ผลการประชุม Asian Regional Public Debt Management Forum ครั้งที่ 2

ข่าวทั่วไป Wednesday March 23, 2011 17:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 — 18 & nbsp;มีนาคม 2554 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะและธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Asian Regional Public Debt Management Forum ครั้งที่ 2 ณ โรงแรม Laguna Beach Resort จังหวัดภูเก็ต โดยการประชุมครั้งนี้ มีผู้บริหารจากหน่วยงานด้านการบริหารหนี้สาธารณะจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวม 46 ประเทศ และผู้แทนจากสถาบันการเงินระหว่า ประเทศและภาคเอกชน ได้แก่ ADB ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และบริษัท Standard & Poor’s เป็นต้น เข้าร่วมทั้งสิ้นประมาณ 140 คน การประชุม Asian Regional Public Debt Management Forum ในครั้งนี้ ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือ แลกเปลี่ยน งค์ความรู้ และประสบการณ์ในการบริหารหนี้สาธารณะอย่างกว้างขวางตลอดระยะเวลา 3 วัน และมีทิศทางอันดีในการที่จะทำให้เกิดความร่วมมือจากหน่วยงานด้านการบริหารหนี้สาธารณะทั้งในภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนภูมิภาคอื่นๆ ในการที่จะร่วมกันบริหารจัดการหนี้สาธารณะทั้งในเวลาที่เกิดวิกฤตหรือเวลาปกติ โดยมีสาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ ดังนี้ 1. นาย Bindu N. Lohani, Vice President Finance and Administration ของ ADB ได้กล่าวชื่นชมการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศไทยว่าเป็นไปอย่างมีประ ิทธิภาพ โดยมีหนี้ต่างประเทศเพียงร้อยละ 8 ของหนี้สาธารณะทั้งหมด และเป็นหนี้ของรัฐบาลโดยตรงเพียงร้อยละ 2 รวมถึงการที่ประเทศไทยได้พัฒนาตลาดตราสารหนี้จนเป็นที่ยอมรับ โดยมีการออกพันธบัตรเพื่อใช้เป็นอัตราอ้างอิง (Benchmark bonds) ในช่วงอายุ 5 10 15 20 30 และ 50 ปี พร้อมทั้งมีการพัฒนาพันธบัตรที่มีรูปแบบหลากหลาย เช่น พันธบัตรที่อ้างอิงอัตราผลตอบแทนกับอัตราเงินเ ้อ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนประเภทต่างๆ โดยนาย Lohani เห็นว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาในเอเชียควรมีการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้ทันสมัยเช่นเดียวกับประเทศไทย 2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารหนี้สาธารณะอย่างกว้างขวาง โดยเห็นว่า ถึงแม้ประเทศในกลุ่มเอเชียได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก แต่ก็สามารถปรับตัวรับมือได้อย่ างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าออกอย่างเสรี การจัดการอัตราแลกเปลี่ยน และนโยบายการเงินอาจส่งผลให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลและบริหารหนี้สาธารณะมีความท้าทายมากขึ้น โดยประเทศต่างๆ ได้หันมากู้เงินจากตลาดตราสารหนี้ในประเทศมากขึ้น มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ใหม่ๆ เพื่อขยายฐานนักลงทุน โดยแนวทางในการบ ิหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ (1) มีกรอบกฎหมายและกรอบการดำเนินการที่เอื้อให้การบริหารหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายประเทศได้แสดงความสนใจสอบถามเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเห็นว่ามีประโยชน์ในการพัฒนาตลาดทุนเพื่อรองรับการระดมทุนและลดต้นทุนในการกู้เงินของ ระเทศในระยะยาว (2) พัฒนาความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ มีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ให้มีความชำนาญเพียงพอ (3) พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้สามารถรองรับความต้องการระดมทุนที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยการพัฒนาแบบจำลองให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละประเทศ การพัฒนาระบบการจัดเ ็บฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับการใช้งาน การประมาณการภาวะตลาดและภาวะเศรษฐกิจให้มีความแม่นยำ เป็นต้น และ (5) มีระบบการบันทึกและติดตามภาระผูกพันที่มีประสิทธิภาพ ทั้งภาระผูกพันที่เปิดเผย (Explicit Contingent Liabilities) เช่น การค้ำประกันของรัฐบาลในการกู้ยืมเงิน และการค้ำประกันเงินฝากให้ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น และภาระผูกพันแฝง (Implicit Contingent Liabilities) เช่น การเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินในช่วงวิกฤต และการบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น 3. นาย Thierry de Longuemar, Treasurer ของ ADB ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมและจัดการประชุมได้อย่างน่าประทับใจ โดยกา ประชุมในครั้งนี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารหนี้สาธารณะจากประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อันเป็นการสร้างเครือข่ายข้อมูลที่เข้มแข็งด้านหนี้สาธารณะของประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงเป็นช่องทางในการกำหนดแ นวทางการบริหารหนี้สาธารณะเชิงรุกให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจการเงินของโลก ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารหนี้สาธารณะของประเทศต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และหวังว่า การประชุมครั้งต่อไปในปีหน้าจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0-2265-8050 ต่อ 5505

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ