ศิลปะไร้พรมแดน ศึกษาดูงาน อิตาลี กองทุน ชุมพล พรประภา

ข่าวทั่วไป Monday March 26, 2012 17:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 มี.ค.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สืบเนื่องมาจาก “โครงการการศึกษาดูงาน และสร้างสรรค์ดูงานศิลปกรรม ณ ประเทศอิตาลี สืบเนื่องมาจาก ดร.ชุมพล พรประภา ได้ให้ทุนในการสนับสนุน ส่งเสริมให้ศิลปิน นักศึกษา และอาจารย์ เดินทางทัศนศึกษาดูงานศิลปวัฒนธรรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับศิลปะที่ร่วมสมัยในระดับโลก กระตุ้นให้ศิลปินไทยตื่นตัว มีการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่อง ศิลปินไทยได้สร้างสรรค์ผลงานที่สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ระดับนานาชาติ พัฒนาผลงานศิลปกรรมของไทยให้ก้าวหน้ากว้างขวาง โดยในปี พ.ศ. 2547 ณ ประเทศอินเดีย พ.ศ. 2549 ณ มณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2550 ณ ประเทศ อิตาลีและฝรั่งเศล พ.ศ. 2552 ได้ไปศึกษาดูงาน และสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และในปีล่าสุด พ.ศ. 2554 ได้ไปทันศศึกษาดูงาน ศิลป์เวนิช เบลนาเล่ โรม ฟลอเรนซ์ ณ ประเทศอิตาลี เป็นเวลา 8 วัน ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรีเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยฯ ที่ได้รับการคัดเลือกให้รับทุนเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ สำหรับอาจารย์และนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้รับทุนในครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์ นรากร สิทธิเทศ อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ และ “แต๊ก” นางสาวปิยะธิดา จำปาแท้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาจิตรกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ ดร.ชุมพล พรประภา ประธานกรรมการที่ประชุมกรรมการสภา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทกสท) และประธานคณะกรรมการด้านการพัฒนานักศึกษาของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เล่าว่า โครงการนี้ต้องการให้นักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้านศิลปะ ไปหาประสบการณ์ในต่างประเทศ ซึ่งทำมาสิบกว่าปีแล้ว หลายครั้งเค้าก็เรียกตัวเองกันว่า โป๊ยเซียน (อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร) ปีที่แล้วผมได้ทำการขยายโครงการนี้ออกไป ให้เป็นการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะ จาก 4 มหาวิทยาลัยฯ อาจารย์และลูกศิษย์มหาวิทยาลัยศิลปากร 4 คน จากราชมงคลธัญบุรี 2 คน จากราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง 2 คน และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2 คน รวมทั้งหมด 10 คน นอกจากนี้ยังมีศิลปินอีก 5 คน รวมเดินทางในครั้งนี้ ไปดูงานในยุโรปด้วยกัน ซึ่งเมื่อดูงานมาแล้ว พวกเค้าก็จะต้องกลับมาแสดงผลงาน จะต้องวาดภาพ จัดนิทรรศการ เพื่อเอาผลงานเหล่านั้นมาประมูลขาย รายได้ต่างๆนั้น ครึ่งหนึ่งจะเป็นของศิลปิน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเราจะสมทบในกองทุน เพื่อจะให้อาจารย์และนักศึกษาในรุ่นต่อไปได้ไปในครั้งหน้า ซึ่งทำแบบนี้มา 4-5 ครั้งแล้ว ส่วนใหญ่นักธุรกิจจะส่งเสริม ซื้อแต่ของศิลปินดังๆ ระดับชาติ แต่ไม่เคยมีใครที่จะสร้างศิลปินรุ่นใหม่ ซึ่งในที่สุดก็จะไปไม่รอด เพราะในจำนวนคนที่จบศิลปะมานั้น เท่าที่รู้มาประมาณร้อยละ 80-90 ไม่ได้ทำงานด้านศิลปะโดยตรง ดังนั้นในครั้งล่าสุดนี้ จึงตั้งใจว่าคนที่ไปต้องมีคุณสมบัติ 2-3 ข้อคือ เมื่อจบแล้วจะต้องเป็นอาจารย์ หรือไม่ต้องทำงานในวงการศิลปะโดยตรง มีการวาดรูป เขียนรูปออกขาย เป็นต้น ถือเป็นการส่งเสริมศิลปินรุ่นใหม่ อ.นรากร เล่าว่า รับทุนเข้าร่วมโครงการทุกปี โดยในปีนี้ตนเองเป็นหนึ่งในศิลปินและอาจารย์ที่ได้เข้าร่วมโครงการการศึกษาดูงาน และสร้างสรรค์ดูงานศิลปกรรม ณ ประเทศอิตาลี เวลา 8 วัน ที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอิตาลี “เป็นเหมือนการเติมความฝันให้ผู้ที่รักในงานศิลปะ” ที่โรม ตื่นตากับ โคลอสเซี่ยม (Colosseum) น้ำพุเทรวี่ (Trevi Fountain) มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Basilica of Saint Petre) ประติมากรรม Pieta โบสถ์ซิสทีนที่มีภาพเขียนที่สำคัญของไมเคิลแองเจโล Michelangelo Buonarroti ชื่อภาพว่า The Last Judgement และ The Creation of Adam ส่วนที่ฟลอเรนซ์ ได้ชมผลงาน รูปปั้นของเดวิด พิพิธภัณฑ์ที่รวมงานของศิลปินชั้นนำในประวัติศาสตร์มากมาย เช่น วีนัส ของศิลปิน Sandro Botticelli โชคดีสำหรับการทัศนศึกษาในครั้งนี้ ได้มีโอกาสเข้าชมงานอาร์ตแฟร์ “งานเวนิส เบียนนาเล่” ซึ่งได้แสดงผลงานร่วมสมัยของโลกไว้มากที่สุด จะจัดขึ้นทุก 2 ปี โดยในปีนี้จัดแสดงในหัวข้อเรื่อง “แสง” และสถานที่สุดท้าย “มิลาน” ได้เข้าชมโบสถ์ที่มีภาพเขียนของ “ลีโอนาร์โด ดาร์วินซี่” ต่อด้วยมหาวิหารแห่งมิลาน (Duomo di Milano) ที่ตั้งตระหง่านท้าทายโลกสมัยใหม่อย่างลงตัว ลักษณะเป็นวิหารหินอ่อนสถาปัตยกรรมโกธิกซึ่งใช้เวลาสร้างนานถึง 500 ปี มีรูปปั้นกว่า 3,000 รูปในวิหาร นอกจากการชมงานศิลป์ตามสถานที่ต่างๆ แล้ว สิ่งที่ได้รับจากการเดินทางในครั้งนี้ คือ ความเป็นอยู่ของประชากร อาหาร สภาพจราจรบนท้องถนน อากาศ แฟชั่นการแต่งกาย ที่แสดงถึงความเป็นอิตาลี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมนต์เสน่ห์ ที่ได้สืบทอดกันมาเป็นช่วงๆ กลายเป็นประวัติศาสตร์ ที่มีความร่วมสมัยที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว 20 ปีที่ได้คลุกคลีกับงานศิลป์ มีโอกาสได้เล่นในรูปภาพ แต่ไม่เคยได้เห็นของจริง แต๊ก เล่าว่า ดีใจที่ได้เป็นตัวแทนของเพื่อนนักศึกษา สาขาวิชาจิตรกรรม คณะศิลปกรรม มทร.ธัญบุรี “ต้องขอขอบคุณสำหรับทุนนี้ ซึ่ง ดร.ชุมพล พรประภา ได้กรุณาให้โอกาส เหมือนได้เดินทางสู่อีกประเทศหนึ่ง ที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิต” ในการร่วมเดินทางร่วมกับเพื่อนๆ ต่างมหาวิทยาลัยฯ สู่ประเทศอิตาลี 8 วันที่ได้ใช้ชีวิตต่างแดน เข้าเยี่ยมชมตามสถานที่ต่างๆ เริ่มจากศิลปะที่โรม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยเก่าที่สวยงามมาก ที่ฟลอเรนซ์ ศึกษาผลงานของศิลปินชั้นนำทั่วโลก ประจำในที่เวนิส เพราะว่า ได้มีโอกาสเข้าชมงานอาร์ตแฟร์ “งานเวนิศ เบียนนาเล่” 2 ปีจะจัด 1 ครั้ง ได้แสดงผลงานที่ร่วมสมัยของโลกไว้มากที่สุด เวนิสเหมือนเป็นสวรรค์ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของเมือง 8 วันที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่อิตาลี ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นประสบการณ์นอกจากการเรียนที่ต้องเรียนรู้ในห้องเรียน รู้สึกว่าการเรียนในครั้งนี้เป็นอิสระ แต่ได้รับความรู้เหมือนกัน ความรู้ส่วนใหญ่ที่ได้รับรู้ระหว่างทาง ซึ่งเป็นพลพลอยได้ คือเป็นศิลปะสมัยก่อน สถาปัตยกรรมบ้านเมืองจะดูเก่าๆ ตึกใหญ่สูง ซึ่งจะได้เราได้บูรณะตลอดเวลา ซึ่งเป็นอีกมนต์เสน่ห์ที่หาค้นหา โดยส่วนตัว ชอบงานทางด้านจิตรกรรมมาตั้งแต่เด็ก ชอบวาดรูปธรรมชาติ แต่เมื่อได้มาศึกษา ทำให้หลงเสน่ห์ในรูปทรงต่างๆ การรังสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ ด้วยรูปทรงใหม่ ซึ่งตอนนี้ตนเองได้ทำได้ทำโปรเจคจบ ในชื่อผลงาน “แสงของธรรมชาติ” ความเสื่อมสลายของธรรมชาติรูปทรงเป็นศิลปะสมัยใหม่ ลักษณะเป็นชิ้นงานตัดทอนรูปทรง สำหรับโครงการการศึกษาดูงาน และสร้างสรรค์ดูงานศิลปกรรม ณ ประเทศอิตาลี เป็นโครงการที่ได้รับความรู้ สามารถนำความรู้ ถือเป็นโครงการที่ส่งเสริมศิลปะ สร้างโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษา ได้นำความรู้และสิ่งที่ได้เห็น กลับมารังสรรค์ผลงาน เปิดโอกาสให้ศิลปินและอาจารย์ ได้นำความรู้มาถ่ายทอดให้กับนักศึกษารุ่นใหม่ ร่วมถึงสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานที่ดีออกไปสู่ระดับสากล อาจารย์และลูกศิษย์กล่าวทิ้งท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ