
- YouTrip กลายเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับนักเรียนไทยในต่างประเทศ ช่วยประหยัดมากกว่า 2.5% สำหรับค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพในต่างประเทศ จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี ไม่มีค่าธรรมเนียม
- สหราชอาณาจักร,สหรัฐอเมริกา, และออสเตรเลีย ยังคงเป็นเป้าหมายยอดนิยมสำหรับการศึกษาต่อในระดับปริญญา ขณะที่จีนได้รับความสนใจในหลักสูตรภาษาและโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้นเพิ่มขึ้น
- YouTrip คืนความคุ้มค่า Cashback มอบสิทธิ์รับเงินคืนสำหรับการชำระค่าเล่าเรียน พร้อมถอนเงินผ่านตู้ ATM ฟรี เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการเรียนต่อต่างประเทศ
กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2568 - แม้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะลดลงและความผันผวนทางเศรษฐกิจมหภาคยังคงดำเนินอยู่ ครอบครัวไทยยังคงมองว่าการศึกษาในต่างประเทศเป็นการลงทุนระยะยาวที่สำคัญสำหรับอนาคตของบุตรหลาน YouTrip (ยูทริป) ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุลและ Travel card อันดับ 1 ที่นักเดินทางไทยไว้วางใจ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ได้กลายเป็นบริการทางการเงินที่ได้รับความนิยมสำหรับการจัดการค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในต่างประเทศ
ในการเติบโตของยอดการชำระค่าเล่าเรียนผ่าน YouTrip เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 70% เมื่อเทียบกับปีก่อน สิ่งนี้สะท้อนถึงบทบาทของ YouTrip ในฐานะ "ผู้นำด้านการชำระเงินระหว่างประเทศ" ที่ครอบครัวและนักเรียนต่างวางใจ ยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความผันผวน
การชำระค่าเล่าเรียนสถาบันการศึกษาชั้นนำใน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา จีน และประเทศต่างๆ ทั่วโลก YouTrip ตอบโจทย์ในการใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศด้วยเรทที่ดี ไม่มีค่าธรรมเนียม 2.5% ต่างจากบัตรเครดิต จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่นักเรียนไทยเลือกใช้เวลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากสถิติของ YouTrip ในสหราชอาณาจักร (UK) นักเรียนไทย 54% ที่ศึกษาอยู่ที่นั่นใช้ YouTrip เป็นช่องทางการชำระเงินหลักสำหรับค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายประจำวัน สถาบันชั้นนำที่นักเรียนไทยนิยม ได้แก่ Imperial College London, King's College London, London School of Economics และ Leeds University นอกจาก UK แล้ว นักเรียนไทยยังคงเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรเต็มเวลา (ระดับปริญญาตรี โท และเอก) ในสหรัฐอเมริกา (US) ออสเตรเลีย และแคนาดา โดยมีนักเรียนไทยเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น
- สหรัฐอเมริกา: Berklee College of Music, UCLA, MIT และ Harvard Business School
- ออสเตรเลีย: RMIT University, Swinburne University, Macquarie University, University of Queensland, University of Sydney และ Monash University
- แคนาดา: Douglas College, Centennial College และ Langara College
สำหรับโปรแกรมแลกเปลี่ยนระยะสั้น หรือ Summer School เป็นอีกจุดหมายในเอเชียที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนมีจำนวนนักเรียนไทยเข้าร่วมเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น หลักสูตรระยะสั้นของ Zhongnan University (Wuhan), South China University of Technology และ Zhejiang University
ค่าเล่าเรียนสำหรับปีการศึกษา 2025/2026 ระดับปริญญาตรีเต็มเวลาที่ Harvard[1] ในสหรัฐอเมริกา มีค่าใช้จ่ายโดยประมาณอยู่ที่ 2.8 ล้านบาท ที่ King's College London[2] ในสหราชอาณาจักร ประมาณ 2.4 ล้านบาท และที่ South China University of Technology[3] ในจีน ประมาณ 900,000 บาท แม้ค่าเล่าเรียนจะเป็นองค์ประกอบสำคัญของค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องพิจารณาอย่างรอบด้านคือ ค่าครองชีพ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการวางแผนงบประมาณตลอดระยะเวลาที่ศึกษา โดยคาดการณ์ค่าครองชีพรายปีสำหรับนักเรียนที่ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา[4] ประมาณ 540,000 - 670,000 บาท ประมาณ 330,000 - 580,000 บาท สำหรับการศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร[5] และประมาณ 332,000 บาทที่จีน[6]
พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักเรียนสะท้อนวิถีชีวิตในต่างแดนและแรงกดดันด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้น จากสถิติของ YouTrip พบว่า "การช้อปปิ้ง" เป็นหมวดค่าใช้จ่ายอันดับแรกของนักเรียนไทยในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาสิ่งของเข้าที่พัก ไปจนถึงการให้รางวัลตัวเองด้วยสินค้าแบรนด์เนมหรือของสะสมยอดนิยมอย่าง Pop Mart ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในทุกประเทศที่นักเรียนไทยไปเรียน โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรที่นักเรียนมีแนวโน้มใช้จ่ายกับสินค้าหรูมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากราคาที่ดึงดูดใจและอยู่ใกล้ศูนย์กลางการช้อปในยุโรป แม้จะมีการใช้จ่ายเพื่อความเพลิดเพลิน แต่นักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย มักเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าท้องถิ่นเพื่อความประหยัด และสินค้าที่ไม่มีในประเทศไทย
รองจากหมวดช้อปปิ้ง ค่าใช้จ่ายที่พบได้บ่อย คือการรับประทานอาหารนอกบ้านและการซื้อของใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามวิถีชีวิตของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะค่าอาหารและความบันเทิงทั้งในแง่ราคาและพฤติกรรมการใช้จ่าย ที่สะท้อนค่านิยมและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
นักเรียนไทยที่เรียนในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะเลือกทำอาหารรับประทานเองมากขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพโดยเฉพาะค่าอาหารนอกบ้านมีราคาสูง ในเมืองใหญ่อย่างลอนดอนและซิดนีย์ การไปรับประทานอาหารในร้านอาจมีค่าใช้จ่ายสูงเป็นสองเท่าของการซื้อวัตถุดิบจากซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น เช่น Tesco (สหราชอาณาจักร) และ Coles (ออสเตรเลีย) เพื่อมาประกอบอาหารเองที่บ้าน
ในทางตรงกันข้าม นักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะทำอาหารเองและรับประทานอาหารนอกบ้านในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดชื่อดังมีราคาเข้าถึงง่าย เช่น Shake Shack และ In-N-Out นอกจากนี้วัฒนธรรมการให้ทิปในสหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่เลือกบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดมากกว่าการนั่งร้านอาหาร เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
อีกหนึ่งพฤติกรรมที่พบเหมือนกันในทุกประเทศปลายทาง คือความรักในอาหารไทยและอาหารเอเชียของนักเรียนไทย ซึ่งนำไปสู่การแวะเวียนหาร้านอาหารเอเชีย เช่น Panda Express เพื่อเต็มอิ่มกับรสชาติที่คุ้นเคยระหว่างการใช้ชีวิตในต่างแดน
การเรียนต่อต่างประเทศยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สำรวจสิ่งใหม่ๆ ไปพร้อมกับการเรียนรู้ นับเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่หลายคนให้ความสำคัญ อาทิ ในสหราชอาณาจักร สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนลดนักเรียนและการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฟรี ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายด้านความบันเทิงได้, ในออสเตรเลียและแคนาดา นักเรียนมักใช้เวลาว่างไปกับกิจกรรมกลางแจ้งที่มีต้นทุนต่ำ เช่น การเดินป่าในอุทยานแห่งชาติ หรือการท่องเที่ยวชายหาดธรรมชาติ ตอบโจทย์ทั้งในด้านประสบการณ์และความคุ้มค่า
ในทางตรงกันข้าม นักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาจำนวนไม่น้อยมีค่าใช้จ่ายด้านกิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นเกือบสองเท่า เช่น ราคาบัตรเข้า Disneyland ในสหรัฐฯ สูงกว่าทัวร์ Great Ocean Road แบบครบวงจรในออสเตรเลียมากกว่าสองเท่า
ประเทศจีนถือเป็นจุดหมายปลายทางที่นักเรียนมีค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุด ปัจจัยสำคัญมาจากค่าครองชีพที่ไม่สูง และค่าท่องเที่ยวที่เข้าถึงได้ง่าย ทำให้นักเรียนสามารถใช้ชีวิตและท่องเที่ยวได้อย่างประหยัดกว่าประเทศอื่นอย่างเห็นได้ชัด
นายชยพัทธ์ ปทุมนากุล (ปอนด์), ศิษย์เก่าไทยจาก The University of Manchester, ปริญญาโทสาขานวัตกรรมการจัดการและการประกอบการ, รุ่นปี 2023, กล่าวว่า "การใช้ชีวิตที่อังกฤษ ผมต้องวางแผนเรื่องเงินให้รอบคอบ ทั้งทำงานพิเศษ เรียนไปด้วย เพราะค่าครองชีพสูงมากครับ ผมใช้ YouTrip เป็นหลักในการจัดการเรื่องการเงินครับ ไม่ว่าจะเป็นจ่ายค่าเรียน ค่าที่พัก หรือแลกเงินเวลาที่เรทดีๆ มันช่วยให้วางแผนค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น แล้วก็ประหยัดไปได้เยอะเลย"
การบริหารจัดการสกุลเงินอย่างคุ้มค่าสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง เนื่องจากความต้องการศึกษาต่อต่างประเทศยังคงมีอยู่สูง การบริหารจัดการสกุลเงินอย่างชาญฉลาดจึงมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับครอบครัวที่วางแผนค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ
นางสาวจุฑาศรี คูวินิชกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip ประเทศไทย กล่าวว่า "แม้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อต่างประเทศจะดูเป็นภาระที่หนักในช่วงแรก แต่ก็ถือเป็นการลงทุนที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ไม่เพียงเพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ หากยังรวมถึงโอกาสในการเติบโตและการเรียนรู้ และเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ แม้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ครอบครัวจำนวนมากยังคงให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะผลตอบแทนจากการเรียนรู้ประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการปรับตัวในโลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โอกาสในระดับสากล หรือการเสริมสร้างศักยภาพที่พร้อมรับอนาคต ที่ YouTrip เรามุ่งมั่นสนับสนุนนักเรียนและผู้ปกครองให้สามารถก้าวผ่านการลงทุนครั้งสำคัญนี้ได้อย่างราบรื่นข้ามพรมแดน เพื่อให้เรื่องของการเงินไม่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโต"
เพื่อส่งเสริมความรู้ทางการเงิน YouTrip จัดกิจกรรมโรดโชว์ด้านการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นักเรียนไทยได้รับความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการอัตราแลกเปลี่ยนและค่าใช้จ่าย ความพยายามเหล่านี้ส่งผลให้นักเรียนไทยมีความรู้ทางการเงินมากขึ้น โดยนักเรียนไทย 3 ใน 5 คนติดตามอัตราแลกเปลี่ยนอย่างกระตือรือร้นและแลกเงินบาทล่วงหน้าเป็นสกุลเงินปลายทางเพื่อล็อกอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี
YouTrip ยังตระหนักถึงความต้องการเงินสดในยามฉุกเฉิน ด้วยเหตุนี้ จึงมีบริการถอนเงินจากตู้ ATM ฟรี (สูงสุด 50,000 บาทต่อเดือน) เพื่อให้นักเรียนมีความยืดหยุ่นทางการเงิน ความปลอดภัย และความสบายใจเพิ่มเติมในขณะที่อยู่ต่างประเทศ
แคมเปญ Student Perks เรียนนอกแบบ Smart มอบ Cashback[7] เพื่อสนับสนุนผู้ปกครองและนักเรียน
เพื่อช่วยผู้ปกครองและนักเรียนจัดการค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ YouTrip จึงนำโปรโมชันเงินคืนสำหรับการชำระค่าเล่าเรียนในสกุลเงินต่างประเทศกลับมาอีกครั้ง! นักเรียนสามารถรับเงินคืนสูงสุด 2,000 บาท สำหรับค่าเล่าเรียนที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศที่ชำระระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568 โดยมียอดใช้จ่ายขั้นต่ำ 150,000 บาทต่อครั้ง นักเรียนแต่ละคนสามารถใช้สิทธิ์ได้สูงสุดสองครั้ง (เงินคืนครั้งละ 1,000 บาท) ตลอดระยะเวลาแคมเปญ
[1] Harvard Cost of Attendance for 2025-2026
[2] King's College London Study Abroad fees 2025/26
[3] South China University of Technology Tuition Fee Structure for International Students
[4] Estimated living cost in USA for international students
[5] ค่าเล่าเรียนโดยเฉลี่ยในสหราชอาณาจักร (Tuition Fees)
[6] Year 2025 Cost of Living in China
[7] อ่านรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่: https://www.you.co/th/jul2025campaign-tnc/