เชียงใหม่ผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร

ข่าวทั่วไป Monday September 26, 2011 08:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--กระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานร่วมกับปตท.ทุ่ม 110 ลบ. เดินหน้าผลิตก๊าซชีวภาพภาคขนส่งจากมูลสุกร-หญ้าเลี้ยงช้าง เลือกเชียงใหม่นำร่อง พร้อมเปลี่ยนสถานีซีเอ็นจีเป็นแอลซีเอ็นจี ผลิตเอ็นจีวีลดค่าขนส่งก๊าซ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมสร้างรายได้กับประชาชน นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ .กระทรวงพลังงานพร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการทดลองพัฒนาก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสัตว์เพื่อการคมนาคม ซึ่งเป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของประเทศไทย ที่บ้านห้วยเฮี้ย หมู่ 2 ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ นายสุเทพ กล่าวว่า โครงการการทดลองพัฒนาก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสัตว์เพื่อการคมนาคมเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงานกับผู้ประกอบฟาร์มเลี้ยงสุกรในการร่วมดำเนินการก่อสร้างโรงผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร โดยกระทรวงพลังงานสนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านบาท และ ปตท. ให้การสนับสนุน 100 ล้านบาท โครงการนำร่องนี้มีขึ้นบนพื้นที่ 5 ไร่ ในพื้นที่ของบริษัทมงคลแอนด์ซันฟาร์ม ที่เลี้ยงสุกรจำนวนกว่า 4 หมื่นตัว ใน อ.แม่แตง มีเป้าหมายส่งเสริมการใช้ก๊าซชีวภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลจากท่อส่งก๊าซเพื่อลดต้นทุนในการขนส่งก๊าซชีวภาพและการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการจัดระบบการลดปัญหามลพิษทางอากาศของฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากมีการส่งเสริมการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิตก๊าซ ซึ่งในส่วนนี้คาดว่าจะสร้างรายได้แก่คนในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทต่อปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง และสามารถเริ่มกระบวนการผลิตได้จริงประมาณเดือนมีนาคม ปี 2555 นอกจากนี้กระทรวงพลังงานยังมีโครงการปรับปรุงสถานี CNG ใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยจะพัฒนาให้เป็นสถานี LCNG ที่จะสามารถผลิตก๊าซ NGV จำหน่ายแก่ประชาชนซึ่งจะสามารถลดค่าขนส่งก๊าซในจังหวัดที่ท่อก๊าซไม่ถึง โดยทั้งสองโครงการนี้จะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพออกสู่ตลาดเพื่อการคมนาคมขนส่งวันละ 12 ตัน จากปริมาณความต้องการของทั้งจังหวัดเชียงใหม่ วันละ 24 ตัน หากท่านผู้ประกอบการท่านใด สนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ในการทำ ระบบไบโอแก๊ส หรือ การนำระบบเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการของท่าน ก็สามารถติดต่อขอรับบริการจากทีมผู้เชี่ยวชาญ ของ The X’cellence Biogas Consulting Service by UBA โทร. 02-7893232 ต่อ 112 หรือที่ www.uba.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ