นักวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นเยาว์คว้ารางวัลใหญ่ระดับโลก จากการประกวดอินเทล ไอเซฟ 2011

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday May 18, 2011 09:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เป็นทีมจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่รับรางวัล 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จากการทำพลาสติกจากเกล็ดปลา ประเด็นข่าว - การประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ อินเทลไอเซฟ ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของสมาคมเพื่อวิทยาศาสตร์และสาธารณะ ที่จัดขึ้นที่ เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลผู้ชนะแล้ววันนี้ - ทีมนักเรียนจากเมืองลาฟาแย็ต รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รับรางวัลกอร์ดอน อี มัวร์ พร้อมทุนการศึกษา 75,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกอร์ดอน มัวร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง รวมทั้งเป็นประธานและซีอีโอที่เกษียนอายุการทำงานไปแล้วของอินเทล - นักเรียนไทยและนักเรียนจากเมืองเรโน รัฐเนวาดา ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จากมูลนิธิอินเทล (Intel Foundation Young Scientist Award) พร้อมทุนการศึกษารางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐฯ - ทีมไทยนับเป็นทีมแรกของภูมิภาคเอเซียตะวันออกฉียงใต้ที่ชนะรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จากมูลนิธิอินเทล (Intel Foundation Young Scientist Award) นายพรวสุ พงศ์ธีระวรรณ นางสาวธัญพิชา พงศ์ชัยไพบูลย์ และ นางสาวอารดา สังขนิตย์ ทีมจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของมูลนิธิ อินเทล (Intel Foundation Young Scientist Award) ในการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ หรืออินเทลไอเซฟ โดยนักเรียนทั้งสามคนได้รับทุนการศึกษา 50,000 เหรียญสหรัฐ จากความสำเร็จในการวิจัยเรื่องการสกัดเจลาตินจากเกล็ดปลาและนำมาผลิตพลาสติกบรรจุอาหาร ซึ่งเป็นโครงงานที่สามารถนำมาปรับใช้ได้จริง โครงงานวิทยาศาสตร์ชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว นายแมทธิว เฟดเดอร์เซน และนายแบลค มาร์กกราฟฟ์ จากเมืองลาฟาแย็ต รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยได้รับทุนการศึกษา 75,000 เหรียญสหรัฐ จากรางวัลกอร์ดอน อี มัวร์ ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่กอร์ดอน มัวร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง รวมทั้งเป็นประธานและซีอีโอที่เกษียณอายุการทำงานไปแล้วของอินเทล โครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทั้งสองมีจุดประสงค์เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมีค่าใช้จ่ายน้อยลง โดยการนำดีบุกมาวางบริเวณใกล้กับเนื้อร้ายก่อนการรักษาด้วยการฉายรังสี นายเทย์เลอร์ วิลสัน จากเมืองเรโน รัฐเนวาดา เป็นนักเรียนอีกหนึ่งคนที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของมูลนิธิอินเทล (Intel Foundation Young Scientist Award) และได้รับทุนการศึกษา 50,000 เหรียญสหรัฐ เทย์เลอร์ได้พัฒนาโครงงานเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันการก่อการร้ายทางนิวเคลียร์โดยใช้ระบบตรวจจับ นอกจากนั้น นักเรียนไทยอีกหนึ่งทีม ได้แก่ นายนรินธเดช เจริญสมบัติ นายธนทรัพย์ ก้อนมณี และนางสาววรดา จันทร์มุข จากจังหวัดเพชรบุรี ได้รับรางวัลแกรนด์ อวอร์ด อันดับที่สี่ ในสาขาวิศวกรรมวัสดุและวิศวกรรมชีวเวช พร้อมได้รับทุนการศึกษา 500 เหรียญสหรัฐ จากโครงงานการนำผลของฟิลม์มิวซิเลจจากเมล็ดแมงลักมาใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว “ผมขอแสดงความยินดีกับนักเรียนไทยทุกคนที่เป็นตัวแทนประเทศเข้าร่วมการประกวดในปีนี้ และร่วมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้อีกครั้งหนึ่ง การประกวดรางวัล อินเทลไอเซฟ ในครั้งนี้ช่วยตอกย้ำให้เราเห็นว่าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมอันล้ำสมัย” นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการบริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าว “และการแข่งขันในระดับนานาชาติครั้งนี้ได้รวบรวมเยาวชนจากประเทศต่างๆ ที่ล้วนพยายามหาทางแก้ไขและรับมือกับปัญหาระดับโลกโดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ อินเทลมีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเลิกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 13 ปี เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนไทยที่มีความสามารถ และอินเทลจะเดินหน้าโครงการดีๆ เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศเช่นนี้ต่อไป” งานอินเทล ไอเซฟ 2011 ในปีนี้มีการคัดเลือกนักคิด นักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์กว่า 1,500 คน โดยเป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากการประกวดต่างๆ กว่า 443 งาน จาก 65 ประเทศและส่วนการปกครองต่างๆ ทั่วโลก โดยประเทศที่เข้าร่วมการประกวดเป็นครั้งแรกในปีนี้ ได้แก่ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกเหนือจากผู้ชนะรางวัลที่กล่าวไปแล้ว ยังมีผู้ที่ได้รับรางวัลอื่นๆ อีกกว่า 400 คน ซึ่งได้รับรางวัลจากผลงานที่สร้างสรรค์และโดดเด่น รางวัลเหล่านี้แบ่งออกเป็น 17 สาขา โดยนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละสาขาจะได้รับรางวัลคนละ 5,000 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ มูลนิธิอินเทลยังมอบทุนการศึกษาแก่โรงเรียนของผู้ที่ได้รับรางวัล อีกรางวัลละ 1,000 เหรียญสหรัฐ รางวัลชนะเลิศทั้ง 17 สาขา ได้แก่ สาขา ชื่อผู้ชนะ เมือง/จังหวัด รัฐ/ประเทศ สัตววิทยา Adrienne McColl ซาน เปโดร แคลิฟอร์เนีย สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ Andrew Kim เอเธนส์ จอร์เจีย ชีวเคมี Dianna Hu ดิกซ์ ฮิลส์ นิวยอร์ก เซลล์และชีวโมเลกุล Nithin Tumma ฟอร์ต กราทิอ๊อท มิชิแกน เคมี Raghavendra Ramachanderan เชนนาย อินเดีย วิทยาการคอมพิวเตอร์ Lai Xue เฉิงตู จีน วิทยาศาสตร์โลก Jane Cox โพรโว่ ยูทาห์ วิศวกรรม: ไฟฟ้าและเครื่องกล Demitri Hopkins ทิการ์ด โอเรกอน Forrest Betton Eric Thomas บีเวอร์ทัน วิศวกรรมวัสดุ และวิศวกรรมชีวะเวช Samantha Marques มิดโลเธียน เวอร์จิเนีย พลังงานและการขนส่ง Nathan Kondamuri ดายเออร์ อินเดียนา การจัดการสิ่งแวดล้อม Pornwasu Pongtheerawan สุราษฎร์ธานี ไทย Tanpitcha Phongchaipaiboon Arada Sungkanit วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Jinyoung Seo โกยาง เกาหลีใต้ Dongju Shin โซล เกาหลีใต้ คณิตศาสตร์ Matthew Bauerle เฟนทัน มิชิแกน แพทยศาสตร์และสุขภาพ Matthew Feddersen ลาฟาแย็ต แคลิฟอร์เนีย Blake Marggraff จุลชีวะวิทยา Erica Portnoy ดิกซ์ ฮิลส์ นิวยอร์ก ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ Taylor Wilson เรโน เนวาดา พืชศาสตร์ Kira Powell โอเดสซา วอชิงตัน สมาคมเพื่อวิทยาศาสตร์และสาธารณะ เป็นองค์กรการกุศลที่อุทิศตนเพื่อการวิจัย และการให้การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน โดยดูแลการจัดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติมาตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2493 อลิซาเบธ มารินโคลา ประธานของสมาคมผลงานด้านเพื่อวิทยาศาสตร์และสาธารณะ กล่าวว่า “เราขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกคน พวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันและความอยากรู้อยากเห็นอันแรงกล้าเพื่อการแก้ไขปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ที่ท้าทาย ผลงานของพวกเขาและผลงานจากผู้เข้าแข่งขันทุกคนในงานอินเทลไอเซฟ 2011 ในปีนี้ แสดงให้ถึงศักยภาพของนักเรียน ที่สามารถประสบความสำเร็จได้เมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากการคิด ตั้งคำถาม และการวิจัย” โครงงานของผู้ที่เข้าร่วมงานอินเทลไอเซฟ 2011 ได้รับการพิจารณาและให้คะแนนจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับวุฒิดุษฏีบัณฑิต หรือเทียบเท่ากว่า 100 คนที่มีประสบการณ์การทำงานที่ช่ำชองในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กว่า 6 ปี รายชื่อของผู้เข้าประกวดทั้งหมดสามารถเข้าชมได้ที่ www.societyforscience.org/intelisef2011 ผู้เข้าร่วมงานอินเทลไอเซฟนี้ได้รับการสนุนร่วมกันระหว่างบริษัทอินเทล และมูลนิธิอินเทล รวมถึงหน่วยงานเอกชน องค์กรทางการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ อีกหลายหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ ท่านสามารถเข้าชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล ไอเซฟ ได้ที่ www.intel.com/newsroom/education และติดตามอัพเดทกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ เฟสบุ๊คhttp://intel.ly/intel-edu และทวิตเตอร์ได้ที่ http://twitter.com/intel_education ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมเพื่อวิทยาศาสตร์และสาธารณะสามารถเข้าชมได้ที่ www.inspiredbyeducation.com หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SSP สามารถติดตามได้ที่ www.societyforscience.org หรือผ่านทวิตเตอร์ได้ที่ www.twitter.com/society4science หรือเฟสบุ๊คที่ www.facebook.com/societyforscience เกี่ยวกับอินเทล อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ newsroom.intel.com และ blogs.intel.com.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ