ปภ. รายงานอิทธิพลของนกเตน ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 30 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 16 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 14 จังหวัด

ข่าวทั่วไป Monday August 22, 2011 14:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 30 จังหวัด 283 อำเภอ 1,879 ตำบล 15,274 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 940,961 ครัวเรือน 3,484,587 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 489 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,939,147 ไร่ ผู้เสียชีวิต 37 ราย ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 16 จังหวัด ได้แก่ น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 14 จังหวัด 90 อำเภอ 614 ตำบล 4,642 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 379,274 ครัวเรือน 1,142,712 คน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 30 จังหวัด 283 อำเภอ 1,879 ตำบล 15,274 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 940,961 ครัวเรือน 3,484,587 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 489 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,939,147 ไร่ ถนน 5,405 สาย ท่อระบายน้ำ 675 แห่ง ฝาย 605 แห่ง ทำนบ 123 แห่ง สะพาน 438 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 22,422 บ่อ ปศุสัตว์ 162,721 ตัว ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชรนครสวรรค์ นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชานี อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และชัยนาท ผู้เสียชีวิต 37 ราย ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 16 จังหวัด ได้แก่ น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 14 จังหวัด90 อำเภอ 614 ตำบล 4,642 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 379,274 ครัวเรือน 1,142,712 คน สุโขทัย น้ำท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ 82 ตำบล 616 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 40,011 ครัวเรือน 118,920 คนพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 299,747 ไร่ ผู้เสียชีวิต 6 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 อำเภอ 18 ตำบล 126 หมู่บ้าน ได้แก่อำเภอเมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ พิจิตร น้ำในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่านไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 9 อำเภอ 55 ตำบล 302 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 21,162 ครัวเรือน 63,486 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 126,683 ไร่ ผู้เสียชีวิต 3 ราย ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 8 อำเภอ 51 ตำบล 296 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองพิจิตร สามง่าม บึงนาราง โพทะเล โพธิ์ประทับช้าง วชิรบารมี ตะพานหิน และบางมูลนาก พิษณุโลก น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 7 อำเภอ 67 ตำบล 434 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 12,476 ครัวเรือน 46,171 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 157,969 ไร่ ผู้เสียชีวิต 2 ราย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ 35 ตำบล 264 หมู่บ้านได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก บางระกำ และพรหมพิราม กำแพงเพชร น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 30 ตำบล 304 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 17,785 ครัวเรือน 57,110 คน ได้แก่อำเภอคลองลาน ขาณุวรลักษบุรี บึงสามัคคี ลานกระบือ ปางศิลาทอง ทรายทองวัฒนา และไทรงาม เพรชบูรณ์ น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 58 ตำบล 378 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 15,933 ครัวเรือน 95,149 คนพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 11,151 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองเพรชบูรณ์ หล่มสัก หล่มเก่า หนองไผ่ บึงสามพัน วิเชียรบุรี และ เขาค้อ นครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ 26 ตำบล 179 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 10,313 ครัวเรือน 30,076 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 73,501 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ 17 ตำบล 154 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,657 ครัวเรือน 11,352 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ชุมแสง และโกรกพระ อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ 16 ตำบล 43 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 87 ครัวเรือน 261 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ และโพธิ์ทอง พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 85 ตำบล 422 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 11,286 ครัวเรือน 44,314 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 20,621 ไร่ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ผักไห่ บางไทร บางปะอิน เสนา บางบาล และมหาราช ชัยนาท น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอสรรพยา ราษฎรเดือดร้อน 1,731 ครัวเรือน 5,193 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 10,400 ไร่ นครนายก น้ำเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 10 ตำบล 16 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,221 ครัวเรือน 6,807 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 8,687 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก องครักษ์ ปากพลี และบ้านนา อุบลราชธานี น้ำในลำน้ำสาขาแม่มูลและน้ำจากแม่น้ำโขงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 16 อำเภอ 101 ตำบล 772 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 41,311 ครัวเรือน 181,614 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 115,334 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานีโขงเจียม นาตาล โพธิ์ไทร ศรีเมืองใหม่ ตระการพืชผล เดชอุดม เขมราฐ กุดข้าวปุ่น ดอนมดแดง เขื่องใน ม่วงสามสิบวารินชำราบ เหล่าเสือโก้ก สิริธร และตาลสุม ร้อยเอ็ด น้ำท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ 42 ตำบล 494 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 89,068 ครัวเรือน เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่อำเภอเสลภูมิ โพธิ์ชัย หนองพอก โพนทอง และเมยวดี กาฬสินธุ์ น้ำท่วมพื้นที่ 17 อำเภอ 128 ตำบล 1,233 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 108,997 ครัวเรือน 499,552 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 12,152 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ดอนจาน นามน นาคู กุฉินารายณ์ ห้วยเม็ก หนองกรุงศี สมเด็จสามชัย สหัสขันธ์ ยางตลาด เขาวง กมลาไสย ร่องคำ ห้วยผึ้ง ท่าคันโท และคำม่วง ปราจีนบุรี น้ำท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ 20 ตำบล 120 หมู่บ้าน 5 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 2,304 ครัวเรือน 3,933 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 2,172 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ ประจันตคาม และนาดี นอกจากนี้ ยังได้เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอแม่จัน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน 79 ลำ เรือไฟเบอร์ 90 ลำ พร้อมเครื่องยนต์ 30 เครื่อง ถุงยังชีพ 5,477 ถุง น้ำดื่ม 2,500 ขวด พร้อมเจ้าหน้าที่ 35 นาย สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว พร้อมประสานให้จังหวัดเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ