รายงาน DoubleVerify เผยประเทศไทยมีอัตราการมองเห็นโฆษณาสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิก

ข่าวทั่วไป Friday July 25, 2025 11:00 —ThaiPR.net

รายงาน DoubleVerify เผยประเทศไทยมีอัตราการมองเห็นโฆษณาสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิก

DoubleVerify ("DV") (NYSE: DV) แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ชั้นนำเพื่อการตรวจสอบคุณภาพสื่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพโฆษณา และประเมินผลลัพธ์ของแคมเปญ เผยรายงานเชิงลึกระดับโลกประจำปี 2025 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการสรุปแนวโน้มสำคัญในอุตสาหกรรมโฆษณา พร้อมเกณฑ์มาตรฐานด้านคุณภาพสื่อทั่วภูมิภาค โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนโฆษณาที่แสดงมากกว่า 1 ล้านล้านครั้ง ทั้งบนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป อุปกรณ์มือถือ และโทรทัศน์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (CTV) ตลอดจนผลสำรวจจากนักการตลาดและผู้บริโภคทั่วโลก

รายงานปีนี้เผยให้เห็นถึงการพัฒนาที่ดีขึ้นในด้านคุณภาพสื่อ โดยมีอัตราการละเมิดความเหมาะสมต่อแบรนด์และการฉ้อโกงที่ลดลง ขณะที่อัตราการมองเห็นโฆษณามีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดด้านความสนใจโฆษณายังคงมีความแตกต่างอย่างมากในแต่ละภูมิภาค รูปแบบ และอุปกรณ์ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่นักโฆษณาต้องปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับบริบท เพื่อให้ได้ทั้งผลลัพธ์และการปกป้องแบรนด์ที่ดีที่สุด

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมาตรฐานด้านคุณภาพสื่อที่หลากหลาย โดยพบว่าอัตราการละเมิดความเหมาะสมต่อแบรนด์เพิ่มขึ้น และมีอัตราการมองเห็นที่แท้จริงในระดับต่ำ แม้ว่าจะยังคงรักษาอัตราการฉ้อโกงให้อยู่ในระดับต่ำได้ก็ตาม

แนวโน้มสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย มีดังนี้

  • ความเหมาะสมต่อแบรนด์: อัตราการละเมิดความเหมาะสมของแบรนด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 15% เมื่อ เทียบกับปีก่อนหน้าที่ 7.7% โดยในประเทศไทยมีอัตราการละเมิดเพิ่มขึ้น 19% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 8.1% ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้มีสาเหตุหลักมาจากเหตุการณ์ในประเทศที่มีเนื้อหาที่มีความอ่อนไหวมากเกินไป ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงด้านความเหมาะสมต่อแบรนด์ในระยะยาว
  • การฉ้อโกงและ SIVT: อัตราการฉ้อโกงและการเกิดทราฟฟิกโฆษณาปลอมที่มีความซับซ้อน (SIVT) เพิ่มขึ้น 0.8% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยประเทศไทยและเวียดนามมีอัตราการฉ้อโกงและ SIVT ต่ำเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาค อยู่ที่เพียง 0.4%
  • การมองเห็นโฆษณา: อัตราการมองเห็นโฆษณาที่แท้จริงของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลกที่ 61% อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างชัดเจน โดยเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 76% ซึ่งเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • ตัวชี้วัดความสนใจ: ดัชนีความสนใจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 114 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 14%โดยประเทศไทยมีค่าดัชนีความสนใจอยู่ที่ 115

คอนราด ทัลลาริตี้ กรรมการผู้จัดการของ DoubleVerify ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว "มาตรฐานคุณภาพสื่อในภูมิภาคภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความหลากหลายอย่างมาก และแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละประเทศ การบริโภคเนื้อหาออนไลน์ในประเทศไทยมีการเติบโตขึ้นทุกวัน นักโฆษณาจึงเผชิญทั้งความท้าทายและโอกาส สิ่งสำคัญก็คือการวางกลยุทธ์ของแบรนด์ให้แสดงโฆษณาอย่างสอดคล้องกับเนื้อหาบแพลตฟอร์มที่เหมาะสม เพื่อรักษาค่าดัชนีความสนใจให้อยู่ในระดับสูง นักโฆษณาสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์และความเข้าใจด้านพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของแคมเปญให้เกิดการมีส่วนร่วมในระดับสูงและสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะของแบรนด์ในโลกดิจิทัลได้อย่างแท้จริง ผลการศึกษาครั้งนี้เน้นย้ำว่า ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละภูมิภาคเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยแบรนด์ให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) สูงสุด ลดความสูญเปล่า และมั่นใจได้ว่าการลงทุนในสื่อจะให้ทั้งการปกป้องและประสิทธิภาพไปพร้อมกัน"

ประเด็นระดับโลกที่น่าสนใจ มีดังนี้

  • ความเหมาะสมต่อแบรนด์: อัตราการละเมิดลดลง 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยสาเหตุหลักของการละเมิดยังคงเป็นเรื่องหมวดหมู่ที่ไม่เหมาะสม (Unsuitable Categories) ซึ่งคิดเป็น 65% ของกรณีทั้งหมด
  • การฉ้อโกงและการเกิดทราฟฟิกโฆษณาปลอมที่มีความซับซ้อน (SIVT): อัตราการฉ้อโกงและ SIVT ทั่วโลกลดลง 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่การฉ้อโกงที่เกิดจากบ็อตกลับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในแอปมือถือ
  • การมองเห็นโฆษณา: อัตราการมองเห็นโฆษณาที่แท้จริงทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3% เป็น 70% อันเป็นผลมาจากความพยายามของอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหา "การปิดทีวี" ที่พบในสื่อ CTV
  • ตัวชี้วัดความสนใจ: ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีค่าดัชนีความสนใจสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 14% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานโลกที่ 100 ในขณะที่อเมริกาเหนือมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ 4%

นักการตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับช่องทางต่างๆ เช่น เครือข่ายโฆษณาในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยนักการตลาดกว่า 20% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียวางแผนจะเพิ่มการลงทุนในช่องทางเหล่านี้ รูปแบบโฆษณาที่ให้ผลลัพธ์โดดเด่น เช่น รีล(Reels)และฟีด(feed)ในโซเชียลมีเดีย มีประสิทธิภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ยของแคมเปญอย่างต่อเนื่อง สะท้อนแนวโน้มที่ชัดเจนว่านักการตลาดกำลังมุ่งหน้าสู่การโฆษณาที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์และมีการเชื่อมโยงแบบดิจิทัลมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้เวลากับเนื้อหาออนไลน์เฉลี่ย 3.5 ชั่วโมงต่อวัน โดยส่วนใหญ่จะอยู่บนโซเชียลมีเดียเป็นหลัก แต่อาการเบื่อโฆษณากำลังพบเห็นได้สูงขึ้น โดยกว่า 46% ใช้ตัวบล็อกโฆษณา และเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่า มีแนวโน้มน้อยลงที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ หากพบว่าโฆษณานั้นแสดงอยู่ติดกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นเท็จ ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดกลยุทธ์สื่อที่คำนึงถึงความเหมาะสมต่อแบรนด์และการคัดกรองบริบทของเนื้อหาอย่างรอบคอบ

เมื่อการลงทุนในสื่อดิจิทัลมีความซับซ้อนมากขึ้น ข้อมูลเชิงลึกระดับภูมิภาคของ DV จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความสูญเปล่าแก่นักโฆษณา ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค และผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ที่วัดผลได้อย่างชัดเจน ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและระดับโลก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ