สสวท.จัด กิจกรรมเสวนาแนวทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศอย่างมีความสุข (Happy Education For Excellence)

ข่าวทั่วไป Monday July 11, 2011 13:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--สสวท. ประเด็นปัญหา ปัญหาความตกต่ำของการศึกษาไทยเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากในสังคมไทย เพราะระบบการศึกษาเป็นพื้นฐานการพัฒนาชาติ ระบบการศึกษาที่ตกต่ำ ส่งผลโดยตรงต่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาไทยมากหลายครั้ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับแสดงให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม(การประเมิน PISA ครั้งล่าสุด) สวนทางกับงบประมาณมหาศาลที่ทุ่มเทลงไป สาเหตุสำคัญของความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยเป็นสิ่งที่ต้องออกมาหาคำตอบ และทางออกอย่างจริงจัง การจัดการศึกษาของสหราชอาณาจักรฯ (ประเทศอังกฤษ) ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ว่าเป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เขาทำงานกันอย่างไร โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ที่ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของอังกฤษ ได้ทำในสิ่งที่ดีที่สุดแล้วหรือไม่ (หรือแหกตาอยู่) มุมมองการศึกษาไทยผ่านระบบการศึกษาของอังกฤษ ดูเหมือนจะไร้ทางเยียวยา จริงหรือไม่ หรือเราพอที่จะลืมตาอ้าปากได้บ้าง? การลดระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างสรรค์ หรือทำลาย รัฐบาล ข้าราชการ และ นักการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เป็นสาเหตุหลักของความล้มเหลวของชาติในครั้งนี้หรือไม่ ต้นตอที่แท้จริงของปัญหาคืออะไร? ทางออกควรเป็นเช่นไร? ร่วมกันออกความเห็นได้ในงานเสวนาในครั้งนี้ วัตถุประสงค์กิจกรรม วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมการเสวนาแนวทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศอย่างมีความสุข (HAPPY EDUCATION FOR E EXCELLENCE) คือ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระบบการศึกษาที่แท้จริงของประเทศอังกฤษให้สังคมได้รับรู้ ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างสมดุลระหว่างความสุขในการเรียนและความเป็นเลิศในการศึกษา โดยเน้นให้นักเรียนค้นหารู้จักตัวเอง และทำในสิ่งที่ตนเองรัก ชอบ ถนัด และ มีตวามสุข โดยกิจกรรมเสวนาจะมุ่งสร้างความเข้าที่ถูกต้องของรายละเอียดมาตรฐานการศึกษาในระบบอังกฤษเปรียบเทียบกับหลักสูตรไทย รวมทั้งรายละเอียดกระบวนการจัดการการศึกษาในระบบอังกฤษที่อาจดูผิวเผินเหมือนเป็นเพียงส่วนปลีกย่อย แต่แท้จริงมีส่วนสำคัญในการมุ่งเป้าให้สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา ให้โอกาสพ่อแม่ที่มีลูกเรียนอยู่ในระบบนานาชาติ และสังคม ได้รู้และเข้าการศึกษาที่แท้จริงของประเทศอังกฤษ รวมถึงโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบอังกฤษ ในประเทศไทยด้วย เพื่อจักได้ผลักดันไปในทางที่ถูกต้อง และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยตัวแทนของโรงเรียนอันดับหนึ่งของปี 2554 และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก 2554) สุดท้ายด้วย การระดมความคิดเห็นเพื่อหาจุดเริ่มต้น และกำหนดทางออกทางการศึกษาของประเทศไทยในแบบอย่างที่มันควรจะเป็น โดยไม่ให้มีผลประโยชนืแอบแฝงใดๆ มาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการตอบสนองแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของเราชาวไทยทุกคน รูปแบบการดำเนินการ การเผยแพร่ความรู้จะทำใน 3 ลักษณะ - บรรยาย "มุมมองการศึกษาไทยไทยผ่านระบบการศึกษาของอังกฤษ" จากสื่อหนังสือ สอวน.“ฤา การศึกษาไทยจะไร้ทางเยียวยา” - การฟังการบรรยายภาคภาษาอังกฤษเป็นประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญ - การเสวนาภาคภาษาไทยเพื่อเสนอประเด็นปัญหาและหาทางออก การจัดงาน วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 สถานที่ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ ถนนราชดำริ กรุงเทพมหานคร เวลา กิจกรรม 10.00 — 12.00 การเสวนา“ฤา การศึกษาไทยจะไร้ทางเยียวยา” 12.00 — 13.00 อาหารกลางวัน 13.00 — 14.00 การบรรยาย(ภาษาอังกฤษ) - การบริหารจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับ A-level อันดับหนึ่งของประเทศอังกฤษ วิทยากรYasmin A. Sarwar 14.00 — 15.00 การบรรยาย(ภาษาอังกฤษ) - หลักการจัดการศึกษา และ การคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย Cambridge โดย Danielian Loftus 15.30 — 16.30 เสวนา หาจุดเริ่มต้น และกำหนดหนทางแก้ปัญหาการศึกษาไทย เพื่อนำสู่สาธารณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย - นักวิชาการและผู้บริหารด้านการศึกษา - นักข่าวด้านการศึกษา - กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ และทั่วไปที่สนใจ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - สร้างความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาอังกฤษและความแตกต่างจากการศึกษาไทยในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการศึกษา - ทราบถึงมาตรฐานและแนวทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศอย่างมีความสุข ซึ่งอาจจะนำไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรมต่อไป เช่น การดำเนินงานโรงเรียนเตรียมความพร้อมในประเทศสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ - ผู้ปกครองทราบถึงการเตรียมบุตรหลานสำหรับระบบการศึกษาคุณภาพสูง และสำรวจดูแนวโน้มการตอบรับและความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อระบบนี้ - ทางออกที่ดีของระบบการศึกษา ของประเทศ อย่างมีเหตุและมีผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิ สอวน. สสวท. สพฐ.
แท็ก ทศชาติ   สสวท.   APP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ