มกอช. มุ่งสืบสาน ต่อยอด พระราชดำริพ่อหลวง

ข่าวทั่วไป Monday July 21, 2025 11:53 —ThaiPR.net

มกอช. มุ่งสืบสาน ต่อยอด พระราชดำริพ่อหลวง

มกอช.ร่วมกับกรมประมง ติดตามพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่โครงการหลวง ตรวจต่ออายุมาตรฐาน มกษ.7436-2563 มุ่งสืบสาน ต่อยอด พระราชดำริพ่อหลวง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) โดยกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ร่วมกับกรมประมง ลงพื้นที่ตรวจติดตาม ให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับ การพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมทั้งตรวจต่ออายุตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค มกษ. 7436-2563 ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยง ปลาเรนโบว์เทราต์และปลาสเตอร์เจียน ของสำนักงานมูลนิธิโครงการหลวง ณ หน่วยวิจัยและพัฒนาบนพื้นที่สูง บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

มกอช. มุ่งสืบสาน ต่อยอด พระราชดำริพ่อหลวง

การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค มกษ. 7436-2563 กำหนดเป็นมาตรฐานทั่วไป (มาตรฐานสมัครใจ) มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป มีขอบข่ายครอบคลุมข้อกำหนดสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค คือ การเลี้ยงในบ่อ และการเลี้ยงในแหล่งน้ำสาธารณะ ตั้งแต่ การเลี้ยง การจับ จนถึงหลังการจับก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม เพื่อให้ได้สัตว์น้ำที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อการบริโภค มาตรฐานนี้ไม่รวมถึง จระเข้ สาหร่ายทะเล และกุ้งเครย์ฟิช รวมถึงการเพาะพันธุ์และการอนุบาล โดยมีข้อกำหนดจำนวน 38 ข้อ แบ่งเกณฑ์ข้อกำหนดได้ 2 ระดับ ดังนี้

ข้อกำหนดหลัก 17 ข้อ ที่ต้องปฏิบัติ และข้อกำหนดรอง 21 ข้อ ที่ควรปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระราชหฤทัยและได้รับสั่งให้เพาะเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราต์บนพื้นที่สูง โดยนำเข้าปลาเรนส์โบว์เทราต์ จากแคนาดา มาทดลองเลี้ยงที่สถานีกสิกรรมฝาง ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ในปี 2516 จากนั้นในปี 2518 ได้ย้ายการเพาะเลี้ยงไปดอยอินทนนท์ พบว่าปลาเจริญเติบโตได้ดี จึงเริ่มทดลองเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราต์ อีกครั้ง โดยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเยอรมนี เนปาลในปี 2540 จนสามารถเพาะพันธุ์เองได้จนสำเร็จ การเพาะเลี้ยงปลาไซบีเรียนสเตอร์เจียน เริ่มตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งกรมประมงได้นำเข้าไข่ปลาไซบีเรียนสเตอเจียน มาทดลองเลี้ยง ต่อมาปี พ.ศ 2550 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อซื้อไข่ปลาจากประเทศรัสเซียมาเพิ่มเติม กรมประมงได้นำเข้าไข่ปลาไซบีเรียนสเตอร์เจียนมาฟักที่โรงเพาะฟักที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ ได้ลูกปลาสายพันธุ์ไซบีเรียนสเตอเจี้ยน จำนวนทั้งสิ้น 9,000 ตัว ได้แจกจ่ายลูกปลาขนาด 3-4 นิ้ว ไปทดลองเลี้ยงในโครงการพระราชดำริ ดังนี้ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยดำ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริดอยฟ้าห่มปก หน่วยวิจัยประมงพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์บริการและพัฒนาเกษตรที่สูงปางตองตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การเพาะเลี้ยงปลาไซบีเรียนสเตอเจี้ยนมีระยะฟักไข่ภายใต้อุณหภูมิของน้ำเฉลี่ย 15 องศาเซลเซียส ใช้เวลาฟัก 2-5 วัน ไข่จึงฟักเป็นตัวทั้งหมดโดยมีอัตราการฟักเป็นตัว 97% การอนุบาลลูกปลาหลังจากฟักลูกปลาแรกฟักมีขนาดความยาวเหยียด 9.9 มิลลิเมตร เริ่มกินอาหารโดยให้อาร์ทีเมียเมื่ออายุ 9 วันและสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้เมื่ออายุ 20 วัน ภายใต้สภาพการฟักไข่ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ ปัจจุบันปลาที่เลี้ยง มีน้ำหนักเฉลี่ย 10 กิโลกรัม เพศเมียมีการสร้างไข่ และสามารถนำไข่มาผลิตคาเวียร์ได้ ในปี 2552 และเริ่มวางจำหน่ายไข่ปลาคาเวียร์ครั้งแรกในปี 2557 ไข่ปลาคาเวียร์ ถูกนำมาใช้เป็นเมนู ปรุงอาหารในการประชุมเอเปค 2022 ซึ่งได้รับมาตรฐานการรับรอง มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค GAP มกษ. 7436-2563 คาเวียร์ (caviar) เป็นไข่ปลาที่ผ่านการปรุงรส ผลิตจากไข่ปลาสเตอร์เจียน ที่อุดมไปด้วยโปรตีนวิตามินA วิตามินดี D และ วิตามิน E รวมทั้งสารอาหาร รองได้แก่ไอโอดีน สังกะสีโพแทสเซียม โซเดียม และแมกนีเซียม ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพช่วยเสริมสร้างระบบหัวใจ และหลอดเลือด อีกทั้งที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงถือเป็นอาหารอายุวัฒนะ การรับประทานคาเวียร์ นิยมรับประทานก่อนอาหารจานหลักเพื่อเรียกน้ำย่อยหรือเป็นอาหารว่าง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ