ประวัติความเป็นมาของโครงการสารานุกรมไทยฯ

ข่าวทั่วไป Friday January 5, 2007 16:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ม.ค.--เจดับบลิว พับบลิค รีเลชั่น
ประวัติความเป็นมาของโครงการสารานุกรมไทยฯ
1. สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรารภกับอาจารย์ (ท่านประธาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจนกระทั่งปี พ.ศ.2511 จึงมีคณะกรรมการเข้าเฝ้าที่วังสวนจิตรลดาเป็นครั้งแรก ต่อมาปี พ.ศ.2512 จึงมีการพิจารณาเรื่องการทำสารานุกรมไทยฯ เล่มตัวอย่างขึ้น
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้มีสารานุกรมไทยที่คนไทยทำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้หาความรู้พื้นฐานในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่างๆ เป็นสามระดับด้วยกันคือ เด็กรุ่นเล็ก อ่านเข้าใจระดับหนึ่ง เด็กรุ่นกลางระดับหนึ่ง และเด็กรุ่นใหญ่รวมทั้งผู้ใหญ่ผู้สนใจอีกระดับหนึ่ง การเขียนบทความแต่ละเรื่อง จึงได้เขียนขึ้นให้ได้ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนแต่ละรุ่น และพิมพ์ไว้โดยใช้อักษรขนาดต่างๆ กัน แต่ละเรื่องตั้งต้นด้วยเรื่องสำหรับเด็กรุ่นเล็กก่อน ถัดไปสำหรับเด็ก รุ่นกลางแล้วจึงเป็นเรื่องสำหรับระดับรุ่นใหญ่
ส่วนเรื่องทุนในการจัดทำหนังสือนี้ คณะไลออนส์แห่งประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือจัดหาทุน โดยการถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้โครงการฯ นี้สำเร็จลุล่วงไปตามพระราชประสงค์
2. เมื่อเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ.2512 ก็ได้มีการเชิญคณาจารย์และผู้รู้ในสาขาวิชาต่างๆ 7 สาขาวิชาคือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์ มาเป็นกรรมการประสานงานเพื่อจัดทำสารานุกรมไทยฯ โดยมีการร่วมมือจากวิทยากรในสาขาวิชานั้นตลอดจนกรรมการฝ่ายต่างๆ อีกมากมาย เช่น ฝ่ายศิลป์, ฝ่ายภาษา, ฝ่ายการพิมพ์ เป็นต้น จนกระทั่งสารานุกรมไทยฯ เล่มที่ 1 ได้จัดพิมพ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2516 เป็นจำนวนหมื่นเล่ม และครึ่งหนึ่งของจำนวนพิมพ์ได้นำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่โรงเรียนและห้องสมุดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรต่อไป ส่วนจำนวนที่เหลือก็ได้นำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของวิชาต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ได้แก่ เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
1. หนังสือสารานุกรมไทยเล่มที่ 1-31
เล่มที่ 1 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2516 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
ดางอาทิตย์ อุปราคา ท้องฟ้ากลางคืน นก ปลา เครื่องจักรกล พลังงาน อากาศยาน และดนตรีไทย
เล่มที่ 2 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2518 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
การจำแนกและจัดลำดับหมวดหมู่ของสัตว์ เวลา บรรยากาศ การตรวจอากาศ อุตสาหกรรม อุปกรณ์ขยายขอบเขต ของสัมผัส มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย การศึกษา กรุงเทพมหานคร และ ตราไปรษณียากรไทย
เล่มที่ 3 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2520 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย ยางพารา ทรัพยากรป่าไม้ ผลิตผลป่าไม้ การทำไม้ วัชพืช วัวควาย และช้าง
เล่มที่ 4 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2521 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต การหายใจ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย ไวรัส ปรากฏการณ์ของอากาศ ภูมิอากาศ รถไฟ การศาสนา การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ และ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
เล่มที่ 5 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2523 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
ผัก ผลไม้ อ้อย มันสำปะหลัง พืชหัว การขยายพันธุ์พืช เป็ดไก่ และพันธุ์ไม้ป่า
เล่มที่ 6 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2525 มีทั้งหมด 15 เรื่อง คือ
คณิตศาสตร์เบื้องต้น ประวัติและพัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน เซต ตรรกวิทยา ฟังก์ชัน สมการและอสมการ จุด เส้น และผิวโค้ง ระยะทาง พื้นที่ ปริมาตร สถิติ ความน่าจะเป็น เมตริก กราฟ และคณิตศาสตร์ ธรรมชาติและศิลปะ
เล่มที่ 7 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2525 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
กล้วยไม้ ผีเสื้อในประเทศไทย การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โรคพืช ครั่ง การเลี้ยงปลา การชลประทาน บ้านเรือนของเรา และโทรคมนาคม (ภาคแรก)
เล่มที่ 8 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2526 มีทั้งหมด 7 เรื่อง คือ
ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา การกำเนิดของโรค การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์และวิสัญญีวิทยา เลือดและธนาคารเลือดในประเทศไทย และอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล
เล่มที่ 9 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2528 มีทั้งหมด 13 เรื่อง คือ
เรื่องของยา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา วิธีการทางการแพทย์ในการควบคุมการเจริญพันธุ์ การทำแท้ง การสาธารณสุข โรคมะเร็ง รังสีวิทยา ฟันและเหงือกของเรา เวชศาสตร์ชันสูตร เวชศาสตร์ฟื้นฟู นิติเวชศาสตร์ โภชนาการ และยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
เล่มที่ 10 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2530 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
โรคทางอายุรศาสตร์ โรคติดต่อและโรคเขตร้อน โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังที่พบบ่อยในประเทศไทย โรคตา โรคหู คอ จมูก จิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และ การปลูกกระดูกข้ามคน
เล่มที่ 11 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2531 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ระบบการสั่งงานของคอมพิวเตอร์ การประยุกต์คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ และ พัฒนาการอักษรไทยในเครื่องคอมพิวเตอร์
เล่มที่ 12 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2531 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
การแพทย์ การศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง การพัฒนาการเกษตรในชนบท การศึกษาการพัฒนา การสหกรณ์ การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาปัจจัยการผลิต และ แผนที่
เล่มที่ 13 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2532 มีทั้งหมด 11 เรื่อง คือ
เรือนไทย ชีวิตชนบท หัตกรรมพื้นบ้าน จิตรกรรมไทย นาฏศิลป์ไทย ตุ๊กตาไทย การละเล่นของไทย อาหารไทย การประดิษฐ์ผักและผลไม้ การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และ ธนาคาร
เล่มที่ 14 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2533 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
พระราชวังในกรุงเทพมหานคร พระราชวังในส่วนภูมิภาค ประติมากรรมไทย อาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ การปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่าง เทคโนโลยีชีวภาพ สารพิษและสิ่งปนเปื้อนอาหาร และ สมุนไพร
เล่มที่ 15 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2534 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
ผึ้ง การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ยาสูบ ไม้สัก ผ้าไทย ชุมชนโบราณในเมืองไทยจากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ น้ำเสีย ขยะมูลฝอย มลพิษทางอากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล
เล่มที่ 16 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2535 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระไตรปิฎกและการชำระพระไตรปิฏก การอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ศิลาจารึก และการอ่านจารึก สังคมและวัฒนธรรมไทย การผลิตหนังสือ การดนตรีสำหรับเยาวชน การช่างและหมู่บ้านช่าง ดาวเทียมเพื่อการเกษตร และ การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการทางด้านการศึกษา
เล่มที่ 17 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2536 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
ช้างเผือก ฉันทลักษณ์ไทย ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต โรคตับอักเสบจากไวรัส ของเสียที่เป็นอันตราย การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ปอแก้วปอกระเจา พืชเส้นใย การปรับปรุงพันธุ์พืช และข้าวสาลี
เล่มที่ 18 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2537 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ การแต่งกายของคนไทย กฎหมายกับสังคมไทย ประวัติการพิมพ์ไทย ภาษาและอักษรไทย ยาฆ่าแมลง ดินและปุ๋ย การเลี้ยงหมู และระบบการค้าผลิตผลการเกษตร
เล่มที่ 19 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2538 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พืชน้ำมัน การถนอมผลิตผลการเกษตร ม้า แมลง เครื่องมือ ทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ศิลปะการนับเบื้องต้น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และสารกึ่งตัวน้ำ
เล่มที่ 20 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2538 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
ศาสนาและระบบความเชื่อในประเทศไทย ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทส จิตรกรรมไทยแบบประเพณี เสียงและมลภาวะทางเสียง เลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อัญมณี เวชศาสตร์การบิน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ และการปลูกถ่ายอวัยวะ
เล่มที่ 21 พิมพ์ขึ้นใน พ.ส.2539 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
ขบวนพยุหยาตรา วีรสตรีไทย ศิลปะการทอผ้าไทย เครื่องถม เครื่องปั้น การตลาดและการส่งออกศิลปหัตถกรรม พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และ องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ
เล่มที่ 22 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2540 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
ภาษาศาสตร์ เครื่องถ้วยไทย เครื่องจักสาน ไม้ดอกหอมของไทย เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร อาชีวอนามัย ครอบครัวไทย สัตว์ทะเลหน้าดิน และ ท่าอากาศยาน
เล่มที่ 23 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2541 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ
ภูมิปัญญาไทย วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) การละเล่นพื้นเมือง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย ชาติพันธุ์ เฟิร์นไทย ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน 1) การทำงานใต้น้ำ ระบบวิทยุ และ การผลิตเบียร์
เล่มที่ 24 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2542 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
วรรณคดีมรดก ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน 2) เมืองหลวงเก่าของไทย การผลิตรถยนต์ การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ปิโตเลียมและการผลิต โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ และ แผนพัฒนาประเทศ
เล่มที่ 25 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2544 มีทั้งหมด 8 เรื่อง คือ
ซอฟต์แวร์พื้นฐานสำหรับสำนักงาน ระบบฐานข้อมูล วิวัฒนาการของไมโครคอมพิวเตอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ โครงข่ายประสาทเทียม อินเทอร์เน็ต การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ และ แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในต้นศตวรรษที่ 21
เล่มที่ 26 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2545 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
นิทานพื้นบ้านไทย ห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทย ชุมชน การใช้สื่อประสมส่งเสริมการศึกษา เชื้อเพลิง ยานยนต์ และ สิ่งแวดล้อม การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน และ หอยเป๋าฮื้อ
เล่มที่ 27 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2546 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
ลิเก การบริหารราชการแผ่นดิน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เทคนิคการผลิตไม้ผลนอกฤดู ไฮโดรพอนิกส์ พิษภัยของแอลกอฮอล์ ผู้สูงอายุ พลังงานนิวเคลียร์ และ การปฏิวัติทางพันธุกรรม
เล่มที่ 28 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2547 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
วัดไทย ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ตลาด ทุเรียน เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร พิษภัยของบุหรี่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พลาสติกกับชีวิตในปัจจุบัน และ แผ่นดินไหว
เล่มที่ 29 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2547 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
ศิลปาชีพ พระพุทธรูป การผลิตทองรูปพรรณ อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย สวนพฤกษาศาสตร์ เงินตรา ปลาสวยงาม ธาลัสซีเมีย และ การดูแลสุขภาพที่บ้าน
เล่มที่ 30 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2547 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
ศิลปการเห่เรือ หอพระไตรปิฎก ปราสาทขอมในประเทศไทย กฎหมายตราสามดวง ไม้ดอกหอมของไทย กล้วย ปลากัด คลื่นสึนามิ และ วัสดุการแพทย์
เล่มที่ 31 พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2549 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ
ตู้พระธรรม วัดญวนในประเทศไทย วรรณคดีท้องถิ่น พรรคการเมืองไทย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย ดาวหาง ระบบสุริยะ และ อัลไซเมอร์
2. หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษา
พิมพ์ขึ้นในพ.ศ.2542 มีทั้งหมด 60 เรื่อง โดยแบ่งเป็น 9 หมวด คือ
หมวดที่ 1 พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญ
หมวดที่ 2 พระราชวงศ์
หมวดที่ 3 องค์กรและส่วนราชการ
หมวดที่ 4 มูลนิธิ ทุน รางวัล และโรงเรียน
หมวดที่ 5 พระราชสถานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
หมวดที่ 6 ราชธรรมและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา
หมวดที่ 7 พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน
หมวดที่ 8 พระบรมราชสัญลักษณ์และเรื่องราวเกี่ยวข้อง
หมวดที่ 9 เบ็ดเตล็ด
3. หนังสือสารานุกรมไทยฉบับเสริมการเรียนรู้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ