
พ่อแม่หลายคนอาจเคยกังวลเมื่อลูกซน วิ่งเล่นไม่หยุด จนมีคนทักว่า "ลูกสมาธิสั้นหรือเปล่า?" คำถามนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจ ว่าพฤติกรรมของลูกที่อยู่ไม่นิ่งนั้นเป็นเรื่องปกติ หรือเป็นสัญญาณของภาวะสมาธิสั้นกันแน่?
- ความแตกต่างระหว่างเด็กซนตามวัยกับโรคสมาธิสั้นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เกิดจากความบกพร่องของสมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่ควบคุมสมาธิและพฤติกรรม โดยเฉพาะในเด็กวัย 2-3 ขวบ สมองส่วนนี้ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เด็กมีพฤติกรรมซุกซน อยู่ไม่นิ่ง เปลี่ยนความสนใจง่าย ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการวัยนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาล สมาธิจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่หากเด็กยังมีพฤติกรรมไม่จดจ่อ ซนมากกว่าปกติ ไม่สามารถทำตามคำสั่ง เหม่อลอยบ่อยๆ หรือควบคุมตัวเองได้ยาก อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะสมาธิสั้น
- ควรพาเด็กไปพบแพทย์เมื่อไหร่?หากพ่อแม่สังเกตเห็นว่า ลูกมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งเกินวัย เปลี่ยนกิจกรรมบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการเรียน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ แม้ว่าประมาณ 10-20% ของเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นอาจดีขึ้นเองเมื่อโตขึ้น แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รับการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางความคิด การเรียนรู้ การจัดการชีวิต รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้อื่นในอนาคต
- การรักษาและการดูแลโรคสมาธิสั้นต้องอาศัยการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยต้องได้รับความร่วมมือจากพ่อแม่ ครู และทีมสหวิชาชีพ เช่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา หรือครูการศึกษาพิเศษ การดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาสมาธิ ควบคุมพฤติกรรม และเพิ่มความมั่นใจในตนเอง ส่งผลให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
พ่อแม่ควรสังเกต ใส่ใจและเข้าใจลูก เพื่อให้สามารถรับมือกับภาวะสมาธิสั้นได้อย่างถูกต้อง เพราะหากตรวจพบและดูแลได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในอนาคต
"กิจกรรมบำบัด กับการพัฒนาการเด็กพิเศษ" คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2027สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมCall Center 1512 ต่อ 2999Line Official : @ramhospital