"ผู้หญิงมี “ กิ๊ก ” เสี่ยงมะเร็งปากมดลูก"

ข่าวทั่วไป Tuesday March 13, 2012 11:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--คลินิกเครือรพ.กล้วยน้ำไท “ กิ๊ก ” ไม่ใช่ชู้ แต้ถ้าแฟนรู้ต้องเลิก ความสัมพันธ์ที่กลายเป็นค่านิยมของสังคมไทยทั้งชาย และหญิง บางคนหมายถึงเพื่อนต่างเพศใกล้ชิด พูดคุยให้คำปรึกษาเพื่อความสบายใจ แต่บางคนก็หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์กันด้วย จากการสำรวจของถุงยางอนามัยดูเร็กซ์พบว่า ชายไทยนอกใจคนรักมากเป็นอันดับ 1 คือ 54% และหญิงไทยนอกใจคนรักถึง 59% ติดอันดับ 2 ของโลกรองจากผู้หญิงประเทศไนจีเรีย ปัจจุบันผู้หญิงไทยนิยมการมีกิ๊กมากขึ้น ซึ่งสาเหตุของการมี “ กิ๊ก ” คือ _ คิดว่าเป็นแฟชั่นไว้อวด ตามค่านิยมปัจจุบัน ที่ใครมีกิ๊ก และรู้สึกเท่ห์ รู้สึกได้ควบคุม และเป็นผู้เลือก _ ความรู้สึกผิดทางศีลธรรมของคนน้อยลง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีก็น้อยลงด้วย การจะทำอะไรที่ผิด ก็มักอ้างถึงเหตุผลเพื่อให้ตัวเองรู้สึกผิดน้อยลง _ ต้องการได้รับความสนใจและปฏิบัติอย่างดีในฐานะคู่รักกัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระยะแรกๆ ซึ่งผู้หญิงจะมองหาจากชายที่เป็น “ กิ๊ก ” _ ต้องการแก้แค้นจากการที่ถูกหลอกลวงจากผู้ชายซึ่งเขาอาจไปมีกิ๊กเป็นผู้หญิงคนอื่นเช่นกัน _ ต้องการค้นหาประสบการณที่น่าตื่นเต้น _ รู้สึกยังว่าแฟนคนปัจจุบัน ไม่ใช่หรือไม่ดีพอสำหรับเธอ _ ปัญหาการทะเลาะ ขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่าง _ การขาดความรักความอบอุ่น ไม่มีคนเอาใจใส่ในวัยเด็ก _ ฯลฯ คุณเบ็ญจพร นักจิตวิทยา คลินิกเครือรพ.กล้วยน้ำไท กล่าวว่า สิ่งที่ส่งผลให้ผู้หญิงปัจจุบันในทุกอาชีพ ทุกวัย เริ่มเลียนแบบพฤติกรรมผู้ชาย คือ จีบและคบผู้ชายครั้งละหลายๆ คน เพื่อชดเชยปัญหา โดยความสัมพันธ์มักเริ่มจากการใกล้ชิด เช่น การไปเที่ยว นั่งทำงานเห็นกันทุกวัน หรือทำกิจกรรม, งานอดิเรกที่ต้องใช้เวลาด้วยกัน เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน จากการปรับทุกข์ ให้คำปรึกษา ก่อเป็นความสัมพันธ์ขึ้น ซึ่งอาจเป็นที่รู้กันในออฟฟิศ และในกลุ่มคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับ รู้จักใกล้ชิดกับสามีหรือแฟน โดยอาจมีความสัมพันธ์ทางกายร่วมด้วย ในผู้หญิงบางคนอาจมีกิ๊กมากกว่า 1 คน เพื่อแก้เหงา การมีกิ๊ก อาจยิ่งก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวมากขึ้น มีเรื่องคาใจไม่คุยกัน การเสียชื่อเสียง ไม่เป็นที่ยอมรับ ฯลฯ และรวมถึงโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย นพ. ก้องศาสด์ ดีนิรันทร์ สูตินรีแพทย์ คลินิกเครือรพ.กล้วยน้ำไท กล่าวว่า “ โรคที่อันตรายจากการมีกิ๊กหลายคนของผู้หญิง และเกินเลยถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ จะยิ่งเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ยิ่งมีกิ๊กมาก ยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อมากขึ้น คนส่วนใหญ่คิดว่าถุงยางอนามัยป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ทุกโรค แต่ไม่ได้ป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูกที่เป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1เชื้อเอชพีวีมีอยู่ร้อยกว่าสายพันธุ์ แต่ชนิดที่จะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมีประมาณ 15 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูก ที่เหลืออีกร้อยละ 30 เกิดจาก เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่น ซึ่งเชื้อนี้อาศัยอยู่ทั่วไปบนร่างกาย ผิวหนัง เสื้อผ้า ขน ฯลฯ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง สามารถทนความร้อนและอยู่ในที่แห้งได้ แต่ไม่ก่อเกิดโรคในผู้ชาย การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ดี เพราะสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัส เวลามีเพศสัมพันธ์ เชื้อที่อาศัยอยู่บนอวัยวะ ผิวหนัง และขนของทั้งชายและหญิงอาจติดเข้าไปกับอวัยวะเพศชาย หรืออวัยวะเพศหญิง การมีเพศสัมพันธ์เป็นการนำเชื้อเอช พี วี จากด้านนอกเข้าไปสู่บริเวณปากมดลูก และเกิดการติดเชื้อขึ้นในบริเวณปากมดลูก ทำให้เริ่มมีการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ หรือกรณีมีแผลถลอกบริเวณเยื่อบุภายในก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน มะเร็งปากมดลูกลดความเสี่ยงได้ โดยการรักเดียวใจเดียว หรือไม่ไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนที่มีคู่นอนหลายคน แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรรีบเข้าพบสูติ นรีแพทย์เพื่อตรวจภายในเพื่อหาเซลล์มะเร็ง ถ้าตรวจพบก่อนในระยะที่เซลล์เริ่มมีการผิดปกติ ก็สามารถรักษาได้ ซึ่งปัจจุบัน การป้องกันโดย ในกรณีที่คุณเคยมีกิ๊ก, กำลังมีกิ๊กถึงขึ้นมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มี หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูก และฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ HPV16, 18 ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หากมีการติดเชื้อก่อนหน้าการฉีดก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายแล้วได้ แต่เป็นการป้องกันเชื้อใหม่ที่อาจได้รับหลังการฉีด การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ผลดี คือการฉีดเมื่ออายุประมาณ 9 ปี การมีกิ๊กอาจเป็นเรื่องเท่ห์ และตื่นเต้นในความรู้สึก แต่ส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย และจิตใจไปตลอดชีวิต คุณอาจได้รับแค่ความสบายใจเป็นครั้งคราว ควรต้องหาทางอื่นเพื่อแก้ปัญหาจะดีกว่า และ ผู้หญิงที่เคยมีกิ๊ก อยากมีกิ๊ก และกำลังอยากมีก็ตาม ควรต้องฉีดวัคซีน ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรค

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ