เทรนด์ ไมโคร แนะนำเคล็ดลับความปลอดภัยในการให้ข้อมูลทางออนไลน์

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday July 20, 2011 15:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--คอร์ แอนด์ พีค โรเบิร์ต แมคอาร์เดล นักวิจัยอาวุโสด้านภัยคุกคาม ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมาถ้าคุณไม่เคยกังวลเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล คุณควรเริ่มกังวลได้แล้วในตอนนี้ เพราะดูเหมือนว่าปัญหาเกี่ยวกับการรั่วไหลของข้อมูลกำลังขยายตัวไปอย่างมาก จริงๆ แล้วในโลกแห่งอุดมคติ เว็บไซต์และองค์กรต่างๆ ควรจะรักษาข้อมูลของเราได้ แต่เนื่องจากเรายังไม่ได้อยู่ในโลกที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นเราจึงต้องจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้านี้ให้ได้ก่อน” โชคไม่ดีนักที่คำแนะนำส่วนใหญ่มักจะ "ให้คุณระแวดระวังในสิ่งคุณดำเนินการอยู่แล้ว" ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เมื่อข้อมูลของคุณถูกขโมย ข้อมูลเหล่านั้นจะแพร่กระจายพร้อมให้วายร้ายออนไลน์นำไปใช้ประโยชน์ได้ คุณอาจไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหาในทันที เว้นแต่ว่าข้อมูลที่รั่วไหลออกไปนั้นจะเป็นข้อมูลทางการเงิน แต่โดยส่วนตัวผมก็ยังไม่อยากจะให้ที่อยู่อีเมลของผมไปอยู่ในสมุดที่อยู่ของกลุ่มเพื่อนออนไลน์ด้วย ซ้ำไป สิ่งสำคัญก็คือ ทุกคนออนไลน์หมด ซึ่งรวมถึงตัวคุณ ตัวผม และผู้อ่านทั้งหลาย ดังนั้นทุกคนจึงต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลของตนให้ได้ ขณะนี้มีเว็บไซต์หลายแห่งทำการร้องขอข้อมูลมากจนเกินเหตุ โดยที่ตัว คุณเองก็อาจไม่ต้องการให้ไซต์เหล่านั้นรู้ก็ได้ ถามจริงๆ ว่าจำเป็นไหมที่คุณต้องบอกจำนวนเงินที่คุณหาได้บนกระดานข้อความให้คนอื่นทราบ หรือธุรกิจประเภทใดที่คุณกำลังทำงานอยู่ รวมทั้งคุณเกิดวันที่เท่าใด คำถามต่อมาก็คือ เมื่อใดที่คุณควรให้ข้อมูลจริงออกไป ถ้าบางสิ่งเกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ (เช่น การซื้อหรือขายสิ่งของบางอย่าง) ก็อาจไม่ใช่เวลาที่จะต้องมานั่งโกหกกัน หรือในกรณีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐหรือกลุ่มอื่นใดก็ตามที่อาจสร้างผลกระทบที่สำคัญตามมาหากคุณได้ให้ข้อมูลที่ผิดๆ หรือ "โกหก" ซึ่งนั่นก็ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย เช่น การเข้าร่วมในกระดานข้อความ คุณอาจต้องพิจารณา "โกหก" หรือให้ข้อมูลเท็จไป สาเหตุก็เพราะข้อมูลที่แท้จริงของคุณนั้นมีค่าเกินกว่าที่คุณจะยื่นให้กับใครแบบง่ายๆ เพราะอาจถูกนำไปใช้เพื่อการทำตลาดและการโฆษณาใดๆ ก็ได้ ส่วนหนึ่งที่คุณไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลจริงก็คือ คำถามในการกู้คืนรหัสผ่านที่ไซต์ยอดนิยมหลายแห่งมักจะใช้กัน บางไซต์อาจบังคับให้คุณเลือกคำถามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น "สัตว์เลี้ยงของคุณชื่ออะไร" แต่แย่อย่างมากตรงที่ข้อมูลในลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะไปปรากฏอยู่บนไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ และเทคนิคนี้ก็ถูกนำไปใช้ในการเจาะระบบอีเมลยาฮูของซาราห์ พาลิน อดีตผู้ว่าการรัฐอลาสกาและผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี 2551 สำเร็จมาแล้วด้วย จะเป็นการดีกว่าไหมที่จะสร้างรหัสผ่านฉุกเฉินแบบสุ่มขึ้นมาใช้แทน โดยที่คุณสามารถจัดเก็บรหัสผ่านนั้นไว้ที่ใดก็ได้สักแห่งที่ปลอดภัย อย่างเช่น ในลิ้นชัก และให้ใช้รหัสผ่านฉุกเฉินนี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามในการกู้คืนรหัสผ่าน สิ่งนี้จะทำให้แน่ใจได้ว่า คำตอบที่ "ถูกต้อง" สำหรับคำถามในการกู้คืนรหัสผ่านของคุณจะไม่เคยปรากฏอยู่บนโลกออนไลน์ และไม่สามารพบได้ด้วยเครื่องมือค้นหาต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เทรนด์ ไมโคร แนะนำเคล็ดลับเพื่อความปลอดภัยในการให้ข้อมูลทางออนไลน์ ดังนี้ อาชญากรไซเบอร์ไม่สามารถขโมยสิ่งที่คุณไม่ได้ให้ไว้บนเว็บไซต์ได้ ดังนั้นถ้าช่องให้ใส่ข้อมูลบนเว็บมีระบุไว้ว่า "ใส่หรือไม่ก็ได้" (optional) คุณก็ไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลใส่ลงไปก่อนที่จะให้ข้อมูลของคุณ ขอให้พิจารณาว่าสิ่งที่คุณกำลังแลกเปลี่ยนด้วยนั้นมีค่าอันสมควรหรือไม่ถ้ามีค่า ก็ให้พิจารณาอีกว่าคุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด (และตามความเป็นจริง) ของคุณหรือไม่ ลองพิจารณาใช้ข้อมูลส่วนตัวที่แต่งขึ้นมาใหม่แทนจะดีกว่าในกรณีที่มีเรื่องเงินๆ ทองๆ มาเกี่ยวข้อง ให้ใส่ใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการให้ข้อมูลของคุณด้วย# # สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ชญาพัฒน์ สนธิกร โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8202 อีเมล chayapats@corepeak.com
แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ