วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรม ในหัวข้อ กลยุทธ์ชิงความได้เปรียบสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA และกฎแหล่งกำเนิดสินค้า 2011

ข่าวทั่วไป Wednesday March 30, 2011 16:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง กลยุทธ์ชิงความได้เปรียบสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA และกฎแหล่งกำเนิดสินค้า 2011 (FTA and Rules of Origin Strategies 2011)อบรมวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2554ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค(ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรี FTA มากมาย แต่ภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า/ส่งออก ยังไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอย่างเต็มที่นัก โดยเฉพาะการเลือกใช้ FTA ไหนให้ประหยัดภาษีมากที่สุด และผู้ประกอบการควรใช้ประโยชน์จาก FTA ต่าง ๆ ในการปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์สุด ดังนั้นประเด็น “กฎแหล่งกำเนิดสินค้า” จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายอย่างมากต่อการค้าระหว่างประเทศในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ภาครัฐโดยกรมศุลกากรและกรมค้าต่างประเทศในปัจจุบันยังเน้นการตรวจสอบ (Post Audit) มากขึ้นในประเด็นกฎแหล่งกำเนิดสินค้าและใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (CO) ดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมต่อการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้นในการใช้สิทธิ์ตาม Rules of Origin เหล่านี้ด้วย บริษัทฯ จึงทำการจัดอบรมสัมมนาหัวข้อ “กลยุทธ์ชิงความได้เปรียบสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA และกฎแหล่งกำเนิดสินค้า 2011” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในการเข้าใจถึงเขตการค้าเสรี FTA ต่าง ๆ และสามารถเลือกใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น - บทสรุปและการเปรียบเทียบ 10 เขตการค้าเสรีของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ ATIGA (AFTA เดิม) ACFTA, AJCEP, AKFTA, AANZFTA, TAFTA, NZTCEPA, ITFTA, JTEPA และ ITFTA - Update การเปลี่ยนแปลงล่าสุดสำหรับ “ความตกลงการค้าเสรี ASEAN-China FTA” - การซื้อขายผ่านประเทศที่สามภายใต้เงื่อนไข Third Party Invoicing - การส่งออกผ่าน Agent ในจีน - กรณี Movement Certificate - กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA Rules of Origin) - การปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้า กรณี Back-to-Back Form D - ข้อยกเว้นในเรื่องเกณฑ์ขั้นต่ำ De Minimis - กรณีกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าฉบับทบทวน (Revised PSR) - การคำนวณสัดส่วนต้นทุนมูลค่าการผลิตในประเทศภาคี (Regional Value Content) - การสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าแบบบางส่วน (Partial Cumulative) - การส่งผ่านประเทศนอกภาคีอาเซียน (สามารถทำได้หรือไม่? อย่างไร?) - Update 2011 กรอบสินค้าและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงอื่น ๆ ได้แก่ AJCEP, AKFTA, AANZFTA, TAFTA, NZTCEP, ITFTA, JTEPA และ ITFTA - การระบุวิธีการดำเนินการเพื่อให้ศุลกากรสามารถตรวจปล่อยสินค้าได้โดยสะดวกมากขึ้นในกรณีมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น พิกัดอัตราศุลกากร แต่ไม่กระทบต่อค่าอากรและกฎแหล่งกำเนิดสินค้า - Update ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification System: SC) ของผู้ส่งออกที่มีสิทธิรับรองตนเองหรือที่เรียกว่า “Certified Exporter” เป็นโอกาสและความท้าทายใหม่ของผู้ส่งออกไทย - กลยุทธ์การเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อเชื่อมโยงกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรประเภทอื่น ๆ ได้แก่ Free Zone, BOI และBonded Warehouse - การขอสงวนสิทธิ์การขอคืนอากร กรณีไม่สามารถนำ Form เพื่อใช้สิทธิ FTA มาแสดงต่อศุลกากรได้ทันขณะที่นำเข้า - การบริหารความเสี่ยงกรณีการวางประกัน เช่น กรณีพิกัดต่างทำให้อากรแตกต่างกันภายใต้ FTA ประเภทต่าง ๆ - การใช้พิกัดอัตราศุลกากรระบบอาร์โมไนซ์ฉบับปี 2007 และ AHTN ใน Form ประเภทต่าง ๆ - ประเด็นพิธีการศุลกากรอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการมักกระทำผิดเกี่ยวกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า พร้อมแนวทางแก้ไข - การวางแผนการใช้บริการวินิจฉัยถิ่นกำเนิดสินค้าล่วงหน้า (Advanced Rules of Origin Ruling) และประเด็นความเสี่ยงที่พึงระวัง - แนวทางการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Customs Post Audit) - ประเด็นกฎแหล่งกำเนิดสินค้าและใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (CO) ของผู้ประกอบการ - ประเด็นที่ผู้ประกอบการมักปฏิบัติผิดพลาดเกี่ยวกับ Form ประเภทต่าง ๆ - ความเสี่ยงและเบี้ยปรับจากการถูก Post Audit - เทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ - ข้อแนะนำในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรับการตรวจสอบ - ระเด็นสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) และสินค้ายกเว้น (Exclusion List) กับประเด็นการถูกตรวจสอบ Instructor ดร.สิทธิชัย พรหมสุวรรณ ผู้ชำนาญการศุลกากร กรมศุลกากร Partner ของ กลุ่มบริษัทสยามเคาน์ซิล อดีตผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด Registration Fee ท่านละ 3,000 บาท รวม VAT 7%= 3,210 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ