กรมสุขภาพจิต คว้ารางวัล Lee Award ผลงานป้องกันการฆ่าตัวตายระดับโลก

ข่าวทั่วไป Tuesday October 4, 2011 10:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ต.ค.--กรมสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตโดยนายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล Lee Awardซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่องค์กรระดับประเทศ ที่มีผลงานป้องกันการฆ่าตัวตายในระดับยอดเยี่ยมซึ่งในปี 2554 กรมสุขภาพจิต ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 6 ประเทศ ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวในงานประชุมวิชาการป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ครั้งที่ 26 ณ กรุงปักกิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนนพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นโดยสมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายนานาชาติ(International Association of Suicide Prevention : IASP)ซึ่งเป็นสมาคมที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลกมีประเทศสมาชิกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการป้องกันการฆ่าตัวตายในทั่วทุกมุมโลกและเพื่อเป็นสื่อกลางทางวิชาการสำหรับแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตายระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ในระดับนานาชาติซึ่งการได้รับรางวัลครั้งนี้เป็นผลจากการดำเนินโครงการป้องกันการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาโดยกรมสุขภาพจิตได้เริ่มดำเนินโครงการนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543จนถึงปัจจุบัน เป็นผลให้อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก โดยในปี พ.ศ. 2542ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงถึง 8.59 ต่อประชากรหนึ่งแสนคนและภายหลังที่กรมสุขภาพจิตดำเนินโครงการป้องกันการฆ่าตัวตายครอบคลุมพื้นที่ ทั่วประเทศสามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายลงเหลือ 5.90 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี พ.ศ.2553 ที่ผ่านมาอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่าโครงการป้องกันการฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่1.สร้างการตระหนักรู้ของสาธารณะโดยการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตาย และโรคทางจิตเวชโดยเฉพาะโรคซึมเศร้าที่สามารถรักษาให้หายได้และการฆ่าตัวตายก็สามารถป้องกันได้เช่นกัน 2.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชครอบคลุมทุกระดับในทุกพื้นที่เน้นพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของเครือข่ายดูแลสุขภาพจิตในชุมชนโดยเฉพาะการใช้กลไกที่มีอยู่ในชุมชน เช่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายโดยใช้แบบคัดกรองที่ง่ายต่อการเข้าใจและสามารถส่งต่อไปพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงที3.การฝึกอบรมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในการประเมิน วินิจฉัย และรักษาผู้มีภาวะซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้อย่างถูกต้อง4.การพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและ5.การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสถิติการฆ่าตัวตายมาตรฐานของประเทศที่สามารถใช้อ้างอิงในเชิงวิชาการ และนำมาเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายป้องกันการฆ่าตัวตายต่อไปLee Award เป็นรางวัลระดับโลกซึ่งมอบให้แก่องค์กรระดับประเทศที่มีผลงานป้องกันการฆ่าตัวตายเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ การได้รับรางวัลนี้ ของกรมสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานป้องกันการฆ่าตัวตายในประเทศไทยได้รับการยอมรับในเวทีโลก และเป็นการยกระดับ โครงการป้องกันการฆ่าตัวตายให้เป็นที่รู้จักและเป็นแบบอย่างการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในระดับนานาชาติต่อไปอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว ข้อมูลเพิ่มเติม: รัชญา เสาสมภพ โทร 081-5929491

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ