สาเหตุของความแก่ชรา แล้วจะทำอย่างไรให้แก่ชราช้าที่สุด

ข่าวทั่วไป Wednesday June 29, 2011 16:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 มิ.ย.--พรวิมล เอสเทธิค เมื่อพูดถึงความแก่ความชรา (Theories of aging) ขึ้นมา คงไม่มีใครอยากที่จะพบเจอกันสักเท่าไหร่ แต่เนื่องจากวัตรจักรเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนมีกันทุกคน แต่เอเราจะทำอย่างไร ให้เราแก่ช้าลง หรือมีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ชราหรือแก่ลงไป เราจะได้หลีกเลี่ยงกัน วันนี้เรามีผู้เชี่ยวชาเฉพาะสาขาด้าน Anti-Aging คุณหมอลลิตา นรเพชร หรือที่เคยรู้จักกันในนาม คุณหมอพรวิมล นรเพชร กรรมการผู้จัดการพรวิมล เอสเทธิค มาตอบปัญหานี้ชัดๆ กันค่ะ ในปัจจุบันมีอยู่ 4 ทฤษฎี ที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวางได้แก่ 1. ใช้มาก-เสื่อมมาก (wear & tear theory) 2. ฮอร์โมนเสื่อมถอย (Neuro-endocrine theory) 3. พันธุกรรมบังคับ (Genetic control theory) 4. อนุมูลอิสระ (Free radical theory) ใช้มากเสื่อมมาก (wear & tear theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่าความชราเกิดจากการใช้ร่างกายอย่างหนัก (overuse) หรือใช้ผิดวิธี (abuse) ถูกทำร้ายจากสารพิษในอาหารและสิ่งแวดล้อม (damaged by diet toxin and environment) ถูกทำร้ายจากรังสี UV ความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ การบริโภคไขมัน น้ำตาล แอลกอฮอลล์ คาเฟอีน นิโคติน และความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองลดลง เมื่อร่างกายมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นจากสารพิษในอาหารสิ่งแวดล้อม เชื้อแบคทีเรีย และ ไวรัส การให้สารอาหารทดแทน (Nutrition supplement) สามารถช่วยฟื้นฟู และกระตุ้นให้ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองดีขึ้นได้ ฮอร์โมนเสื่อมถอย (Neuro-endocrine theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่าเมื่ออายุมากขึ้นปริมาณฮอร์โมนในร่างกายจะเริ่มลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการซ่อมแซม และการควบคุมระบบในร่างกายเสื่อมถอยลงตามไปด้วย พันธุกรรมบังคับ (Genetic control theory) ที่ว่าบังคับก็เพราะทฤษฎีนี้กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมพันธุกรรมที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ในสายพันธุกรรม (DNA) anti-aging มีบทบาทในการป้องกัน DNA ไม่ใช่ถูกทำลายรวมทั้งเพิ่มความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองให้กับ DNA ด้วย อนุมูลอิสระ (Free radical theory) อนุมูลอิสระมีความสำคัญมากในการทำให้เกิดความชรา ด้วยการทำลายโครงสร้างของเซลล์ และเกิดการสะสมของเสียจากเซลล์ที่พบได้บ่อยคือ lipofuscin ซึ่งเมื่อสะสมมาก ๆ จะแสดงออกมาเป็น age spots (จุดดำที่เกิดจากความชรา) นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังก่อให้เกิดการทำลายสารพันธุกรรม (ก่อมะเร็งได้) และเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) โรคที่เกี่ยวเนื่องกับอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบาหวาน (Diabetes mellitus) ความดันโลหิตสูง (Hypertension) อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) พาร์กินสัน (Parkinson) มะเร็ง (Cancer) หลอดเลือดเสื่อม (Atherosclerosis) ต้อกระจก (Cataract) ทำไม่เราต้องทานสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) เพราะในกระบวนการสร้างพลังงานให้กับร่างกายทุกครั้งจะมีการสร้างอนุมูลอิสระ ซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากเราละเลยในการเสริม antioxidant เป็นประจำทุกวัน ก็เท่ากับว่าเรายอมจำนนต่ออนุมูลอิสระไปโดยปริยาย แหมเห็นบางอย่างก็หลีกเลี่ยงได้ แต่บางอย่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วอย่างนี้จะมีวิธีใดบ้างค่ะ ที่จะช่วยทำให้ร่างกายเราแก่ช้าลงไปอีก “สามารถ Supprement ตัวเราเองได้ค่ะ หลักๆ จะเป็นอาหารกลุ่มวิตามิน C (1000-3000 mg) วิตามิน A(400 IU) Fish Oil CoQ10 การรักษาแบบนี้ยังไม่แพร่หลาย แต่ส่วนตัวหมอเองคิดว่าได้ผลมากๆ สำหรับคนพักผ่อนน้อยหรือทานอาหารไม่ครบหลัก 5 หมู่ ก็อยากจะให้ทุกคนดูแลตัวเองค่ะ เพราะปัจจุบันสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีค่อนข้างเยอะ พยายามสังเกตตัวเราเองเสมอๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ” ต้องขอขอบคุณคุณหมอลลิตา นรเพชร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ พอได้ข้อมูลจากคุณหมอแล้ววันนี้ดิฉันต้องเริ่มหันกลับมาดูแลตัวเองแล้วล่ะค่ะ จะได้ไม่แก่ ข้อมูลจาก คุณหมอลลิตา นรเพชร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ กรรมการผู้จัดการพรวิมล เอสเทธิค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พรวิมล เอสเทธิค Call Center 086-187-187-0

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ