บทความ: ปี 2555: ปฏิรูประบบไอทีให้ก้าวไกลเหนือคู่แข่ง

ข่าวเทคโนโลยี Friday February 24, 2012 09:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ก.พ.--โอเอซิส มีเดีย แน่นอนว่าปี 2555 มีแนวโน้มที่ไม่ค่อยสดใสเท่าใดนัก แต่ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศหรือซีไอโอจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบไอทีสามารถปฏิรูปองค์กรและเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขันเพื่อให้องค์กรนำหน้าเหนือคู่แข่งอยู่เสมอท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบาก แนวโน้มของข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้า (Big Data) และการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในเอเชียส่งผลให้ผู้บริหารซีไอโอในภูมิภาคนี้จำเป็นต้องมองหาหนทางใหม่ๆ ในการจัดเก็บ ปกป้อง และวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากโซลูชั่นการจัดการสตอเรจแบบเดิมๆ ไม่สามารถนำเสนอสิ่งที่จำเป็นภายในงบประมาณที่จำกัดและกรอบเวลาที่เหมาะสมอีกต่อไป ชุดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ประกอบกับประเด็นเรื่องการเก็บภาษีแบนด์วิธ และปัญหาท้าทายในเรื่องความหนาแน่นของระบบ บั่นทอนประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ ด้วยเหตุนี้องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องทบทวนโครงการจัดการสตอเรจ ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากปราศจากการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด อาจสร้างภาระที่หนักหน่วงให้แก่องค์กร ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาท้าทายมากมายในเรื่องข้อมูลซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในท้ายที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต่างๆ จะต้องเริ่มต้นอย่างถูกต้องเหมาะสมในการวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับบิ๊กดาต้า ความรวดเร็วในการใช้งานและความยืดหยุ่นในการปรับขนาดของระบบคือปัจจัยที่สำคัญที่สุด การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ย่อมหมายถึงความสามารถในการรองรับเนื้อหาคอนเทนต์ที่ผู้ใช้สร้างขึ้นขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงบันทึกข้อมูลจำนวนมหาศาล ข้อมูลดิบ โซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน หรือแม้กระทั่งคอนเทนต์ที่ระบบสร้างขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานบิ๊กดาต้าอย่างเหมาะสม ผู้บริหารซีไอโอจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้จัดการฝ่ายไอทีมีโซลูชั่นสำหรับการคัดแยกข้อมูลจำนวนมาก เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล และจะต้องมีระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ รวมถึงข้อมูลด้านการขาย สำหรับซีไอโอที่ต้องการเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ ขอแนะนำให้มุ่งเน้นเป้าหมายหลัก 3 ด้านสำหรับแผนปฏิบัติการในปี 2555 ถ้าหากดำเนินการอย่างเหมาะสม จะช่วยให้องค์กรก้าวเดินไปบนเส้นทางที่ถูกต้องสู่อนาคตที่สดใส 1. ปรับใช้ระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ โครงการเวอร์ช่วลไลเซชั่นจะกลับมาเติบโตอีกครั้งในช่วงปี 2555 โดยจะขยายขอบเขตครอบคลุมแอพพลิเคชั่นนอกเหนือไปจากระบบเซิร์ฟเวอร์ ปัจจุบันผู้บริหารซีไอโอมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นว่าระบบสตอเรจเวอร์ช่วลไลเซชั่นจะต้องสนับสนุนโครงการเวอร์ช่วลไลเซชั่นใดๆ เพื่อขจัดปัญหาความไร้ประสิทธิภาพในสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์แบบเก่า ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับองค์กรโดยรวม การเลือกแพลตฟอร์มสตอเรจที่เหมาะสมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งานร่วมกันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ในส่วนของพลังงานที่ขับเคลื่อนระบบสตอเรจ การระบายความร้อน พื้นที่ตั้งวางอุปกรณ์ และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยซีไอโอจะต้องสำรวจตรวจสอบนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น สถาปัตยกรรมยูนิฟายด์สตอเรจ (Unified Storage), การขจัดความซ้ำซ้อน (Deduplication) ของข้อมูลหลักในระบบเวอร์ช่วลไลซ์, การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Thin Provisioning) และระบบการทำงานแบบอัตโนมัติตามนโยบายที่กำหนด กล่าวโดยย่อก็คือ โครงการเวอร์ช่วลไลเซชั่นทุกโครงการจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานที่แข็งแกร่งและเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ร่วมกัน ความสามารถในการปรับขนาดของสภาพแวดล้อมแบบเวอร์ช่วลไลซ์มีความสำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดสรรพื้นที่ความจุใหม่ๆ เพื่อรองรับข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นได้อย่างโปร่งใส โดยไม่บั่นทอนประสิทธิภาพ หรือไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์สตอเรจเพิ่มเติม นอกจากนี้ เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นมีบทบาทสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล ด้วยการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนบนเวอร์ช่วลเดสก์ท็อป, ข้อมูลของผู้ใช้งาน และสำเนาข้อมูลแบ็คอัพและข้อมูลสำหรับการกู้คืนระบบ ยิ่งไปกว่านั้น ยังลดค่าใช้จ่ายได้เพิ่มเติม เพราะสามารถสร้างเวอร์ช่วลเดสก์ท็อปหลายพันเครื่องได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาไม่กี่นาที โดยอาศัยวิธีการโคลนนิ่งสตอเรจเกือบจะทันที จึงเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงเวอร์ช่วลเดสก์ท็อปได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความพร้อมใช้งานสูงถึง 99.999 เปอร์เซ็นต์ พร้อมการกู้คืนระบบอัตโนมัติเมื่อเกิดภัยพิบัติ และการเร่งประสิทธิภาพ VDI แก้ไขปัญหาการบูตเครื่องเดสก์ท็อปหรือการล็อกอินซ้ำๆ และประการสุดท้าย เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นรองรับการแบ็คอัพระบบเวอร์ช่วลเดสก์ท็อปและข้อมูลผู้ใช้บนระบบสตอเรจโดยตรง พร้อมทั้งเก็บข้อมูลประวัติรายวันสำหรับเดสก์ท็อปทั้งหมดได้นานหลายเดือนหรือหลายปีโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 2. ปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยระบบอัตโนมัติและการบริการตนเอง ไอดีซีรายงานว่าองค์กรต่างๆ เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพยากรแบบเวอร์ช่วลไลซ์มากกว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบดังกล่าว และไอดีซีคาดการณ์ว่าภายในปี 2558 แอพพลิเคชั่นองค์กรประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์จะถูกโฮสต์ไว้บนระบบคลาวด์ ขณะที่บริษัทหันไปใช้สภาพแวดล้อมที่รองรับการใช้งานร่วมกันเพิ่มมากขึ้น ผู้บริหารซีไอโอในเอเชียเริ่มสนใจในระบบอัตโนมัติและระบบบริการตนเองจะช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานบริหารจัดการระบบซ้ำๆ โดยระบบอัตโนมัติจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถ “ตั้งค่าเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องทำอะไรอีกเลย” สำหรับงานบริหารจัดการระบบที่ต้องทำซ้ำๆ และสิ้นเปลืองเวลา ระบบดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบมีเวลาเพิ่มมากขึ้นสำหรับการทำงานสำคัญๆ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดนโยบายที่สอดรับกับความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่ระบบอัตโนมัติที่อ้างอิงนโยบายจะช่วยให้สามารถรันบริการสตอเรจมาตรฐานได้อย่างอิสระ โดยจะขจัดกระบวนการที่พนักงานต้องดำเนินการเอง ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการไอที นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที โดยจะสามารถรักษาความพร้อมใช้งานของระบบสตอเรจเพื่อรองรับความต้องการในแบบเรียลไทม์ได้อย่างลงตัว 3. อย่าประเมินความต้องการสำหรับการปกป้องและการกู้คืนข้อมูลต่ำเกินไป ในช่วงระยะเวลา 12-18 เดือนที่ผ่านมา พัฒนาการของเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายในแง่ของความปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบคลาวด์ โดยผู้ให้บริการคลาวด์พยายามออกแบบโซลูชั่นเพิ่มเติม เช่น ระบบที่รองรับผู้เช่าหลายรายได้อย่างปลอดภัย, ระบบไพรเวทคลาวด์แบบเวอร์ช่วล, ระบบเครือข่ายแบบเวอร์ช่วลภายใต้การรักษาความปลอดภัย, สภาพแวดล้อมไอทีแบบเวอร์ช่วลไลซ์ที่มีการใช้งานร่วมกัน, การรวมแอพพลิเคชั่นไว้ด้วยกัน และทางเลือกสำหรับไฮบริดคลาวด์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยในองค์กร ปัจจุบัน ผู้บริหารซีไอโอในเอเชียมีทางเลือกในการเปลี่ยนไปใช้โซลูชั่นบนแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติและการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน โดยซีไอโอควรจะเน้นย้ำแก่ผู้บริหารในสายงานธุรกิจและการเงินว่าโซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ควบคู่ไปกับการประหยัดค่าใช้จ่าย และเนื่องจากผู้ให้บริการคลาวด์จะต้องจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับความต้องการด้านการจัดเก็บข้อมูลของบริษัท ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการซื้อซอฟต์แวร์สำรองหรือซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งที่มีพัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้น บนระบบคลาวด์ การรีพลิเคตข้อมูลและซอฟต์แวร์จะดำเนินไปโดยอัตโนมัติ โดยใช้ทรัพยากรด้านการประมวลผลน้อยที่สุด การรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานบนระบบคลาวด์เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีสำนักงานหลายแห่ง โดยสำนักงานแต่ละแห่งจะมีไซต์สำรอง ช่วยให้สามารถใช้งานข้อมูลร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง ราบรื่น โดยครอบคลุมหลากหลายพื้นที่ แม้กระทั่งในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือกับมรสุมทางเศรษฐกิจ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารซีไอโอในเอเชียได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งท่ามกลางสถานการณ์วุ่นวายทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยมีการเลือกใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายปีแล้วปีเล่า และผู้บริหารเหล่านี้ได้ทำหน้าที่สมกับบทบาทของตนเองในคณะผู้บริหารขององค์กรอย่างแท้จริง ปี 2555 อาจเป็นช่วงเวลาที่มีบททดสอบมากมายกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต เพราะโลกของเรากำลังจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง นักสังเกตการณ์บางท่านระบุว่าอาจจะกินเวลายาวนาน 7-8 ปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี นี่คือบทพิสูจน์สำหรับผู้บริหารตัวจริง และซีไอโอขององค์กรต่างๆ ในเอเชียก็พร้อมที่จะรับมือกับมรสุมทางเศรษฐกิจที่กำลังจะมาถึง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ