การเติบโตของเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนจะมาจากปัจจัยภายในภูมิภาค เนื่องจากส่วนแบ่งในผลิตภัณฑ์มวลรวมทั่วโลกของชาติตะวันตกลดต่ำลง

ข่าวทั่วไป Monday October 10, 2011 09:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ต.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ รายงานการวิเคราะห์เศรษฐกิจกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Economic Insight: South East Asia) ซึ่งเป็นรายงานรายไตรมาสฉบับแรกของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศอังกฤษ (ICAEW) ชี้ว่าการบริโภคภายในประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนแซงหน้าเศรษฐกิจฝั่งตะวันตก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมการคาดการณ์ว่าส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมทั่วโลกของฝั่งตะวันตกจะลดลงร้อยละ 50 ภายในสิบปี ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของสภาวะครอบงำทางเศรษฐกิจที่มีมานานกว่า 500 ปี ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (CEBR) พันธมิตรของสมาคมฯเป็นผู้จัดทำรายงานรายไตรมาสฉบับใหม่นี้ขึ้น ซึ่งถือเป็นการวิเคราะห์ภาพรวมของข้อเท็จจริงและแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเน้นที่ประเทศยักษ์ใหญ่ทั้ง 6 ของกลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียตนาม เนื้อหาของรายงานฉบับนี้ มีการคาดการณ์ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนไม่น่าจะมีการรวมกลุ่มทางการเมืองแบบยุโรปได้ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากมีความแตกต่างในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติอย่างเด่นชัด อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนจากการแข่งขันแย่งการลงทุนจากต่างชาติ มาเป็นกลุ่มประเทศที่ร่วมกันสร้างความแข้งแกร่งจากการกระชับความสัมพันธ์และการค้าภายในภูมิภาค มร. ดักลาส แมควิลเลียมส์ ประธานบริหารศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (CEBR) กล่าวในงานเปิดตัว รายงานการวิเคราะห์เศรษฐกิจ(Economic Insight) ณ โรงแรมฟูลเลอร์ตัน ประเทศสิงคโปร์ว่า “กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีนั้นความหลากหลายทั้งในด้านรายได้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และความแตกต่างของแรงงาน ซึ่งถือเป็นข้อดีของกลุ่มสมาชิก ค่าแรงในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและมีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ จะดึงดูดบริษัทข้ามชาติให้มาตั้งฐานการผลิตมากขึ้น ในขณะที่พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล( เช่นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ)รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างมากมายจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น มร. ดักลาสกล่าวเพิ่มเติมว่า “ความสำเร็จของเขตเศรษฐกิจอีสกันดาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐยะโฮร์ในประเทศมาเลเซีย เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดถึงการร่วมมือกันในภูมิภาคว่าสามารถให้ประโยชน์แก่ประเทศพันธมิตรได้อย่างไร เช่นการร่วมมือระหว่างแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ค่าแรงต่ำจากประเทศมาเลเซีย กับความรู้และทักษะของประเทศสิงคโปร์ ได้สร้างผลประโยชน์ร่วมอย่างแท้จริงแก่ทั้งสองประเทศ มร. มาร์ค บิลลิงตัน ผู้อำนวยการประจำสำนักงานใหญ่ส่วนภูมิภาค สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศอังกฤษประจำภูมิภาคเอเซ๊ยตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ก้าวเข้ามาประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจสูงสุดตั้งแต่ปี 2553 ในด้านของการเติบโตทางผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) และมีแนวโน้มว่าจะแซงหน้าทุกภูมิภาคในโลกในช่วงต้นปี 2555 การบริโภคภายในภูมิภาคที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของชนชั้นกลางเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดจากเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการสร้างเสริมผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่มีประสบการณ์การทำงานจากต่างชาติและมีความรู้ในเชิงเทคนิคขั้นสูง จะช่วยให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด” รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจในระยะยาว ความท้าทายสูงสุดของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ คือการเปลี่ยนเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมเฉกเช่นเดียวกับสมาชิกอื่นในภูมิภาค ประเทศเวียตนามจะต้องการการลงทุนอย่างมากในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา เพื่อเจริญรอยตามความสำเร็จของประเทศมาเลเซีย ในขณะที่ประเทศมาเลเซียต้องยกระดับระบบเศรษฐกิจและการปกครองให้รุดหน้า เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันในตลาดโลกและการกระจายฐานการผลิตเหมือนประเทศสิงคโปร์ ข้อมูลสำคัญอื่นๆในรายงานฉบับนี้คือ การค้ากับประเทศจีนกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว การส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนไปยังประเทศจีนมีปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าคู่ค้าหลักอื่นๆ อย่างไรก็ตาม จีนจะประสบปัญหาประชากรส่วนมากเป็นประชากรสูงอายุในปี 2573 ซึ่งจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง และส่งผลให้อินเดียมีบทบาทในฐานะชาติซึ่งมีทรัพยากรที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแทน นโยบายรัดเข็มขัดทางการเงินและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำของประเทศตะวันตก จะจำกัดขอบเขตการค้า เศรษฐกิจโลกกำลังตกต่ำหลังจากที่ดีขึ้นในปี 2553 และการลดลงอย่างต่อเนื่องของหนี้ที่เป็นภาระของทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศอุตสาหกรรมจะส่งผลให้มีการบริโภคลดลง ซึ่งทำให้อัตราการว่างงานสูงขึ้นและมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำในประเทศอุตสาหกรรมฝั่งตะวันตกเช่น ประเทศอเมริกาเหนือ และประเทศในยุโรปกลางและตะวันออก โดยจะเกิดขึ้นไปอีกหลายปี อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของภูมิภาคเติบโต การขยายตัวของผลผลิตของประเทศในกลุ่มอาเซียน มาจากประเทศอินโดนีเซียถึงร้อยละ 31 และด้วยประชากรในประเทศที่มากถึง 234 ล้านคน จึงมีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนนี้จะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 42.8 ในปี 2012 ประเทศที่ตามมาเป็นอันดับ 2 คือสิงคโปร์ ที่ร้อยละ 21.5 ประเทศไทยที่ร้อยละ 17.6 และประเทศมาเลเซียที่ร้อยละ 12.1 สำหรับประเทศเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ซึ่งแปรผันตามระดับรายได้ของประชากรต่อหัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:คริสติน่า เรตัน ผู้จัดการงานด้านสื่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, โทรศัพท์: +44 (0)207 920 8607, อีเมล์: kirstina.reitan@icaew.com มร.ทอม แวน บลาร์คัม / เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์, บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ไทยแลนด์) จำกัด, โทรศัพท์: +66 2260 5820, อีเมล์: tom@tqpr.com, mae@tqpr.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ