มาสเตอร์การ์ด อินเด็กซ์ เผยดัชนีความมั่นใจผู้บริโภคในไทยสดใส

ข่าวทั่วไป Tuesday April 10, 2012 12:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--124 คอมมิวนิเคชั่นส์ มาสเตอร์การ์ด อินเด็กซ์ เผยดัชนีความมั่นใจผู้บริโภคในไทยสดใส พุ่งจากครึ่งปีแรก 2554 อย่างมีนัยสำคัญ สวนทางกับดัชนีความมั่นใจผู้บริโภคโดยรวมในเอเชียแปซิฟิคที่ 9 ใน 14 ประเทศชี้ความมั่นใจของผู้บริโภคลดลง โผมาสเตอร์การ์ดเผย ความมั่นใจผู้บริโภคในหมู่ตลาดพัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ลดลงด้วยความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการเติบโตในที่กระจายอยู่ในภูมิภาค มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ อินเด็กซ์ เปิดเผยถึงการทำสำรวจเกี่ยวกับความมั่นใจผู้บริโภค (MasterCard Worldwide IndexTM of Consumer Confidence) ซึ่งดำเนินการในช่วงระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2554 จนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 12,915 คน อายุระหว่าง 18-64 ปี จาก 25 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยการทำสำรวจดัชนีความมั่นใจผู้บริโภคนี้ถือเป็นการสำรวจความมั่นใจของผู้บริโภคครั้งที่ 38 นับตั้งแต่ได้เริ่มมีการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา และถือว่าเป็นดัชนีในเอเชียแปซิฟิกที่ครอบคลุมมากและยาวนานที่สุด โดยคะแนนดัชนีจะแทนค่าศูนย์หากผลมองว่าเป็นด้านลบที่สุด ค่า 100 จะหมายถึงการมองแง่บวกที่สุด ส่วน 50 คือผลที่เป็นกลาง โดยโผสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ด จากผลสำรวจ มีเพียง 5 จาก 14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นไปในทางบวกเมื่อเทียบกับการสำรวจซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อครึ่งปีแรกของปี 2554 ที่ 11 จาก 14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกมองไปในทางบวก โดยภาพรวมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความมั่นใจลดลงจาก 57.4 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 มาเป็น 52.1 ในครั้งนี้ โดยมีความเชื่อมั่นลดลงในทุกตัวชี้วัดที่สำคัญทั้งห้า ไม่ว่าจะเป็นรายได้ประจำ (ลดจาก 69.0 มาเป็น 64.5 จุด) การจ้างงาน (จาก 56.8 เป็น 49.3 จุด) เศรษฐกิจ (จาก 54.8 เป็น 49.3 จุด) คุณภาพชีวิต (จาก 49.7 เป็น 49.6 จุด) และตลาดหุ้น (จาก 56.7 เป็น 47.9 จุด) ตลาดที่เผชิญกับความตกต่ำทางความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างชัดเจนได้แก่ ฮ่องกง ที่ความเชื่อมั่นลดลงถึง 38.7 จุดเมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงต้นปี 2554 ตามมาติดๆ คือไต้หวัน (ลดลง 36.3 จุด) สิงคโปร์ (ลดลง 25.9 จุด) และเกาหลีใต้ (ลดลง 19.7 จุด) ซึ่งถือเป็นความถดถอยทางความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างรุนแรงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลายประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มีการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย (เพิ่มขึ้น 21.8 จุด) ประเทศไทย (เพิ่มขึ้น 19.5 จุด) อินเดีย (เพิ่มขึ้น 18.4 จุด) และฟิลิปปินส์ (เพิ่มขึ้น 24.7 จุด) วิกฤตความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในฮ่องกงลดลงจาก 68.6 จุด ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 มาเป็น 29.9 จุด ส่วนในไต้หวันนั้นลดจาก 66.4 มาเป็น 30.1 จุด และสิงคโปร์จาก 75.9 เป็น 50.0 จุด ความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภคฮ่องกงเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจลดลงอย่างยิ่ง จาก 66.4 เหลือ 19.9 ดัชนีการจ้างงานลดจาก 70.4 เหลือ 25.7 ด้านคุณภาพชีวิตลดจาก 46.3 เป็น 21.1 การร่วงหล่นนี้ยังเห็นได้จากตัวเลขเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดหุ้น (จาก 79.1 เป็น 23.3 จุด) และรายได้ประจำ (จาก 80.6 เป็น 59.4 จุด) ในทางกลับกัน ผลจากการสำรวจในครั้งนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 52.3 จุดในครึ่งปีแรกของปี 2554 ไปเป็น 77.0 ในครึ่งปีหลัง โดยการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นนี้ปรากฏอยู่ในทุกตัวชี้วัด นอกจากนี้ ทัศนคติของประชาชนชาวอินโดนีเซียก็เป็นผลบวก โดยระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคนั้นไต่จาก 54.4 ไปถึง 76.2 ตามมาด้วยอินเดีย (จาก 62.8 เพิ่มขึ้นเป็น 81.2 จุด) ประเทศไทย (44.4 เพิ่มเป็น 63.9 จุด) ส่วนประเทศมาเลเซียนั้นวัดค่าความเชื่อมั่นได้ลดลงเล็กน้อย (จาก 60.6 ลดเหลือ 52.8 จุด) ในขณะที่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น (16.7 เป็น 16.2) เวียดนาม (78.0 เป็น 78.8) และนิวซีแลนด์ (38.6 เป็น 35.7) ยังคงเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง “ด้วยวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก และส่งผลกระทบต่อทุกตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางสภาพการณ์ภายในของแต่ละประเทศมีส่วนสำคัญต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไปในแต่ละตลาด” ดร. ยุวะ เฮดริก หว่อง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจโลกของมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ ออกความคิดเห็น “การแสดงออกถึงความมั่นใจอันแข็งแกร่งของตลาดเกิดใหม่ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และอินเดีย ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยภายในประเทศมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการบริโภคของภาคเอกชนและสามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างความรู้สึกเชิงบวกที่ยั่งยืนในตัวผู้บริโภคได้ ถึงแม้ว่าการเจริญเติบโตโดยรวมจะมีการชะลอตัวลง” ดร.ยุวะ กล่าวสรุป วิธีการทำวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกถามด้วย 5 คำถามที่เกี่ยวข้องกับการคาดคะเนมุมมองทางเศรษฐกิจ แนวโน้มการจ้างงาน การลงทุนในตลาดหุ้นภายในประเทศ เป้าหมายรายได้ประจำ และคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคลในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า โดยผลที่ได้จากการตอบคำถามเหล่านี้จะถูกนำมาจัดลงในประเภทดัชนี 5 ประเภท ซึ่งท้ายที่สุดจะรวมเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความมั่นใจผู้บริโภค (MasterCard Worldwide IndexTM of Consumer Confidence) โดยการสำรวจนี้จะประกอบไปด้วยคะแนนจากทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยในแต่ละประเภทตัวชี้วัดจะมีคะแนนซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 ศูนย์คะแนนหมายถึงผลที่เป็นไปในทางลบมากที่สุด 100 คะแนนจะหมายถึงผลที่เป็นไปในทางบวกมากที่สุด ส่วน 50 คือผลที่เป็นกลาง ดัชนีสำรวจมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความมั่นใจผู้บริโภค การสำรวจความมั่นใจผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ หรือ MasterCard Worldwide IndexTM of Consumer Confidence มีการบันทึกและติดตามการสำรวจเกี่ยวกับความมั่นใจผู้บริโภคมากว่า 20 ปี โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กว่า 200,000 ครั้ง ของทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา การสำรวจมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความมั่นใจผู้บริโภค เป็นการสำรวจที่ครอบคลุมและมีมานานที่สุดในภูมิภาค ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2540 ดัชนีชี้ให้เห็นถึงการลดลงของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่ง ณ ขณะนั้นเป็นระยะเวลาเพียง 1 เดือนก่อนที่จะมีการลดค่าเงินบาทไทย อันก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาค จากนั้น ในเดือนมิถุนายน 2546 คะแนนดัชนีสำหรับการจ้างงานในฮ่องกงลดต่ำเหลือเพียงแค่ 20.0 จุด สะท้อนให้เห็นอัตราการว่างงานของฮ่องกงในเวลาต่อมา ซึ่งลดลงถึงจุดต่ำสุดเพียงแค่ 8 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2546 การทำสำรวจนี้ครอบคลุมตลาดของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยการสำรวจเริ่มจัดทำขึ้นตั้งแต่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2536 และได้มีการจัดทำอย่างต่อเนื่องปีละ 2 ครั้งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยตลาดต่างๆ ในตะวันออกกลางและแอฟริกานั้นได้เริ่มรวมอยู่ในการสำรวจตั้งแต่ปี 2547 ณ ขณะนี้ 25 ตลาดที่รวมอยู่ในการสำรวจ ประกอบไปด้วยออสเตรเลีย จีน อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เคนยา คูเวต เลบานอน มาเลเซีย โมร็อกโก นิวซีแลนด์ ไนจีเรีย โอมาน ฟิลิปปินส์ การ์ตา ซาอุดิอารเบีย เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม โดยโผสำรวจมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความมั่นใจผู้บริโภคฉบับล่าสุดนี้ได้จัดทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2555 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2555 มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 12,915 รายจาก 25 ประเทศ เป็นกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มคนผู้มีรายได้ระดับปานกลางจนถึงสูงในแต่ละประเทศ คะแนนดัชนีจะถูกคำนวณด้วยค่าศูนย์หากผลเป็นไปในทางลบมากที่สุด ค่า 100 จะหมายถึงผลที่เป็นไปในทางบวกมากที่สุด ส่วน 50 คือผลที่เป็นกลาง โดยมีการวัด 5 ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การจ้างงาน เศรษฐกิจ รายได้ประจำ ตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต และคำตอบจากการสำรวจคือความคิดทางการคาดคะเนล่วงหน้า 6 เดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม การรวบรวมข้อมูลนั้นจะใช้การสำรวจทางอินเทอร์เน็ตและการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวด้วยการใช้แบบสอบถามที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นตามความเหมาะสม โดยผลลัพธ์จากสำรวจอาจมีความคลาดเคลื่อนบวกลบ 4-5 เปอร์เซ็นต์ อันเนื่องมาจากความผิดพลาดของการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และมีค่าความมั่นใจอยู่ที่ 95 เปอร์เซ็นต์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ