ทีมหุ่นยนต์พลาสมา-ซีครองแชมป์ ในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2550 รอบชิงชนะเลิศ

ข่าวกีฬา Wednesday January 31, 2007 12:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ม.ค.--ซีเกท เทคโนโลยี
ทีมหุ่นยนต์พลาสมา-ซีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองแชมป์ในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2550 ซึ่งจัดโดย สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โดยทีมชนะเลิศ ได้รับรางวัลเงินสด 200,000 บาท และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก (World Robocup 2007) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กลางปีนี้
ทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศซึ่งเป็นรางวัลเงินสด 50,000 บาท ได้แก่ทีมไข่นุ้ยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม Scuba จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมซึ่งเป็นรางวัลเงินสด 30,000 บาทได้แก่ทีมไข่นุ้ยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลขวัญใจประชาชน ซึ่งเป็นรางวัลเงินสด 10,000 บาทได้แก่ทีมไข่นุ้ยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2550 รอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะต้องประดิษฐ์ หุ่นยนต์ขนาดเล็ก จำนวนไม่เกิน 5 ตัวเพื่อแข่งขันฟุตบอลภายในระยะเวลา 20 นาที แบ่งเป็นครึ่งแรก 10 นาที และ ครึ่งหลัง 10 นาที ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ
วัตถุประสงค์หลักของการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยคือการพัฒนาความรู้และความ
สนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนิสิตและนักศึกษาไทย เพื่อให้พวกเขามีความชำนาญพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับความสำเร็จ ในการทำงานของพวกเขาในอนาคต
รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย กล่าวว่า “การแข่งขัน ฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย เน้นหนักในการพัฒนาความชำนาญในการทำงานเป็นทีมของนิสิตนักศึกษา การทำงาน เป็นทีมซึ่งทำให้นิสิตนักศึกษาเหล่านี้เรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันและ ริเริ่มสร้างสรรค์ แนวทางแก้ไข ปัญหาที่ท้าทายต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญในโลกของการทำงานในภาคอุตสาหกรรม”
“ สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุม การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2550 ครั้งนี้ ถือว่าเป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนานักศึกษาให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ และการนำความรู้ มาใช้เพื่อการปฏิบัติจริง ทั้งนี้มีรากฐานมาจากการที่มหาวิทยาลัยได้จัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์นวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์อันใกล้นี้ เพราะผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ของประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป”, รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาย ธนวเสถียร คณบดีคณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม กล่าวเสริม
นายเจฟฟรีย์ ดี ไนการ์ด รองประธาน ฝ่ายปฏิบัติการประเทศไทย บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ บริษัทซีเกทในฐานะผู้สนับสนุนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และคณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยในปีนี้ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ทุกๆทีมได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่ได้จากการเรียนรู้ในแต่ละปีนำมาซึ่งการปรับและพัฒนาสมรรถนะของหุ่นยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจะเป็นความภูมิใจของเขาตลอดไป
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมหุ่นยนต์อันประกอบไปด้วย นักวิชาการ นักวิจัย และนักอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจในวิทยาการด้านหุ่นยนต์ จัดกิจกรรมการปฏิบัติงานทางวิชาการ เพื่อพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ เป็นศูนย์กลางทางด้านข่าวสารในวิทยาการใหม่ ๆ ของหุ่นยนต์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศและสร้างเครือข่ายนักวิจัยและวิชาการเพื่อส่งเสริมการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาหุ่นยนต์และวิศวกรรมอัตโนมัติ ท่านสามารถติดต่อสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยได้ที่ โทร. 0-2218-6956 หรือเว็บไซต์ www.trs.or.th
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระราชทานนาม “ศรีปทุม” พร้อมความหมายว่า “เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว” และเป็นสถาบันอุดม ศึกษา เอกชน หนึ่งในห้าแห่งแรกของประเทศไทย ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 โดย ดร. สุข พุคยาภรณ์ ผู้ที่มีความเชื่อว่า การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ
มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ปฏิบัติพันธกิจหลัก 4 ประการของสถาบันอุดมศึกษา คือ การสอน การวิจัย การ ให้บริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้อย่างครบถ้วน ปัจจุบัน มหาวิทยาลัย ศรีปทุม เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีปณิธานที่จะสร้างบัณฑิตศรีปทุม ให้เป็นผู้กอปรด้วย “ปัญญา ความเชี่ยวชาญ ความเบิกบาน และคุณธรรม” ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดให้บริการ 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตพญาไท และวิทยาเขตชลบุรี
บริษัทซีเกท
ซีเกทคือผู้นำทั่วโลกในการออกแบบ การผลิตและการตลาดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อัน หลากหลาย สำหรับองค์กร เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Mobile Computing) และอุปกรณ์ อุปโภคบริโภค (Consumer Electronics) รูปแบบการดำเนินธุรกิจของซีเกทช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางด้าน เทคโนโลยีและการผลิตระดับโลกเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณภาพ ในระดับชั้นนำ ของอุตสาหกรรมไปยังลูกค้าทั่วโลก รวมทั้งเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำในตลาดทั้งหมดที่เรามีส่วนร่วม บริษัทมีความมุ่งมั่น ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลและมีคุณภาพดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการบันทึกข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาในโลก ท่านสามารถพบซีเกทได้ทั่วโลกและพบข้อมูลซีเกทที่ www.seagate.com
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย โทร. 0-2218-6982 และ 0-2218-6956 นางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-2715-2919
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ