“การรักษาโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ” เทคโนโลยีล้ำสมัยในการรักษาภาวะหลอดเลือดขอด

ข่าวทั่วไป Friday October 7, 2011 17:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ต.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดเผยสาเหตุสำคัญและวิทยาการทางการแพทย์ในการรักษาภาวะหลอดเลือดขอด ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดขอด ไม่จำเป็นต้องทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดและการปูดบวมของหลอดเลือดอีกต่อไป ด้วยวิธีการรักษาแบบเจาะผ่านรูเข็ม หรือที่เรียกว่า Minimally invasive surgery นวัตกรรมจาก วีนัส เมดิคอล เทคโนโลยี อันเป็นวิธีการผ่าตัดโดยเปิดแผลให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการรักษาในรูปแบบอื่นๆ[1][2] พันเอก นายแพทย์ธำรงโรจน์ เต็มอุดม ศัลยแพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผู้เชี่ยวชาญการรักษาอาการหลอดเลือดขอด กล่าวว่า “ภาวะหลอดเลือดขอดเป็นปัญหาที่พบได้โดยทั่วไป และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยด้วยอาการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวันที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย การผ่าตัดแบบเจาะผ่านรูเข็ม เช่น การรักษาโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุนี้จึงเป็นทางเลือกในการรักษาหลอดเลือดขอดที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีใหม่นี้ผสมผสานระหว่างความรวดเร็วในการรักษา และการให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าโดยใช้ความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุ นอกจากผู้ป่วยจะได้ประโยชน์ในแง่ความสวยงาม คือแทบไม่มีรอยช้ำแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ภายในวันเดียวอีกด้วย” การรักษาภาวะหลอดเลือดขอดโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ หรือ Segmental radiofrequency ablation นี้ เป็นการรักษาแบบเจาะผ่านรูเข็มที่ผ่านการทดสอบทางการแพทย์แล้ว ว่าสามารถรักษาอาการหลอดเลือดขอด และอาการที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งก็คือ การไหลย้อนของเลือดภายในหลอดเลือดดำ (Venous reflux) ขณะทำการรักษา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยหรือไม่เจ็บเลย โดยแพทย์จะทำการสอดเครื่องมือผ่านรูเข็มโดยไม่ต้องเปิดแผล จากนั้นความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุจะทำให้ผนังหลอดเลือดดำที่มีปัญหาฝ่อและหดตัวจนกระทั่งปิด ในการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มตัวอย่าง การรักษาภาวะหลอดเลือดขอดโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากพอกับวิธีการผ่าตัดแบบเดิม (Vein Stripping: การผ่าตัดเพื่อลอกหลอดเลือด) ในขณะเดียวกันก็เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่ามากและระยะเวลาฟื้นตัวเร็วกว่าด้วย2 วิธีการผ่าตัดแบบเดิม เป็นวิธีการรักษาภาวะไหลย้อนของเลือดภายในหลอดเลือดดำที่มีมาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นการผ่าตัดแบบเปิด (open surgical procedure) ที่จำเป็นต้องผ่าหลายจุดเพื่อสอดเครื่องมือ เพื่อลอกหลอดเลือดดำส่วนที่มีอาการออกจากขา ภาวะหลอดเลือดขอด โดยมากมักเกิดอาการปูดบวมของหลอดเลือดดำบริเวณขา ข้อเท้า และเท้า โดยมีการไหลย้อนของเลือดภายในหลอดเลือดดำเป็นสาเหตุหลัก และความผิดปกตินี้จะพัฒนาความรุนแรงขึ้นเมื่อลิ้นเปิดปิดซึ่งทำหน้าที่ระบายกระแสเลือดออกจากขาเพื่อให้ย้อนกลับไปยังหัวใจเกิดความเสียหายหรือติดเชื้อ ภาวะเช่นนี้จะก่อให้เกิดอาการหลอดเลือดขอด รวมถึงอาการปวด บวม และรู้สึกหน่วงๆ ที่ขา ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดขอดนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น พันธุกรรม อายุ เพศ ความอ้วน การตั้งครรภ์ หรือการยืนเป็นเวลานานๆ พันเอก นายแพทย์ ธำรงโรจน์ กล่าวต่อไปว่า “สำหรับแพทย์ทุกคน การดูแลผู้ป่วยถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด การรักษาโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการให้การรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าที่สุด เราภูมิใจที่ได้นำวิธีการผ่าตัดแบบใหม่มาใช้ ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมหน้าของการผ่าตัดแบบเจาะผ่านรูเข็ม อันส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมาก” ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการให้บริการรักษาภาวะหลอดเลือดขอดด้วยความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นนวัตกรรมจาก วีนัส เมดิคอล เทคโนโลยี ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ อีกหลายแห่ง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาชนิดนี้ได้ที่ www.vnus.com ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: เวเบอร์ แชนด์วิค ปัญญ์ณัฐ ศิวะพรพันธ์ โทร. 02-343-6181 อีเมล: [email protected] หรือ ต้องหทัย สุดดี โทร. 02-343-6174 อีเมล: [email protected] [1] Almeida JI, Kaufman J, Gokeritz O, et al. Radiofrequency Endovenous ClosureFAST versus Laser Ablation for the Treatment of Great Saphenous Reflux: A Multicenter, Single-Blinded,Randomized Study (Recovery Study). JVIR; June 2009 [2] Prospective randomised study of endovenous radiofrequency obliteration (closure) versus ligation and vein stripping (EVOLVeS): two-year follow-up. Lurie, Creton, Eklof, Kabnick, Kistner, Pichot et al. Eur J Vasc Endovasc Surg. 2005 Jan;29(1):67-73.

แท็ก นวัตกรรม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ