
เมื่อโครงสร้างพื้นฐานและอาคารหลายแห่งในประเทศไทยมีอายุใช้งานเกินกว่า 30-50 ปี พร้อมเผชิญกับความเสี่ยงใหม่ ๆ จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ธุรกิจซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงสร้าง จึงไม่ได้เป็นเพียงงานบำรุงปกติอีกต่อไป แต่กลายเป็นหนึ่งใน "แนวป้องกันระดับชาติ" ที่จะช่วยยืดอายุอาคาร ลดการสูญเสีย และป้องกันความเสียหายเชิงเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ
แผ่นดินไหว: ความเสี่ยงที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด
แม้ว่าไทยจะไม่ได้อยู่ในแนวรอยเลื่อนหลักของโลก แต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่เมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ส่งแรงสั่นสะเทือนถึงหลายจังหวัดในประเทศไทย จนทำให้เกิดผลกระทบด้านโครงสร้างอาคารหลายแห่งเสียหาย รวมถึงเหตุแผ่นดินไหว 6.4 ริกเตอร์ ที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ในปี 2557 แรงสั่นสะเทือนส่งผลถึงตึกสูงในกรุงเทพฯ ด้วยเช่นกัน เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างในไทย โดยเฉพาะอาคารเก่า ที่แม้จะมีการออกแบบรับแรงสั่นสะเทือนแล้ว ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากภัยแผ่นดินไหวด้วย
CPAC บริษัทในเครือเอสซีจี ซึ่งร่วมทุนกับ SB&M ได้นำความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีซ่อมแซมโครงสร้างของ SB&M มาต่อยอดธุรกิจ Lifetime Solution แบบครบวงจร เพื่อให้บริการงานก่อสร้างในไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบ ไปจนถึงซ่อมแซม เสริมกำลัง และป้องกันความเสียหายของโครงสร้างในระดับลึก
"เราไม่ได้มองแค่การซ่อมเมื่อเกิดความเสียหาย แต่คือการยืดอายุ และทำให้อาคาร-โครงสร้างพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน เช่น แผ่นดินไหว" นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่
เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ กล่าว
เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น สู่การประยุกต์ใช้ในไทย
ญี่ปุ่นคือหนึ่งในประเทศที่มีประสบการณ์ในการรับมือแผ่นดินไหวมากที่สุดในโลก และ SB&M ก็ถือกำเนิดจากสองบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ SHO-BOND ซึ่งมีความเชี่ยวชาญวัสดุซ่อมแซมระดับจุลภาค และ Mitsui กลุ่มธุรกิจธุรกิจเทรดดิ้งและการลงทุนระดับโลก ที่ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีในการเสริมความแข็งแรงและซ่อมแซมโครงสร้างขนาดใหญ่หลังเหตุภัยพิบัติ นอกจากความเชี่ยวชาญวัสุดุซ่อมแซมระดับจุลภาค SB&M ยังมีความชำนาญแบบเจาะลึกทั้งด้านเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ และการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซม โดยเฉพาะใน 3 ด้านหลัก:
การร่วมทุนในครั้งนี้ จึงเป็นการนำความรู้และจุดแข็งของทั้ง SB&M และ Mitsui มาต่อยอดผ่านบริการ 5 กลุ่มหลักของ CPAC-SB&M ได้แก่:
- การตรวจประเมินสุขภาพโครงสร้างด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
- การซ่อมแซมและบำรุงรักษาตามมาตรฐานวิศวกรรม
- การเสริมกำลังโครงสร้างให้รองรับแรงสั่นสะเทือนได้มากขึ้น
- การป้องกันสนิมและการกัดกร่อน เพื่อยืดอายุการใช้งาน
- การจัดหาวัสดุนวัตกรรมที่ออกแบบเฉพาะสำหรับงานซ่อมแซม
กรณีศึกษา: การฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น
หากถามว่า หัวใจสำคัญของงานซ่อมแซม ป้องกันอาคารคืออะไร คำตอบที่มาเป็นอันดับแรกเลยคือ การตรวจประเมินความเสียหายอย่างละเอียด ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด เพราะต้องทราบต้นตอและขอบเขตของความเสียหายก่อน ต่อจากนั้นจึง เลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การสแกนโครงสร้าง (Structural Scanning), การวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง 3 มิติ (BIM), หรือ AI วิเคราะห์ความผิดปกติวิเคราะห์ว่าโครงสร้างยังปลอดภัยหรือไม่ ควรซ่อมแซมหรือรื้อบางส่วน
ต่อจากนั้นคือ การวางแผนและออกแบบการซ่อมแซมอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างซ่อม, อายุการใช้งานในอนาคต และต้นทุน การเลือกใช้วัสดุและวิธีการซ่อมที่เหมาะกับประเภทความเสียหาย เช่น คอนกรีตร้าว, เหล็กเป็นสนิม, ฐานรากทรุดตัว โดยต้องมีวิศวกรโครงสร้างหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าร่วม
หลังจากนั้นคือ การดำเนินการซ่อมแซมด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ใช้ทีมช่างหรือผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ มีการควบคุมคุณภาพงาน (QC) และความปลอดภัยระหว่างทำงาน สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ
การบำรุงรักษาและติดตามผลระยะยาว ไม่ใช่แค่ซ่อมแล้วจบ แต่ต้องมีแผนบำรุงรักษาระยะยาว เช่น
การตรวจสอบประจำปี ติดตั้งระบบติดตามโครงสร้าง เช่น IoT sensor ตรวจจับแรงสั่นสะเทือน ความชื้น
การทรุดตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียหายซ้ำ และยืดอายุอาคาร
หนึ่งในผลงานเด่นของ SB&M คือ การฟื้นฟูสะพานและโครงสร้างริมทางด่วนในเมืองคุมาโมโตะ
หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี 2559 ทีมงานของ SB&M สามารถเร่งตรวจสอบจุดร้าว ปรับปรุงฐานราก และเสริมกำลังสะพานให้กลับมาใช้งานได้ในเวลาอันสั้น พร้อมเพิ่มการป้องกันแรงสั่นในอนาคต
เทคโนโลยีเดียวกันนี้กำลังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างในประเทศไทย เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม อาคารราชการ โรงพยาบาล สะพานขนาดใหญ่ ไปจนถึงโครงสร้างสาธารณูปโภค
จาก "ซ่อมแซม" สู่ "การลงทุนเพื่อความปลอดภัยระยะยาว"
ในยุคที่โครงสร้างเก่าและภัยธรรมชาติเพิ่มความเสี่ยงให้เมืองไทย การเลือก "ซ่อมแซม" แบบมืออาชีพจึงไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกต่อไป แต่คือการวางระบบความปลอดภัยของสิ่งก่อสร้าง โครงการต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
CPAC-SB&M จะนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่มี มายกระดับการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดูแลโครงสร้างสำคัญทั่วประเทศ ด้วยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีระดับโลก และวัสดุซ่อมแซมที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน
