วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ เรื่อง RUNAWAY JURY

ข่าวทั่วไป Wednesday January 14, 2004 13:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
RUN AWAY JURY
PRODUCTION NOTES
ความใฝ่ฝันของผู้อำนวยการสร้าง (และผู้ก่อตั้ง Regency Enterprises) อาร์นอน มิลแคน ที่มีต่อ RUNAWAY JURY นั้นย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อเขาได้อ่านนิยายขายดีติดอันดับของจอห์น กริสแชม ในปี 1996 จากการที่เขาเคยสร้างหนังที่ประสบความสำเร็จสองเรื่อง ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายของกริสแชม - "A Time to Kill" และ "The Client" - มิลแคนคิดว่า เรื่องราวที่ดึงดูดใจของ RUNAWAY JURY และพล็อตที่ทำให้ประหลาดใจ น่าจะกลายเป็นภาพยนตร์ที่ดีได้
เมื่อแกรี่ เฟลเดอร์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการสร้างหนังระทึกขวัญเรื่องฮิตของ Regency อย่าง "Don't Say a Word" ตกลงใจที่จะกำกับเรื่อง RUNAWAY JURY มิลแคนก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อกับการสร้างเป็นภาพยนตร์
เฟลเดอร์ชื่นชมที่ RUNAWAY JURY ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะแยกเป็นประเภทได้ "มันไม่ได้เป็นหนังดราม่าขึ้นศาล และก็ไม่ได้เป็นหนังระทึกขวัญโดยเฉพาะ" ผู้กำกับการแสดงอธิบาย "สำหรับผม สิ่งล่อลวงก็คือการเป็นหนังการปล้นในศาล; เกี่ยวกับการขโมยคณะลูกขุน
"ในหนังของเรามีหลายคนที่พยายามจะขโมยคณะลูกขุน ไม่ใช่เอาชนะ แต่ขโมยไป นั่นคือเป้าหมายของนิคและมาร์ลี ซึ่งแสดงโดยจอห์น คูแซค และเรเชล ไวส์ รวมไปถึงที่ปรึกษาลุกขุนที่ทรงอำนาจอย่างแรนกิน ฟิตช์ รับบทโดย ยีน แฮ็กแมน และสุดท้าย มันอาจเป็นเป้าหมายของเวนแดล รอห์ ทนายความผู้สุภาพ เห็นอกเห็นใจ ซึ่งรับบทโดยดัสติน ฮอฟแมน หนังการขโมยตัวในศาลนับเป็นสิ่งที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนเลย"
เฟลเดอร์และมิลแคนเป็นปลื้มกับทิศทางของเรื่อง "สำหรับเราแล้ว" เฟลเดอร์กล่าว "RUNAWAY JURY เดินเรื่องกระบวนการพิจารณาไต่สวนอันเป็นลักษณะจำเพาะของกระบวนการ ในส่วนที่น้อยกว่าแนวความคิดของการวางแผนหลอกลวง และการควบคุมคณะลูกขุน "เนื้อหาของงานจากกริสแชมเป็นเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ มันไม่ใช่เรื่องแบบเดวิด vs. โกไลแอธ; ไม่ใช่เรื่องการตกเป็นเบี้ยล่างโดยทั่วไป มันเป็นเรื่องของความคลุมเครือด้านจริยธรรมมากกว่า"
ตัวละครแรนกิน ฟิตซ์ เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่เป็นจุดขายของทีมผู้สร้าง "เขาเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับตัวเองที่ฉลาด ฉนั้นจึงเป็นคนน่าเกรงขาม" เฟลเดอร์บอก "ฟิตช์เป็นตัวละครที่ยิ่งใหญ่ เพราะเขามีจุดยืนของตนเองในด้านศีลธรรม ซึ่งบังเอิญว่าไม่ได้เป็นเหมือนของคนอื่นๆ ทั่วไป"
ความคลุมเครือของจริยธรรมในสคริปท์ก็นับเป็นแรงดึงดูดดอีกอย่าง บรรดาตัวละครของ RUNAWAY JURY นั้นไม่ได้ถูกระบายด้วยสีดำกับขาว อย่างเห็นได้ชัดในความเป็นคนดีและคนชั่ว แต่ค่อนข้างจะเป็นเฉดสีเทา "RUNAWAY JURY ท้าทายคนดูเพราะหนังไม่ได้บอกชัดเจนว่าใคร 'ดี' และใคร 'ร้าย'" เฟลเดอร์กล่าว "ฟิตช์ดูเป็นผู้ร้ายอย่างชัดแจ้ง แต่นิคและมาร์ลีก็มีส่วนในการจัดการกับลูกขุนด้วย'
สำหรับบทนิค อีสเตอร์ ลูกขุนคนหนึ่งนั้น เฟลเดอร์เห็นว่าจอห์น คูแซค เหมาะสมที่สุด "ผมมีรายชื่อนักแสดงเพียงไม่กี่คนในใจ สำหรับตัวละครที่ช่างจัดการ มีเสน่ห์ และน่าขันตัวนี้" เฟลเดอร์กล่าว และตัวเลือกคนแรกของเขาก็คือคูแซค ซึ่งเขาได้ชื่นชมผลงานมาโดยตลอด "จอห์นมีความสมดุลย์ระหว่างเสน่ห์และอารมณ์ขัน แต่ก็ยังมีความหมิ่นเหม่และด้านมืด"
การหักมุมและลดเลี้ยวของเรื่อง RUNAWAY JURY บวกกับความซับซ้อนของตัวนิค อีสเตอร์ เป็นแรงดึงดูดหลักของภาพยนตร์สำหรับคูแซค "จุดสนใจของการโน้มน้าวลูกขุนด้วยสินบนนั้นทำให้มันเป็นดราม่าที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน" คูแซคกล่าว "มันเป็นเหมือนหนังที่ต่างกันสองเรื่อง; ให้ภาพและรสชาดของความเป็นดราม่าขึ้นศาล แต่ก็ยังมีอย่างอื่นที่ดำเนินไปพร้อมกัน สำหรับผม หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของความโลภ อุปสรรคต่อความยุติธรรม และการที่ระบบได้ถูกโกงกิน มันเป็นหนังเกี่ยวกับธรรมชาติของคนและการจัดการยักย้าย"
ความสนใจที่คูแซคมีต่อ RUNAWAY JURY ยิ่งได้รับการกระตุ้น เมื่อย่น แฮ็กแมนและดัสตินฮอฟแมนเข้าร่วมทีมนักแสดง "ผมอยากร่วมงานกับยีนและดัสตินมาตลอด" คูแซคเล่า "พวกเขาเป็นสองพระเอกในใจของผมตั้งแต่เล็กจนโต การได้ดูหนังที่พวกเขาแสดง ทำให้ผมคิดว่าผมอยากลองทำในสิ่งที่พวกเขาทำ การร่วมงานกับพวกเขาจึงน่าตื่นเต้นมาก"
หลังจากแฝงตัวเข้าร่วมในคณะลูกขุนแล้ว นิค อีสเตอร์ ตัวละครของคูแซคก็ค่อยๆ ผุดความเป็นกองหลังของคณะลูกขุนออกมา อย่างที่คูแซคอธิบายว่า "เขาเป็นเหมือนหลอดที่ใช้คนเครื่องดื่ม ระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกคณะลูกขุน นิคพยายามจะ 'อ่าน' ลุกขุนคนอื่นๆ และประเมิณว่าความเวทนาของพวกเขาอยู่ตรงไหน เขาต้องเกณฑ์ลูกขุนให้เข้ากับเขาโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ว่ากำลังถูกเกณฑ์ เขาต้องเป็นตุลาการเจ้าเล่ห์ของธรรมชาติมนุษย์ บางขณะเราอาจคิดว่าเขาเป็นนักต้มตุ๋นคนอื่น แต่พอดูอีกทีอาจกลายเป็นอะไรที่แตกต่างที่กำลังดำเนินไป"
ส่วนการแสดงเป็นศัตรูที่น่าเกรงขามของนิค อย่างที่ปรึกษาคณะลูกขุน แรนกิน ฟิตช์ นั้น เฟลเดอร์มองไม่เห็นเป็นใครอื่นนอกจาก ยีน แฮ็กแมน "ยีนสามารถแสดงบทตัวร้าย โดยทำให้คนดูเข้าใจมุมมองของเขา" เฟลเดอร์กล่าว "ยีนและผมอยากให้คนดูมองฟิตช์เป็นคนที่ไม่ได้ร้ายเพียงเพราะว่านั่นคือสิ่งที่เขาเป็น แต่มองว่าเป็นคนที่ถูกกระตุ้นให้ทำอย่างที่เขาทำ ฟิตช์ไม่เชื่อถือในระบบคณะลูกขุน เขาไม่คิดว่าลูกขุนแต่ละคนควรได้รับสิทธินั้น อภิสิทธิ์และอำนาจที่จะตัดสินเรื่องราวที่เป็นมาก่อน"
เฟลเดอร์และแฮ็กแมนได้จัดทำแผนงานสื่อสารที่รวบรัดขึ้นมา "ผมบอกยีนว่าผมมองภาพฟิตช์เคลื่อนไหวเหมือนฉลามร้าย เขาปราดเปรียว เพรียวลม และแม่นยำ" เฟลเดอร์เล่า "เขาเข้าใจ และนั่นคือเหตุผลที่ว่าในฉากเริ่มต้นของเขา ตอนที่เขาเดินเข้ามาในห้องบัญชาการของเขากับอาแมนด้า ผู้ช่วยสาวของเขา และได้ยินว่าลูกจ้างคนหนึ่งของเขามาสายเพราะพลาดการเปลี่ยนเครื่องบิน ฟิตช์พูดว่า 'ดี งั้นหาคนมาแทนเขา' โดยทันทีประโยคนั้นทำให้ตัวละครของเขากลายเป็นคนที่ไม่ยอมทนกับความไม่เป็นมืออาชีพ หรือคนที่ไม่ฉลาด"
RUNAWAY JURY เป็นหนังเรื่องที่สามของแฮ็กแมนที่สร้างมาจากหนังสือของจอห์น กริสแชม หลังจาก "The Firm" แและ "The Chamber" ทำไมจึงถูกดึงดูดโดยงานของจอห์น กริสแชม? แฮ็กแมนตอบได้อย่างรวบรัดว่า: "เพราะเขาเขียนฉากที่เป็นดราม่าอย่างมากสำหรับนักแสดง และเราก็ชอบมัน"
แฮ็กแมนกล่าวว่าฟิตช์เป็นนักธุรกิจที่ใช้วิธีการที่ไม่ดึงดูดใจเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ "ฟิตช์มาที่นิวออร์ลีนส์เพื่อรวบรวมทีมที่มีความสามารถไฮเทค ซึ่งเจาะลึกเบื้องหลังของผู้ที่จะมาเป็นลูกขุน และพยายามที่จะสั่นคลอนความคิดเห็นของพวกเขา ในบางกรณีมันอาจเกี่ยวข้องกับการแบล็คเมล์หรือการเผชิญกันซึ่งๆหน้า
"ผมว่า 'เงิน' เป็นคำสำคัญของฟิตช์" แฮ็กแมนกล่าวต่อ "เขาเป็นคนที่รักการแข่งขัน การเล่นเกม และให้บังเอิญว่าเกมนั้นทำเงินมหาศาลให้เขา แม้ว่าเขาจะไม่มีหลักการ แต่เขามีความต้องการ และการต่อยตีกับใครๆ ในเกมก็เป็นการเติมเต็มให้กับความต้องการเขา"
แฮ็กแมนสนุกกับมุมมองที่ตัวละครของเขามีต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว "ครั้งแรกที่เขาก้าวเข้าสู่อาคารสำนักงานศาล" นักแสดงเล่า "ฟิตชืพูดถึงความรู้สึกชอบที่เขามีต่อกลิ่นของห้องพิจารณาคดี ไม้มะฮอกกานีอายุ 200 ปี, เฟอร์นิเจอร์ขัดมัน, กลิ่นตัวและน้ำหอมราคาถูก และเขาชอบสิ่งที่มากับมัน ความเครียด ความเป็นมนุษย์ ถึงแม้ว่าฟิตช์จะไม่ใช่คนที่มีมนุษยธรรม ผมคิดว่าเขาทึ่งกับสภาวะของมนุษย์"
ในฝั่งตรงข้ามของมิติแห่งจริยธรม คือ เวนแดล รอห์ ทนายความที่เป็นตัวแทนของม่ายสาวที่ยื่นฟ้ององค์กรยักษ์ใหญ่ ให้รับผิดชอบต่อการตายของสามีเธอ เมื่อดัสติน ฮอฟแมนแสดงความสนใจที่จะรับบทรอห์ ตัวละครได้ถูกรื้อเขียนใหม่เพื่อนักแสดง และบทบาทกถูกขยายความมากขึ้นจากในนิยาย
ต่างจากฟิตช์ รอห์ยึดมั่นต่อหลักจริยธรรม "หากกฎหมายเป็นศาสนา ฟิตช์ก็คือไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า นิคและมาร์ลีคือผู้ไม่นับถือพระเจ้า และรอห์ก็คือผู้เชื่อในพระเจ้า" แกรี่ เฟลเดอร์กล่าว
"ดัสตินทำให้เกิดความรู้สึกนั้นเป็นอย่างมากในบทของเขา" เฟลเดอร์กล่าวต่อ "ผมว่าถ้าในเรื่องจะมีทนายที่คอยเบียดเบียนสองคน ก็จะไม่ใครให้ติดตามนอกเหนือจากนิคและมาร์ลีซึ่งทั้งสองคนไม่มีจริยธรรมที่ตายตัว โดยการให้รอห์ต่อสู้กับการคอรัปชั่นรอบตัวเขา เหมือนเรามีเดิมพันต่อคนเหล่านี้และแน่นอนต่อรอห์ เมื่อดัสตินมาร่วมงานกับเรา มันคงเป็นเรื่องน่าอายหากเราไม่ขยายบทบาทนี้ออกไป"
ฮอฟแมนและเฟลเดอร์ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการวิเคราะห์หลักการและธรรมจริยาของรอห์ ฮอฟแมนบอกว่า: "มีอีกด้านที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงของรอห์ เขามีอุปนิสัยพื้นบานที่ลดน้อยถอยลงไปในช่วงเวลาหนึ่งของการทำงาน เราอยู่ในห้วงเวลาที่ไม้วัดระดับไม่ได้เพียงแต่ลดต่ำลง แต่ดูเหมือนว่าจะตกลงไปอีกเรื่อยๆ
"เมื่อพระราชบัญญัติสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองถูกวางรากฐาน โดยผู้ก่อตั้งได้กำหนดให้พลเมืองสามารถถูกตัดสินจากคนอื่นๆ ที่เท่าเทียมกัน" ฮอฟแมนกล่าวต่อ "พวกเขาคงไม่เคยเฉลียวใจว่าในวันนี้ เราจะมีองค์กรที่ปรึกษาคณะลูกขุนที่ซับซ้อน จนสามารถที่จะวางแนวทางให้กับลูกขุนจนกระทั่งได้คำชี้ขาดก่อนหน้าที่การพิจารณาคดีจะเริ่มเสียด้วยซ้ำ; เรื่องสำคัญที่สุดคือการคัดเลือกคณะลุกขุนนั่นเอง"
ฮอฟแมนลงความเห็นว่ารอห์มีความเป็นเอกลักษณ์ในความเป็นทนายความของยุค เรา "ผมว่าเขาเป็นคนที่หาได้ยาก"ฮอฟแมนกล่าว "เหมือนอย่างที่เกรกอรี่ เป็ค เคยแสดงไว้ในเรื่อง Mockingbird' รอห์เป็นคนที่แสนดี เหมือนอย่างที่หมอในอดีตเคยออกรักษาคนไข้ตามบ้าน และพวกทนายความไม่เพียงแต่มีจรรยาบรรณแต่เคร่งครัดกับกฎด้วย"
ความตรงข้ามกันระหว่างรอห์และคู่ต่อสู้ของเขาเป็นสิ่งที่ทำให้ฮอฟแมนทึ่ง "ฟิตช์กับรอห์เป็นรูปแบบแรกเริ่ม" ฮอฟแมนบอก "ฟิตช์เป็นตัวแทนความสำเร็จ จบเขาต้องชนะ ประสบความสำเร็จและได้เงินมหาศาล - นั่นคือพื้นฐาน รอห์เป็นพวกไดโนเสาร์ อนุสรณ์ของคนที่เชื่อว่าการต่อสู้ด้วย 'ความดี' แต่เขาถูกบอกให้ทำตามระบบ นั่นเป็นทางเดียว"
ฮอฟแมนยินดีที่มีโอกาสได้แสดงในฉากห้องพิจารณาคดีที่ตึงเครียด "สิ่งที่ผมสนุกในการแสดงเป็นทนายในฉากเหล่านั้น" ฮอฟแมนแล่า "คือการที่แกรี่ เฟลเดอร์ทำให้มั่นใจว่าจะมีคนอยุ่เต็มห้อง มันจึงให้ความรู้สึกเหมือนห้องพิจารณาคดีจริงๆ; มันให้ความรู้สึกทรงเกียรติเพราะว่า มันเป็นเหมือนแสดงอยู่ในโรงละครแต่ละรอบ ผมมีคนให้แสดงให้ดูและถ้าคุณเป็นนักแสดง คุณมีชีวิตอยู่และตายเพื่อคนดู"
จริยธรรมของรอห์ถูกทดสอบโดยมาร์ลี หญิงสาวที่อาจเป็นหุ้นส่วนของนิค อีสเตอร์ สองคุณสมบัติที่เฟลเดอร์เชื่อว่าจำเป็นสำหรับตัวละคร คือความเป็นที่ชื่นชอบและความลึกลับ หลังจากได้เห็นผลงานแสดงของเรเชล ไวส์ จากหนังหลายเรื่องรวมทั้ง "About a Boy" แล้วเฟลเดอร์รู้สึกว่าเธอมีทั้งสองอย่างอยู่ในตัว "เรเชลมีคุณสมบัติความลึกลับอย่างที่ผมคิดว่าจำ เป็นสำหรับมาร์ลี ในแง่ของแรงผลักดันและเธอคือใคร" ผู้กำกับการแสดงกล่าว
ไวส์บอกว่า: "ฉันอยากเล่นเป็นตัวละครที่สวมบทตัวละคร มาร์ลีสวม "บท" ที่ต่างกันหลายบท และในที่สุดเราก็ได้รู้ว่าไม่จำเป็นต้องคิดว่าเธอเป็นใคร มันน่าสนใจที่จะสร้างตัวละครที่แสร้งเป็นคนอื่น มันน่าตื่นเต้นและท้าทายเสมอที่จะพยายามหาหน้ากากเบื้องหลังหน้ากาก"
ไวส์ตระหนักถึงโอกาสที่จะได้แสดงคู่กับสามพระเอก "ฉันชอบทำงานกับจอห์น คูแซคมาก" ไวส์บอก "จอห์นมีสไตล์ของตัวเอง มีแนวทางในการทำงาน เขาผ่อนคลายและเป็นอิสระ และออกนอกบทบ่อยมาก จอห์นมักจะทำสิ่งใหม่ๆ ด้วยพลังงานที่มีอยู่มาก และเขาสามาระระบายสีอะไรก็ได้ เขาจะเอาจริงเอาจังและสนุกสนานสลับกันไป ทั้งหนักและเบา เขาจึงเป็นคู่ที่ยอดเยี่ยมในการ 'เต้น' ด้วย"
ไวส์ต้องแสดงในฉากหลักกับแอ็กแมนและฮอฟแมนคนละฉาก เมื่อมาร์ลีพยายามจะขายคณะลูกขุนให้กับแต่ละตัวละคร กับแฮ็กแมน การนัดพบเกิดขึ้นในรถ "เราแสดงเหมือนว่าเรากำลังออกเดท" ไวส์กล่าว "ยีนรู้วิธีแสดงเป็นตัวร้ายในแบบมีเสน่ห์เป็นที่สุด จนแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะเกลียดขี้หน้าเขา แม้ว่าฟอตช์จะชั่วร้ายและโกงกิน ยีนมีเสน่ห์ที่ลึกล้ำมากเสียจนเราหลงได้ และมาร์ลีพยายามที่จะยั่วยวนเขากลับ แต่ในเวลาเดียวกันเธอก็ต้องแข็งข้อใส่ฟิตช์ แต่มันยากนะที่จะแข็งข้อกับยีน แฮ็กแมน"แล้วรู้สึกอย่างไรกับการร่วมงานกับสองดาราชื่อดัง? "มันก็ไม่ได้มากไปกว่าการร่วมงานกับยีน แฮ็กแมนและดัสติน ฮอฟแมน" ไวส์ตอบ "ทั้งคู่ทำงานต่างกัน แต่มีเสน่ห์ด้วยกันทั้งคู่ พวกเขาเป็นดาราหนังที่โดยพื้นฐานเป็นนักแสดงตัวละคร แต่เป็นประเภทที่มีเสน่ห์ทางเพศในความเป็นพระเอก"
ส่วนผู้แสดงประกอบจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงสมาชิกของคณะลูกขุน และทีมงานด้านกฎหมาย เฟลเดอร์ได้เลือกนักแสดงที่คุ้นตาของผู้ชมทั้งทางใบหน้าและชื่อ อย่างที่ผู้กำกับฯ ได้อธิบายว่า: "ในภาพยนตร์อย่าง `Twelve Angry Men' เรามีหนังทั้งเรื่องให้เตรียมงาน เขียนบทใหม่และสร้างตัวละครขึ้นมา เราไม่มีโอกาสทำอย่างนั้น เรามีตัวละครราว 25 และ 35 ตัวที่จะต้องเล่นในเรื่อง เราต้องเฟ้นหาคณะลูกขุนในแบบรวบรัด
"นับว่าสำคัญมากที่ผู้ชมจะต้องรู้อย่างรวดเร็วว่าใครเป็นใครไม่ใช่แบบภาพล้อเลียน แต่ด้วยบุคลิก" เฟลเดอร์บอก "ดังนั้นเราจึงต้องคัดตัวแสดงที่คนดูจะรู้สึกว่ารู้จัก หรือแยกแยะตัวละครได้อย่างฉับไว
"อย่างบรูซ เดวิสัน ซึ่งมาเป็นเดอร์วู้ด เคเบิล ทนายจำเลย, บรูซ แมกกิล เป็น ผู้พิพากษาฮาร์กิน และเจเรมี ไพเวน เป็น ลอว์เรนส์ กรีน ที่ปรึกษาคณะลูกขุนของรอห์ ผมรู้ว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับการฝึกฝนพวกเขา แต่เป็นการให้แนวทางและขอบเขต แล้วปล่อยให้พวกเขาเติมเต็มส่วนที่เหลือ"
เฟลเดอร์บอกกับผู้แสดงเป็นลูกขุนว่าเขาต้องการให้พูดซ้อนและออกนอกบท "นักแสดงเป็นผู้ทำให้เกิดการขยายของการพูดนอกบทในหนัง" เฟลเดอร์กล่าว "ไม่มีฉากไหนของคณะลูกขุนที่เราไม่เพิ่มเนื้อหาเข้าไป ฉากคณะลูกขุนเป็นเหมือนหนังที่อยู่ในหนังเรื่องใหญ่ ที่เราซ้อมแล้วก็ถ่ายหลายต่อหลายเทค ไดอาล็อคก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
การถ่ายทำฉากห้องคณะลูกขุนนับเป็นหนึ่งในความท้าทายหลายอย่างของเฟลเดอร์ "ผมเคยทำหนังมาสี่เรื่อง และหนังโทรทัศน์ราว 15 ชั่วโมง และได้เรียนรู้ว่าคุณไม่มีทางจะรู้สึกสบายกับการถ่ายทำโดยมีนักแสดงจำนวน 15 คนอยู่ในห้องเดียวกัน" ผู้กำกับการแสดงกล่าว
เฟลเดอร์พยายามอย่างหนักที่จะทำให้ฉากห้องพิจารณาคดีของ RUNAWAY JURY มีรสชาดและพลังอย่างที่ไม่เคยได้เห็นในหนังเรื่องอื่นๆ "RUNAWAY JURY เป็นหนังเกี่ยกับการแพร่หลายของการคอร์รัปชั่นในทางกฎหมาย และในการถ่ายทำนั้น ผมต้องการนำเสนอคอนเซปท์ของเรื่องในรูปแบบของหนัง" เฟลเดอร์กล่าว "เมื่อเราเข้าไปยังห้องพิจารณาคดีเป็นครั้งแรก แมถ่ายรูปเก็บเอาไว้ด้วยความนับถืออย่างมาก เช่นเกียวกับที่หนังคดีความเรื่องอื่นๆ ในการดำเนินไปของเรื่องเราก็ยักย้ายสิ่งแวดล้อม ถ่ายทำฉากจำนวนมากด้วยกล้องมือถือ หรือสเตดิแคม บ่อยครั้งที่ล้ำเส้นเวทีเพื่อสร้างภาพที่สื่อถึงความไม่แน่นอน"
การให้แสงของช่างภาพ โรเบิร์ต เอลส์วิท นับเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการเป็นสื่อการบรรยายของหนัง แต่ละฉากมีคุณภาพแสงของตัวมันเอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นการอุปมาสำหรับ หรือเพื่อก่อให้เกิดแอ็คชั่น ตัวละคร และอารมณ์
เจฟฟรีย์ ดาวเนอร์ ผู้อำนวยการบริหาร ผู้เคยร่วมงานเป็นประจำกับเฟลเดอร์ ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้ากับการทำหนังใหญ่ จากการทำงานกับเรื่อง "Courage Under Fire" และ"Speed 2: Cruise Control" หนังเรื่อง RUNAWAY JURY ซึ่งมีผู้แสดงที่มีบทพูดถึง 75 คน รวมทั้งตัวแสดงหลักถึง 25 คนในฉากห้องพิจารณาคดี และตัวแสดงประกอบอีก 3000 คน นับเป็นความท้าทายที่โดดเด่นของการขนย้าย "หนังเรื่องอื่นๆ ในขนาดเดียวกันนี้มีดารามากมายแต่ไม่กี่คนที่ต้องทำงานทุกวัน" ดาวน์เนอร์กล่าว ในขณะที่นืยายของจอห์น กริสแชมใช้ฉากเดินเรื่องในไบล็อคซี มิสซิสซิปปี ทีมงานสร้างได้เลือกที่จะถ่ายทำ RUNAWAY JURY ในนิว ออร์ลีนส์ โดยใช้โลเคชั่นกว่า 50 แห่งในเมืองส่วนใหญ่ที่เฟรนช์ ควอเตอร์ "นิวออร์ลีนส์เป็นเอกลักษณ์ของมันเองในเรื่อง" เฟลเดอร์อธิบาย "มีสองด้านของเมือง: สถาปัตยกรรมที่สวยงาม เป็นตัวเอก เหมือนตัวละครในเรื่อง แต่ก็มีด้านมืดอยู่เบื้องล่าง ทั้งสองด้านสะท้อนถึงตัวแสดงในเรื่อง มันเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับหนัง"
เพื่อรองรับช็อตที่ซับซ้อนและสับสนซึ่งวางแผนโดนเฟลเดอร์ ทีมผู้สร้างได้จัดการสร้างฉากหลายฉากบนซาวนด์สเตจ โดยเนลสัน โคตส์ ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ อีกคนหนึ่งที่ร่วมงานกันมานานกับเฟลเดอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างของฉากที่ปรับเปลี่ยนได้ เพื่อให้เฟลเดอร์สามารถถ่ายทำได้จากทุกมุมเท่าที่จะเป็นไปได้
นอกจากนั้น เฟลเดอร์และโคตส์ยังทำคอกคณะลูกขุน และคอกพยานที่ใส่ล้อเอาไว้ ซึ่งรองรับทางเลือกในการถ่ายทำได้เป็นอย่างดี "ผมอยากเชื่อมโยงองค์ประกอบของเรื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" เฟลเดอร์บอก "แบบนั้นผมสามารถถ่ายให้คณะลูกขุนอยู่ด้านหน้า ทนายอยู่ตรงกลาง และผู้พิพากษาอยู่เป็นแบ็คกราวนด์ ในช็อตเดียวกันได้ การที่สามารถเคลื่อนย้ายองค์ประกอบไปมาได้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก"--จบ--
-รก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ