อินเทลเน้นย้ำการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรและการสื่อสาร

ข่าวทั่วไป Thursday February 27, 2003 15:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--คาร์ล บายร์
อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม
ผู้บริหารของอินเทล คอร์ปอเรชั่น ต่างเห็นพ้องตรงกันว่า นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรม กำลังผลักดันให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเอ็นเตอร์ไพรซ์และระบบสื่อสาร ลงมาอยู่ในเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์สื่อสารรุ่นยอดนิยมต่างๆ เร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตที่สดใสของอุตสาหกรรมนี้
ไมค์ ฟิสเตอร์ รองประธานอาวุโสของอินเทล และ ฌอน มาโลนีย์ รองประธานบริหารของอินเทล กล่าวต่อวิศวกร นักพัฒนา และนักออกแบบที่เข้าร่วมในงานไอดีเอฟครั้งนี้ ถึงนวัตกรรมต่างๆ เช่น ไว-ไฟ (WiFi) PCI Express ƒ สถาปัตยกรรมอินเทลƒ ไอเทเนียมƒ (Intel ‚ Itanium ƒ architecture) เทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง (Hyper-Threading Technology) และ สถาปัตยกรรม Advanced Telecommunications Computing Architecture (AdvancedTCA) ว่าจะช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นได้อย่างไร เนื่องจากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้มีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นในอนาคต
ฟิสเตอร์ กล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่อุตสาหกรรมหันมาให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีหลักเหล่านี้ ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงกว้าง การนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานที่อินเทลพัฒนาขึ้นนั้น กำลังผลักดันให้เกิดนวัตกรรมอย่างรวดเร็วในแบบที่โครงสร้างแบบอื่นไม่สามารถเทียบได้ ผลที่ได้รับคือ มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดได้เร็วขึ้นแต่มีราคาถูกลง ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้"
นวัตกรรมของอินเทลสำหรับศูนย์ข้อมูลระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์
หนึ่งในนวัตกรรมระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์สำหรับองค์กรที่ฟิสเตอร์นำมาสาธิตต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก ได้แก่ PCI Express โดยรุ่นแรกสามารถทำงานที่ความเร็ว 2.5 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งเทคโนโลยีชนิดนี้จะช่วยให้การสร้างผลิตภัณฑ์ระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่าใช้จ่ายทำได้เร็วขึ้น อินเทลได้วางแผนเกี่ยวกับการสนับสนุน PCI Express ที่ครบถ้วนผ่านชิปเซ็ตเอ็นเตอร์ไพรซ์ของตนซึ่งจะเริ่มจำหน่ายได้ในปี 2547 ในขณะที่ระบบจัดเก็บข้อมูลและอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ PCI Express มีกำหนดออกสู่ตลาดได้ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เช่นกัน ชิปเซ็ตเอ็นเตอร์ไพรซ์ที่จะออกสู่ตลาดในปี 2547 ซึ่งสามารถทำงานกับเทคโนโลยี PCI Express ได้โดยตรง และใช้กับเม็มโมรี DDR2 ได้นี้ จะประกอบด้วยชิปเซ็ตสำหรับ ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี แบบ 4 ทาง (four-way Xeon processor MP chipset) และชิปเซ็ตสำหรับ ซีออน โปรเซสเซอร์ สำหรับเซิร์ฟเวอร์ แบบ 2 ทาง (Xeon processor chipset for two-way server) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะทำให้ชิปเซ็ตระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ของอินเทลเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
PCI Express สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องแบนด์วิธ I/O ภายในองค์กร และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการออกแบบระบบได้ด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะโครงสร้างแบบรวมจะมีการใช้ชิปน้อยลง นอกจากนี้ PCI Express ยังเป็นวิธีการแบบรวมศูนย์เพื่อรองรับเทคโนโลยีการเชื่อมโยงติดต่อภายในองค์กร เช่น InfiniBand และ Ethernet ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ การผสมผสานคุณสมบัติเหล่านี้เข้าด้วยกันจะทำให้ค่าใช้จ่ายของระบบลดลงและทำให้ระบบมีเสถียรภาพดีขึ้นกว่าเดิม
นวัตกรรมใหม่อื่นๆ สำหรับองค์กรประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ในตระกูลซีออนสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นที่ใช้โปรเซสเซอร์คู่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 90 นาโนมิเตอร์ ของอินเทล ภายในปลายปี 2546 อินเทลอยู่ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ ซีออน โปรเซสเซอร์ ซึ่งซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ที่ใช้กับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชันโปรเซสเซอร์คู่ที่มีแคช 1 MB มีกำหนดจะออกสู่ตลาดในไตรมาสที่สามของปี 2546 นี้
ส่วนในปี 2547 อินเทลจะเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์มัลติโปรเซสเซอร์อีกสองรุ่น ซึ่งประกอบด้วย ซีออนโปรเซสเซอร์ เอ็มพี (Xeon Processor MP) ที่มีแคช 4 MB และโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ใช้กระบวนการผลิตแบบ 90 นาโนมิเตอร์ ส่วนแผนงานที่เกี่ยวข้องกับ ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ (Itanium 2 Processor) ประกอบด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นกินไฟต่ำ (Dearfield) ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โปรเซสเซอร์รุ่นนี้จะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับการประมวลผลประสิทธิภาพสูงแบบโปรเซสเซอร์คู่ ซึ่งรองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่นระดับฟร้อนท์เอ็นด์โดยเฉพาะ แต่โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะใช้ไฟน้อยลงครึ่งหนึ่ง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่จะมีตามมาในอนาคตประกอบด้วยไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ที่มีแคช L3 ขนาด 9 MB ในปี 2547 ตามด้วยโปรเซสเซอร์แกนคู่ (Montecito) ใน ปี 2548
ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์สื่อสาร
มร. มาโลนีย์ ได้กล่าวถึงบทบาทของอินเทลในการพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารซึ่งนำมาใช้กับโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของอินเทอร์เน็ตได้ องค์ประกอบพื้นฐานดังกล่าว ประกอบด้วย อุปกรณ์สื่อสารสำหรับใช้ที่บ้านและสำนักงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อและขยายขอบเขตการทำงานของอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ที่ใช้กับออพติคอลแบ็กโบนของอินเทอร์เน็ต
มร. มาโลนีย์ กล่าวต่อไปว่า "อินเทลเป็นผู้ค้ารายใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารที่ใช้กับโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของอินเทอร์เน็ต การทำงานร่วมกับอินเทลและการใช้แพลตฟอร์มสื่อสารที่แบ่งออกเป็นโมดูลจะช่วยทำให้อุตสาหกรรมสามารถพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในบ้านหรือธุรกิจต่างๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง"
นอกจากนี้ อินเทลยังได้เปิดตัวเน็ตเวิร์กโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่อีก 3 รุ่นซึ่งประกอบด้วย อินเทลƒ IXP420, IXP421 และ IXP422 สำหรับใช้งานในบ้านและสำนักงานโดยเฉพาะอีกด้วย เน็ตเวิร์กโปรเซสเซอร์เหล่านี้ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถให้รองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น WiFi เทคโนโลยีไร้สาย ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้ บริษัท ลิงค์ซิส ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่องระบบเครือข่ายสำหรับบ้านและธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางโดยเฉพาะ ได้ประกาศว่าบริษัทฯ จะใช้ชิป IXP422 ในอุปกรณ์ Linksys Wireless Access Points ของตน นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น บรอดแบนด์ รักษาความปลอดภัย วอยซ์โอเวอร์ไอพี สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรมและการพัฒนาหลักๆ เดียวกันกับเน็ตเวิร์กโปรเซสเซอร์รุ่น IXP425 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานได้
อินเทลต้องการช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถออกแบบสินค้าของตนได้ง่ายขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง สร้างสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดโดยใช้เวลาน้อยลง ดังนั้นอินเทลจึงเน้นไปที่การสร้างแพลตฟอร์มสื่อสารที่แบ่งออกเป็นโมดูลโดยตรง ส่วนเน็ตเวิร์กโปรเซสเซอร์และโปรเซสเซอร์แบบ IA ของอินเทลถูกออกแบบขึ้นมาให้ทำงานกับแพลตฟอร์มสื่อสารแบบโมดูลเหล่านี้ โดยอิงจากคุณลักษณะเฉพาะของ Advanced
Telecommunications Computing Architecture (AdvancedTCA) เป็นหลัก โดย AdvancedTCA เป็นคุณลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการกำหนดขนาดและรูปทรงของบอร์ดและองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำไปใช้ในอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งจะช่วยทำให้วงจรในการออกแบบ
เสียเวลาน้อยลง
นอกจากนี้ มร.มาโลนีย์ ยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยี tunable laser ของอินเทลเพื่อรองรับการใช้งานของออพติคอลแบ็กโบนของอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอีกด้วย เทคโนโลยีชนิดนี้จะช่วยทำให้ระบบ dense wavelength division multiplexing (DWDM) เสียค่าใช้จ่ายน้อยลงมาก แต่ทำงานได้ยืดหยุ่นกว่าเดิม โดยที่ DWDM ช่วยให้บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารเพิ่มแบนด์วิธของเครือข่ายได้ตามความต้องการ
ข้อมูลเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ
งานอินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม เป็นงานแสดงด้านเทคโนโลยีประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในอุตสาหกรรมไอที ซึ่งจัดขึ้นสำหรับนักพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ งานไอดีเอฟ เป็นการรวมตัวกันของบริษัทชั้นนำในวงการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับพีซี เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องลูกข่ายแบบพกพา ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ และเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลได้ที่ http://developer.intel.com
อินเทลเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบเครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
* Intel, Xeon และ Itanium เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
ติดต่อ:
คุณเพชราภรณ์ เจริญนิพนธ์วานิช คุณอัปษร เพชรชาติ
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์
โทรศัพท์: (66 2) 654-0654 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: petch.charoennibhonvanich@intel.com
e-Mail: apsorn.bejrajati@carlbyoir.com-- จบ--
-ศน-

แท็ก อินเทล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ