สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติระดม“นักส่งเสริมการเพิ่มผลิต ภาพ”เผยกลยุทธ์การบริหารองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Thursday January 19, 2012 17:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรต่างๆ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องจัดงานสัมมนาเผยแพร่แนวทางการสร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร ภายใต้ชื่อ “Productivity FacilitatorKnowledge Sharing 2011:ผู้นำและการสร้างบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ”โดยเชิญองค์กรที่มีผลการดำเนินการที่ดี มานำเสนอวิธีปฏิบัติในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆในการนำไปประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งจัดนิทรรศการนำเสนอองค์ความรู้ เครื่องมือ เทคนิค สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับองค์กรต่างๆ ที่มาร่วมงานด้วย นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่าจากการติดตามความคืบหน้าของโครงการสร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร หรือ Productivity Facilitator ของสถาบันเพิ่มลผลิตแห่งชาติ ผมมีความเชื่อมั่นว่า การส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้ทีมงานขององค์กรเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเองนั้น จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อีกทั้งยังสามารถสนับสนุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการ และผู้บริหารองค์กรให้ราบรื่น ทั้งในยามเหตุการณ์ปกติ และในยามคับขัน เพื่อนำองค์กรฝ่าวิกฤติต่างๆ ไปได้อย่างเป็นอย่างดี “นอกจากนั้น การดำเนินโครงการนี้ ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ในด้านการปรับโครงสร้างการผลิต และยกระดับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้ภาคอุตสาหกรรมมีผลิตภาพสูงขึ้น มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น ด้วยการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร ให้มีความพร้อมปฏิบัติงาน อยู่ในระดับที่แข่งขันได้กระทรวงอุตสาหกรรมจึงให้ความสำคัญ และได้ให้การสนับสนุนโครงการมาอย่างต่อเนื่อง” นายวิฑูรย์ กล่าวเสริม ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2551 สถาบันได้รับมอบหมายจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินโครงการ “สร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร(Productivity Facilitator)” เพื่อสร้างบุคลากรหรือตัวคูนให้สามารถทำหน้าที่เป็นแกนนำทีมในการเสริมสร้างทัศนคติถ่ายทอดความรู้ฝึกฝนทักษะและสื่อสารกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานให้กับบุคลากรภายในองค์กร “ในปี 2554 สถาบันยังคงมุ่งมั่นสร้าง Productivity Facilitator อย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีองค์กรสมัครเข้าร่วมโครงการ 53 องค์กร คัดเลือกเหลือ16 องค์กรจาก 4 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยผลการดำเนินโครงการในปี 2554 นับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยองค์กรที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนและมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้นถึง 295 ล้านบาท นอกจากนี้ อัตราการเพิ่มขึ้นของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพขององค์กรสูงถึง 99%” ดร.พานิช กล่าวเสริม นอกจากนี้ ในปี 2554 ยังมีการพัฒนาไปสู่โครงการ Productivity Specialist ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มผลิตภาพให้แก่องค์กรที่เคยเข้าร่วมโครงการ Productivity Facilitator มาแล้ว โดยมีองค์กรที่เข้าร่วมโครงการนี้ จำนวน 4 องค์กรเพื่อยกระดับการใช้เครื่องมือการเพิ่มผลิตภาพขั้นพื้นฐานสู่ขั้นที่สูงขึ้น และสามารถจัดทำแผนพัฒนาผลิตภาพขององค์กรได้โดยเน้นการให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนมุ่งปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรใน 3 ด้านอย่างเข้มข้น ได้แก่ ด้านคุณภาพด้านกระบวนการผลิต และด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักร ผ่านเครื่องมือที่เน้นการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง ได้แก่Six Sigma, Lean และ TPMตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากองค์กรที่เข้าร่วมโครงการในเรื่องต่างๆ อาทิ การเลือกใช้เครื่องมือ การแก้ปัญหา และเทคนิคต่างๆ เพื่อองค์กรจะได้นำความรู้เหล่านี้ไปใช้บูรณาการปรับปรุงองค์กรต่อไป สำหรับงานสัมมนาและนิทรรศการวิชาการ ภายใต้ชื่อ “Productivity FacilitatorKnowledge Sharing 2011:ผู้นำและการสร้างบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ”เป็นกิจกรรมก่อนปิดโครงการ เพื่อเผยแพร่แนวทางการสร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร โดยประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ - Executives Talkโดยผู้บริหาร บริษัท บางจาก ปิโตรเลียมจำกัด มหาชน และ ดร.จิราพร ระโหฐาน รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี - Knowledge Sharingเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้บริหารรางวัล The Best Executive และทีมงานรางวัลThe Best Productivity Facilitator - นิทรรศการความรู้ เกี่ยวกับเครื่องมือ เทคนิคการเพิ่มผลผลิต และการสร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร จากกองค์กรที่เข้าร่วมโครงการประจำปี2554พร้อมร่วมโหวตบูธดีเด่น - บูธจำหน่ายสื่อวิชาการ นอกจากนี้ สถาบันยังได้จัดกิจกรรมมอบรางวัลให้แก่องค์กรคุณภาพที่เข้าร่วมโครงการประจำปี 2554 ซึ่งได้รับการประเมินว่ามีการดำเนินงานเป็นเลิศในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. The Best Executive 2011(ผู้บริหารองค์กรดีเด่นประจำปี 2554) นายเกรียงชัย นิมมานสวัสดิ์ ผู้จัดงานโรงงาน บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด 2. The Best Facilitator 2011 (Productivity Facilitator ดีเด่น ประจำปี 2554) นางสาวพัสตราภรณ์ เอี่ยมชื่นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย นางสาวกิติมา รัตนชาญกุลผู้จัดการแผนก บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด 3. The Best Team 2011(ทีมงานดีเด่น ประจำปี 2554) นายอติพล หมวดมณีAsst.Section Manager บริษัท เอสอีดับบลิวเอส-คอมโพเนนท์ (ประเทศไทย) จำกัด 4. องค์กรดีเด่นประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร นายเกรียงชัย นิมมานสวัสดิ์ ผู้จัดงานโรงงานบริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด 5. องค์กรดีเด่นประเภทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ นายยาสุโอะ มาเอะกาว่าDivision Manager บริษัท เอสอีดับบลิวเอส-คอมโพเนนท์ (ประเทศไทย) จำกัด 6. องค์กรดีเด่นประเภทอุตสาหกรรมอื่น ๆ นายเสรีพงศ์ลิมากรกรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท คาร์เปทอินเตอร์แนชั่นแนล ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) 7. ผลการประกวดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 7.1 ประเภท VDO (ภาพเคลื่อนไหว) ชมเชยด้านเนื้อหาและการเรียบเรียง บริษัท ไทย อินโด คอร์ดซ่า จำกัด ชมเชยด้านเนื้อหาและการสร้างการมีส่วนร่วม บริษัท พิณอินเตอร์วู้ด จำกัด 7.2 ประเภท E-Book (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์) ชมเชยด้านเนื้อหาและการเรียบเรียง บริษัท คาร์เปทอินเตอร์แนชั่นแนล ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ชมเชยด้านเนื้อหาและการเรียบเรียง บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ชมเชยด้านความคิดสร้างสรรค์ บริษัท ลัคกี้เฟลม จำกัด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ