
บริษัท จีไอเอส จำกัด ผู้นำด้านระบบภูมิสารสนเทศแบบครบวงจร ในกลุ่มบริษัทซีดีจี ส่งเทคโนโลยี "นอสตร้า โลจิสติกส์" (NOSTRA LOGISTICS) ลงสนามสนับสนุนกลุ่มธุรกิจแก้เกมต้นทุนอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ครึ่งปีหลัง 2568 โดยปรับกลยุทธ์ไปที่กลุ่มธุรกิจการผลิตสินค้า ผู้นำเข้า-ส่งออกและผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนน พร้อมรับมือกับวิกฤตรอบด้านด้วย NOSTRA LOGISTICS TMS Platform ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเชิงระบบ รองรับการบริหารจัดการขนส่งที่ชาญฉลาด พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Smart Logistics อย่างแท้จริง ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีขนส่งโลจิสติกส์ของไทย พร้อมเดินหน้าสนับสนุนภาคเอกชนในการยกระดับธุรกิจด้วยข้อมูลและระบบอัจฉริยะต่อไป คาดลดต้นทุนขนส่งให้ธุรกิจได้มากกว่า 15% ต่อปี

ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า "แนวโน้มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังคงเผชิญแรงกดดันรอบด้าน ทั้งจากต้นทุนขนส่งต่อ GDP ของไทยที่สูงถึง 14.1% ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของหลายประเทศในภูมิภาค ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดความสามารถในการแข่งขัน ยิ่งไปกว่านั้น คาดการณ์รายได้ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยรวมในปีนี้คาดว่าจะเติบโตเพียง 3.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน สวนทางกับภาคธุรกิจการผลิต (1PL) ที่มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปี ระหว่างปี 2024-2029 โดยหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือ ภาคการผลิตเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีคือแต้มต่อในการเพิ่มประสิทธิภาพ บริหารความเสี่ยงและซัพพลายเชน เพิ่มความยืดหยุ่นให้ธุรกิจ เพื่อตอบรับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการขนส่งทางถนนซึ่งเป็นภาระหลักของธุรกิจ จึงกลายเป็นจุดที่องค์กรต้องเร่งจัดการ"
เพื่อตอบรับกับความผันผวนและต้นทุนการขนส่งทางถนนที่อยู่ในระดับสูง คิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% ของการขนส่งรวม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันโดยตรง ดังนั้น NOSTRA LOGISTICS TMS Platform ที่รวมเอาศักยภาพของ TMS (Transportation Management System) หรือระบบบริหารจัดการขนส่งอัจฉริยะ ผนวกกับความสามารถในการติดตามสถานะขนส่งแบบเรียลไทม์ของโมบายแอปพลิเคชัน ePOD (Electronic Proof of Delivery) เป็นโซลูชันสำคัญที่จะมาช่วยภาคธุรกิจพลิกเกมในครึ่งปีหลัง ยกระดับบริหารการขนส่ง ลดค่าใช้จ่ายกล่องจีพีเอส ควบคุมต้นทุน ลดรอบวิ่งรถซ้ำซ้อน วางแผนเส้นทางให้เหมาะสมรวมถึงรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็น ERP หรือ WMS ให้เป็น IT Ecosystem พร้อมปรับแต่งให้สอดคล้องกับแต่ละธุรกิจ ครอบคลุมทั้งผู้ผลิตสินค้า (1PL) ผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร (3PL) และผู้รับจ้างขนส่ง (Subcontractor)
ด้วยแพลตฟอร์มที่รองรับการใช้งานผ่าน Web และ Mobile Application ผสานพลังของเทคโนโลยี GIS และ AI ที่ใช้วางแผนเส้นทางอัจฉริยะ (VRP) ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการขนส่งรวดเร็วและแม่นยำ บริหารจัดการฟลีทรถขององค์กรหรือจากผู้รับจ้างขนส่งได้ผ่านแพลตฟอร์มเดียวกัน ผลักดันการใช้รถให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มความโปร่งใสในการบริหารจัดการ และควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงครึ่งปีหลัง 2568 บริษัทมีแผนเร่งต่อยอดการใช้งานระบบ TMS ในกลุ่มลูกค้าเดิมที่เป็นพันธมิตรธุรกิจมาอย่างยาวนาน ทั้งในกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้ผลิตวัตถุดิบและเชื้อเพลิง ตลอดจนกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งข้ามพรมแดน ควบคู่ไปกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ในภาคการผลิตอื่น ๆ โดยตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานระบบ TMS ให้เติบโตขึ้น 100%เพื่อสนับสนุนการยกระดับภาคการผลิตไทยด้วยเทคโนโลยีขนส่งอัจฉริยะ ที่ออกแบบมาให้ปรับใช้ได้จริงในบริบทของแต่ละธุรกิจ และสร้างผลลัพธ์ที่วัดได้ทั้งด้านต้นทุนและประสิทธิภาพ
สำหรับความกังวลในครึ่งปีหลังถึงปัจจัยต่าง ๆ ดร.ธนพร มองว่านี่คือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของทุกองค์กร การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจึงไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การบริหารจัดการการขนส่งแบบอัจฉริยะ เพื่อควบคุมการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนในระยะยาว ซึ่งหากดูจากมูลค่าธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนนปี 2567-2569 มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 2.0-3.0% ต่อปี สะท้อนว่าอุตสาหกรรมนี้ยังมีศักยภาพจึงควรเร่งนำระบบบริหารจัดการอัจฉริยะมาใช้อย่างจริงจัง เพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมรายได้และกำไรให้แก่ธุรกิจ
"ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี บริษัท จีไอเอส ไม่ได้เป็นเพียงผู้พัฒนาเทคโนโลยี แต่เป็นพันธมิตรที่เข้าใจปัญหาและความต้องการของภาคธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาโซลูชันสำหรับภาคขนส่งและโลจิสติกส์ผ่านประสบการณ์ทำงานมามากกว่า 200 องค์กร เราจึงตระหนักดีว่าการเปลี่ยนผ่านในอุตสาหกรรมนี้ต้องอาศัยมากกว่านวัตกรรม นั่นคือการสร้างระบบที่ยืดหยุ่น เชื่อมโยง ปรับใช้ได้จริงในบริบทของแต่ละธุรกิจ และนอกจากเพื่อลดต้นทุน ยังเป็นปัจจัยสำคัญในกลไกขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันระยะยาว และหากทุกภาคส่วนก้าวไปพร้อมกัน ความเปลี่ยนแปลงนี้จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยที่ยั่งยืน" ดร.ธนพร กล่าวปิดท้าย