ยาปลอมระบาดหนัก ! อเมริกาให้ทุนไทยทาโครงการ PSM รนรงค์การใช้ยาปลอดภัย

ข่าวทั่วไป Friday March 30, 2012 09:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--แอ็คเซส เซ็นเตอร์ "เมืองไทย" พบข้อมูลที่น่าตกใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีผู้ลักลอบผลิต นาเข้าและจาหน่ายยาปลอมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดย "ยาปลอม" ได้ "ช่วงชิง" ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไปจาก "ยาต้นแบบ" เป็นเม็ดเงินมหาศาล จากสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงดังกล่าว จึงทาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมเข้าเป็นภาคีเครือข่ายที่ไม่แสวงหาผลกาไร โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคและผู้ที่ทางานด้านสุขภาพ ตระหนักถึงอันตรายของการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัย ภายใต้ชื่อ Partnership for Safe Medicine (ภาคีเครือข่ายเพื่อการใช้ยาปลอดภัย) หรือ PSM โดยหน่วยงานที่เข้าร่วม ได้แก่ สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา / สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย/สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) / แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย / สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน(TPMA) / สมาคมโรงพยาบาลเอกชน / มหาวิยาลัยมหิดล / มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา (วพย.) / สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) / กรุงเทพมหานคร PSM เป็นโครงการที่เฝ้าระวังทาให้ประชาชนได้ใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวเองทาให้มีสุขภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น และทาให้มูลค่าการใช้จ่ายด้านยาของประชาชนลดน้อยลง โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพ.ศ.2554 มุ่งเน้น 5 ข้อสาคัญ คือ 1.ทาให้ประชาชนตระหนักว่ามียาที่ไม่ปลอดภัยอยู่ในท้องตลาด 2.ยาที่ไม่ปลอดภัยมีอันตรายต่อสุขภาพ 3.ทุกคนสามารถช่วยกันป้องกันอันตรายจากยาที่ไม่ปลอดภัย 4.เพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับความสาคัญของคุณภาพยา การดูและสังเกตยาที่ไม่ปลอดภัย และการป้องกันตนจากเรื่องดังกล่าว 5.เพื่อให้ความรู้ชุมชนผ่านคลินิคและร้านขายยา เกี่ยวกับปัญหาของยาที่ไม่ปลอดภัย และบทบาทในการช่วยลดปัญหา กิจกรรมนารองของโครงการฯได้เริ่มได้เริ่มทาความเข้าใจในกลุ่มนักศึกษาโดยจัดการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทคลิป 60 วินาที ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาหลายสถาบัน และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 ได้มีพิธีประกาศรางวัลผลงานคลิปที่ชนะเลิศ พร้อมเปิดตัวผู้บริหาร PSM อย่างเป็นทางการ ซึ่งนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ นางสาวภัทราธร คุณากรธรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานโฆษณาชื่อว่า “ยาปลอมดับชีวี...ยาดีขจัดโรคา” และ ยังมีรางวัลพิเศษอีก 1 รางวัล คือ นายณัฐพล ผ่านพินิจและนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยี ไทย- ญี่ปุ่น ผลงานโฆษณาชื่อว่า "อยากขาว" ได้รับรางวัล 30,000 บาท งานนี้ได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ดร.โรเบิร์ต ฮอร์แมทส์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้มอบทุนให้กับทาง PSM , รศ. ดร. จุฑามณี สุทธีสีสังข์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงปาฐกถาในงาน ซึ่งในอนาคตทางสหรัฐอเมริการจะส่งเทคโนโลยี และ บุคลากรมาเป็นการสนับสนุนโครงการต่อไป โดย ดร.โรเบิร์ต ฮอร์แมทส์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "วัตถุประสงค์การให้ทุนกับทาง PSM เพื่อต้องการรณรงค์ให้คนไทยมีความรู้เรื่องการใช้ยาหรือกินยาอย่างไรให้ปลอดภัย และได้รู้ถึงพิษภัยของยาที่ไม่ได้คุณภาพหรือยาปลอม ฉะนั้นการให้ทุนครั้งนี้จึงถือเป็นการร่วมมือกันครั้งแรกเพื่อให้คนไทยเข้าถึงยาที่ปลอดภัย ซึ่งต่อไปจะมีความร่วมมือด้านต่างๆอีก ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือด้านบุคคลากร ที่สหรัฐจะส่งผู้เชี่ยวขาญมาให้คำแนะนำและชี้ถึงลักษณะของยาปลอมเป็นอย่างไร ยาชนิดไหนที่ได้มาตรฐาน ยาชนิดไหนที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งจะให้ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี โดยความร่วมมือดังกล่าวจะทำผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) รวมทั้งจะขยายความร่วมมือไปยังทั่วโลก เพราะสหรัฐตระหนักดีว่าปัญหาสุขภาพและเรื่องการใช้ยาเป็นเรื่องของมนุษยชาติ ที่ขณะนี้มีความน่าวิตกกังวลที่ยาไม่ได้มาตรฐานหรือยาปลอมระบาดกันทั่วโลก โดยมีเส้นทางผ่านไปในหลายประเทศ จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกันในระดับสากล เพื่อรณรงค์ให้คนทั่วโลกได้รู้ถึงพิษภัยของยาไม่ได้มาตรฐาน และสามารถเข้าถึงยาที่ปลอดภัย ไมว่าจะเป็น องค์การอนามัยโลก,องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย-แปซิฟิค ( เอเปค) และองค์การการค้าโลก (WTO) ความร่วมมือกับไทยขณะนี้ หากสหรัฐตรวจสอบพบยาใดที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเป็นยาปลอม ก็จะแจ้งมายังประเทศไทยผ่าน อย. เพื่อประกาศไม่ให้ผู้บริโภคคนไทยไปซื้อยาเหล่านั้นมารับประทานเพราะจะเกิดผลเสียและผลร้ายต่อสุขภาพ ฉะนั้นเราจะต้องช่วยกันขจัดยาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือยาปลอมเหล่านั้นให้ออกไปจากวงจรของยา เพราะต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของยาปลอมและยาที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ได้คุณภาพ มีการแพร่ระบาดกันอย่างมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ฉะนั้นเรี่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่คนของรัฐบาลไทยจะต้องเข้ามาดูแลและบอกกล่าวประชาสัมพันธ์ให้คนไทยรับรู้ถึงการกินยาอย่างไรให้ปลอดภัย รวมทั้งตระหนักถึงพิษภัยของยาที่ไม่ได้มาตรฐาน”นายโรเบิร์ตกล่าว ด้านนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการลักลอบนำเข้ายาผิดกฎหมายสูงถึงร้อยละ 10ของยาที่จำหน่ายในประเทศ ยาเหล่านี้มักจำหน่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ขณะนี้แพร่หลายและคนไทยนิยมสั่งซื้อมาก รวมถึงมีการลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศชาย ยาลดความอ้วน ยาลดไขมันในเส้นเลือด ยาแก้อาการซึมเศร้า ยานอนหลับ ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนบางชนิด รวมถึงยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ปวดหัว ยาลดไข้ ยาปลอมหรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเหล่านี้มักจะมีราคาถูกกว่ายาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก(อย.) ซึ่งในช่องทางการลักลอบนำเข้ายาจากต่างประเทศ พบว่าส่วนใหญ่คลีนิกเสริมความงามต่างๆ มีการลักลอบนำเข้ายาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย.จำนวนมาก อาทิ กลูตาไธโอน โบท๊อกซ์ คอลลาเจน พลาเชนต้า รกแกะ วิตามินซี นายแพทย์สุรวิทย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ยาที่ผลิตออกจำหน่ายทั่วโลกเป็นยาปลอมถึงร้อยละ 15 โดยร้อยละ 50 วางขายอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งยาปลอมเหล่านี้จะเป็นยาที่ผลิตเลียนแบบให้มีรูปลักษณะให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นยาจริง หรือเป็นยาที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องมีขนาดความแรงชองยาสูงหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 ของเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เมื่อบริโภคแล้วอาจเกิดอันตราย เช่น ไม่หายจากโรค และทำให้เชื้อโรคดื้อยา เพราะมีตัวยาปริมาณไม่มากพอที่จะฆ่าเชื้อได้ หรือในรายที่เชื้อมีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้" นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าว สำหรับ ภญ.ช้องมาศ นิติศฤงคาริน นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย ) กล่าวว่า การรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงการกินยาอย่างไรให้ปลอดภัย และรับรู้ถึงภาวะปัจจุบันที่มียาที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานและบางส่วนเป็นยาปลอม กินแล้วอาจมีผลเสียหรือผลข้างเคียงต่อร่างกาย เป็นสิ่งทีดี ทำให้คนไทยตาสว่างมากขึ้นและเห็นความสำคัญของกินยาที่ปลอดภัย เพราะหากกินยาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจมีผลเสียต่อสุขภาพและอาจถึงชีวิต ซึ่งยาในปัจจุบันที่ไม่ปลอดภัย จะเป็นทั้งยาที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง และยาที่ไม่ถูกต้อง ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและไม่ได้รับรองว่าเป็นยาที่มีคุณภาพรักษาโรคได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยาปลอม ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะมีส่วนผสมที่มากไปน้อยไป ซึ่งผู้กินยาไปแล้วจะเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ขณะนี้ในประเทศไทยต้องยอมรับว่ายาปลอมระบาดเยอะมาก เพราะการเข้าถึงยาของประชาชนง่าย ไม่ว่าจะเป็นการขายทางอินเทอร์เน็ต ยาตามรถเร่แผงลอย ร้านขายของชำ ซึ่งเราไม่รู้ว่ายานั้นได้คุณภาพจริงหรือไม่ ฉะนั้นการจะซื้อยาแต่ละครั้งควรซื้อในร้านขายยาที่มีคุณาพ มีป้ายการันตีคุณภาพชัดเจน มีเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น” ภญ.ช้องมาศ ได้ย้ำในช่วงท้ายว่า "PSM เป็นโครงการที่เฝ้าระวังและมีหน้าที่ทำให้คนไทยตระหนักถึงการกินยาที่ปลอดภัย แต่ประชาชนเองก็ควรช่วยเหลือตัวเองด้วยเช่น กินยาที่มีคุณภาพจ่ายยาโดยเภสัชกร นอกจากนี้ รัฐบาลเองก็ควรต้องเข้ามาช่วยสอดส่องดูแลและร่วมกันรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงการกินยาที่ปลอดภัย และเร่งกวดขัดเอาจริงเอาจังกับการจับกุมยาปลอมและยาที่ลักลอบนำเข้าให้มากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย" ภญ.ช้องมาศ กล่าวย้ำ ติดต่อ: 0-2675-5775

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ