็ได้ ข้อมูลและรูปภาพจาก ฟอร์ด ประเทศไทย
แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ