
- ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าองค์กรมีความสามารถในการบูรณาการโครงการด้านความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ แผนงาน และการใช้เทคโนโลยีขององค์กร
- เกือบ 48% ของธุรกิจไทย ใช้ AI ติดตามการปล่อยมลพิษ
- มีเพียง 18% เท่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในองค์กร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
คินดริล (Kyndryl - NYSE: KD) ผู้ให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก เผยแพร่ผลการศึกษา Global Sustainability Barometer ครั้งที่สอง โดยการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ จัดทำโดย Ecosystm ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทย (82%) ยังไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้โซลูชัน AI นอกจากนี้ แม้ผลสำรวจพบว่า 32% ของบริษัทในประเทศไทยได้เพิ่มเป้าหมายและการดำเนินการด้านความยั่งยืนในแต่ละปี แต่มีเพียง 18% เท่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในองค์กร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คินดริล ประเทศไทย กล่าวว่า "ประเทศไทยอยู่ ณ จุดเปลี่ยนสำคัญบนเส้นทางสู่ความยั่งยืน ผลการศึกษา Global Sustainability Barometer ทำให้เราได้เห็นข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณประโยชน์ว่า ประเทศไทยจะเร่งเดินสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นได้อย่างไร การศึกษาครั้งนี้เน้นให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่ธุรกิจไทยต้องไม่เพียงใช้เทคโนโลยี และใช้ข้อมูลเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน และกระตุ้นให้พนักงานขององค์กรมีส่วนร่วมในโครงการด้านความยั่งยืนอย่างแข็งขัน องค์กรหลายแห่งพยายามที่จะแปลงความตั้งใจและแนวคิดที่ดีต่าง ๆ ให้เป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรม การใช้พลังของข้อมูล, AI และ การทำงานร่วมกัน จะช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมช่องว่างนี้ สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
โอกาสของธุรกิจไทย
การศึกษาพบว่า แม้ว่าผู้นำองค์กรธุรกิจไทยจะตระหนักถึงคุณค่าของความยั่งยืน แต่ยังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI มาช่วยปรับปรุงวิธีการแปลงเป้าหมายต่าง ๆ ให้เป็นการกระทำที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษานี้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดและมอบข้อมูลเชิงลึกที่สามารถช่วยให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรในประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลักการสำคัญต่อไปนี้จะช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด
- จัดให้ความยั่งยืนเป็นหนึ่งในลำดับความสำคัญแรก ๆ ของธุรกิจ และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความรับผิดชอบร่วมกัน สำหรับประเทศไทย หน่วยงานสำคัญที่จะกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายด้านความยั่งยืนคือทีมที่ดูแลด้านกฎหมายและความเสี่ยง รองลงมาคือทีมจัดซื้อจัดจ้าง และทีมปฏิบัติการ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน การสร้างให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกทีมเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงทีมการเงินและไอทีที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อร่วมกันวางแผนด้านความยั่งยืนและลงมือทำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ให้เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ แม้ว่าในปีที่ผ่านมา 32% ขององค์กรไทยได้เพิ่มความพยายามด้านความยั่งยืนอย่างมาก แต่บริษัทต่าง ๆ ควรก้าวไปให้ไกลกว่าเพียงเรื่องของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ไอทีเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนในวงกว้างมากขึ้น เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและซัพพลายเชน (52% ทำแล้ว) หรือ การใช้ AI ช่วยให้ได้ประสิทธิผลมากขึ้น (47%)
- ใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ AI แม้ว่า AI จะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อการกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน แต่องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้างจากการใช้ AI แม้ธุรกิจไทยเกือบครึ่ง (48%) ใช้ AI ในการติดตามเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แต่ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่ามีช่องว่างสำคัญในการทำความเข้าในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ AI องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยจึงต้องจัดให้ความสำคัญของการใช้ AI อย่างรับผิดชอบอยู่ในลำดับต้น ๆ ด้วยการวัดผลกระทบและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้โซลูชัน AI ขององค์กรเอง
- ให้ความสำคัญกับการบูรณาการและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างราบรื่น เพื่อเพิ่มความร่วมมือ 40% ขององค์กรไทยพบว่าความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการใช้มาตรการด้านความยั่งยืน คือ การเอาชนะความยากของการเข้าถึงข้อมูลข้ามระบบต่าง ๆ ที่แยกส่วนกัน องค์กรไทยควรลงทุนที่จะทำให้เกิดการไหลของข้อมูลระหว่างแผนกต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วในการตัดสินใจ ช่วยให้มองเห็นความเป็นไป ได้ชัดเจนมากขึ้น และทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการด้านความยั่งยืนต่าง ๆ จะมีข้อมูลที่ถูกต้องแบบเรียลไทม์รองรับอยู่เบื้องหลัง
นายแมทธิว เซคอล ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนระดับโลก, ไมโครซอฟท์ กล่าวว่า "บริษัทต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านความยั่งยืนและสร้างความยืดหยุ่นได้โดยบูรณาการข้อมูลความยั่งยืนเข้ากับข้อมูลการดำเนินงานและการเงิน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบดั้งเดิมร่วมกับเครื่องมือ AI ที่มีประสิทธิภาพเพื่อปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการดำเนินงานและส่งเสริมนวัตกรรมที่ยั่งยืน"
คินดริลและไมโครซอฟท์ นำเสนอกลยุทธ์ที่ทำได้จริง เพื่อให้องค์กรวัดปริมาณการปล่อยมลพิษของโครงสร้างพื้นฐาน และปรับแต่งสถาปัตยกรรม AI ให้เหมาะสม รวมถึงโมเดล AI และ machine learning เพื่อลดการใช้พลังงานและลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด คินดริลและไมโครซอฟท์ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับองค์กรทั่วโลกเพื่อให้มั่นใจว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีส่วนสนับสนุนเชิงบวกต่อเป้าหมายด้านความยั่งยืนโดยปราศจากผลกระทบต่อการสร้างนวัตกรรม
นายอูลริช เลิฟเฟลอร์, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ร่วมก่อตั้งของ Ecosystm กล่าวว่า "เรากำลังเห็นองค์กรในอาเซียนจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่และกลุ่มบริษัทต่าง ๆ จัดให้ความยั่งยืนเป็นกลยุทธ์สำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และ AI มีบทบาทสำคัญต่อความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนเหล่านี้ โดยช่วยให้ธุรกิจใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสีย และสนับสนุนให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ทิศทางนี้มีแนวโน้มจะส่งผลต่อตลาดอาเซียนในวงกว้าง เป็นการส่งเสริมระบบนิเวศแห่งความร่วมมือที่จะสร้างอนาคตที่มีความยั่งยืนและเท่าเทียมกันมากขึ้นให้กับคนรุ่นต่อไป"