ศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จัดงานประชุมวิชาการยิ่งใหญ่ระดับชาติ NCEB 2002

ข่าวทั่วไป Friday May 10, 2002 10:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--เบรคธรู พีอาร์
ศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จัดงานประชุมวิชาการยิ่งใหญ่ระดับชาติ The First National Conference on Electronic Business (NCEB 2002) Enlightening : Successful e-Business Model
ศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ เตรียมรับมือกระแส e-business ที่กำลังเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ NECTEC และความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงานประชุมทางวิชาการยิ่งใหญ่ระดับชาติ ครั้งแรกในประเทศไทย NCEB 2002 นำเสนอวิจัยด้าน e-business ที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการและนักธุรกิจ ตลอดจนผู้ประกอบการและนักศึกษา และชี้แนวทางอนาคต e-business เพื่อให้รู้เท่าทันและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชิญชวนกลุ่มนักวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน รีบส่งงานวิจัยด้าน e-business เข้าร่วมนำเสนอ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
ผศ. กิตติ สิริพัลลภ ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ทางศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะจัดงานประชุมวิชาการระดับประเทศ โดยร่วมมือกับ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ECRC), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดงานประชุมวิขาการ ด้าน e-business เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ใช้ชื่องานว่า The First National Conference on Electronic Business (NCEB 2002) - Enlightening : Successful e-business Model งานประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลวิจัยและนิทรรศการ ด้าน e-business ที่มีคุณค่าและเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ให้สามารถรู้เท่าทันและจัดการกับธุรกิจประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่ 24-25 ต.ค. 2545 ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายผู้เข้าร่วมงาน เป็นกลุ่มนักวิชาการ นักธุรกิจ ตัวแทนจากภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ นักวิจัย และนักศึกษา จำนวน 500 คน
วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ เพื่อนำเสนองานวิจัยทางวิชาการด้านธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-business) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีประโยชน์ต่อนักวิชาการ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ และนักศึกษา รวมทั้งต้องการให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจถึงรูปแบบของ e-business ที่ดี และวิธีก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจ e-business อย่างถูกทิศทาง นอกจากนี้ยังเพื่อชี้แนวทางในอนาคตของ e-business ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมและเป็นเครือข่ายของนักวิชาการ นักธุรกิจ ตัวแทนจากภาครัฐ และนักศึกษาในวงการ e-business เพื่อหาแนวทางวิจัยที่เป็นประโยชน์
“เราได้เล็งเห็นความสำคัญขององค์ความรู้และบุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-business) ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักธุรกิจ นักวิจัย ผู้ประกอบการ หรือนักศึกษา กอปรกับเห็นว่า ปัจจุบันมีงานวิจัยทางด้าน e-business หลายชิ้นที่มีประโยชน์และน่าสนใจ แต่ยังไม่มีการนำเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างกว้าขวาง จึงเห็นควร จัดงานประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้นมา รวมทั้งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ไอที เพื่อการดำเนินทางธุรกิจ โดยเห็นด้วยที่จะให้มีการจัดการประชุมวิชาการร่วมกันเป็นประจำทุกปี โดยให้แต่ละมหาวิทยาลัย ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพจัดงานต่อไป”
ผศ. กิตติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการดำเนินธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการ การเงิน สถิติ การตลาด กฎหมาย วิทยาการ คอมพิวเตอร์ และพาณิชย์ศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบัน ได้เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวาง ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วและให้ถูกทิศทางเพื่อให้ทันกับกระแส e-business ที่กำลังเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันและจัดการกับธุรกิจประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“สำหรับงานวิจัยที่จะมานำเสนอในเรื่อง e-business ได้กำหนดหัวข้อใหญ่ 4 หัวข้อ ดังนี้
1. Practices ประกอบด้วยหัวข้อ Best Practices and Case Studies, e-Business Innovatin, e-Government Procurement and Business Practices, Logistics, Electrinic Data Interchange and Paperless Trading etc.
2. Statistics&Assessments ครอบคลุมหัวข้อ e-business Readiness Assessment, Measuring and Monitoring of e-business Development, Economis and Social Impacts of e-business etc.
3. Solution,Tools and Technologies
มีหัวข้อดังนี้
e-business Architecture, Technologies and Protocals, Technical Standard, E-Security, e-Payment Technology etc. 4. Strategies, Policies, Law and Regulation ได้แก่หัวข้อ human Capacity Building Strategies for e-business, International Trade Policy, Legal Infrastructure, Data Privacy etc. ”
เพื่อรวบรวมงานวิจัยด้าน e-business ที่มีคุณค่าและเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์สู่สังคม ทางเราจึงขอเชิญชวน กลุ่มนักวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลงานวิจัยด้าน e-business เข้าร่วมนำเสนอ โดยเปเปอร์ต่าง ๆ ควรจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 15 หน้า กระดาษ A4 ใช้ฟอนท์ Tahoma โดยเปเปอร์ภาษาไทย Heading Font ใช้ขนาด 16 พอยท์ Content Font ใช้ขนาด 12 พอยท์ และเปเปอร์ภาษาอังกฤษ Heading Font ใช้ขนาด 14 พอยท์ Content Font ใช้ขนาด 12 พอยท์ มีบทคัดย่อ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 100 คำ ทั้งนี้ สามารถดูตัวอย่างการจัดรูปเล่มของงานวิจัยได้จากเว็บไซต์ แจ้งความจำนงส่งบทความวิจัยภายใน 30 มิ.ย. และส่งบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ภายใน 23 ก.ค. 45 นี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2623-5657-8 หรือ อีเมล : necb2002@tu.ac.th หรือเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน www.ecommerce.or.th/nceb2002
เสนอข่าวในนาม ศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเบรคธรู พีอาร์
รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
คุณกมลพร สังข์ทอง -- เบรคธรู พีอาร์ โทร. 0-2719-6446-8--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ