โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น. พี. ตั้งศูนย์โรคกระเพาะบิด แห่งแรกในประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Thursday May 20, 2004 09:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 พ.ค.--โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น. พี.
โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น. พี. จัดตั้ง ศูนย์โรคกระเพาะบิด แห่งแรกในประเทศไทยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของสุนัขที่เกิดจากโรคนี้ แนะผู้เลี้ยงควรส่งให้ถึงมือสัตวแพทย์ โดยเร็วที่สุด เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยได้
น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ เอ็น. พี. เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีโรคของสุนัขหลายโรคที่เข้าข่ายกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากสามารถทำให้สุนัขตายได้อย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือ โรคกระเพาะบิด ซึ่งในต่างประเทศมีการจัดตั้ง ศูนย์โรคกระเพาะบิด เพื่อทำการผ่าตัดรักษา แต่ในประเทศไทย ยังไม่มีศูนย์โรคกระเพาะบิด เช่นนี้ วิธีการรักษาโรคกระเพาะบิด ที่ดีที่สุดคือ ทำการผ่าตัดจัดกระเพาะกลับที่ โดยสัตวแพทย์ ที่มีประสบการณ์ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับสุนัขทุกพันธ์ ทุกเพศ ทุกวัย
" การตั้งศูนย์โรคกระเพาะบิดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สัตวแพทย์ที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ มีประสบการณ์ในการดูโรคกระเพาะบิด และต้องอยู่ประจำศูนย์ ตลอดเวลาที่ทำการ เพราะโรคนี้ไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ ที่ขัดเจน ก่อนที่ผู้เลี้ยงจะรู้ก็อยู่ในระยะอันตรายแล้วเป็นส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากการกินอาหารอิ่ม หรือ กินน้ำเข้าไปมากๆ เมื่อ สุนัขกลับตัว ทำให้เกิดการบิดตัวของกระเพาะ ซึ่งถ้าเกิดการบิดมากกว่า 180 องศา อาจจะถึงตายได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเกิดกับสุนัขพันธ์ใหญ่มากกว่าพันธุ์เล็ก สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ เกิดจากการส่งถึงมือสัตวแพทย์ ไม่ทัน วิธีการที่พอจะสังเกตง่ายๆว่า สุนัขของท่านเป็นโรคกระเพาะบิดหรือไม่ คือ ท้องจะป่องในระยะเวลาอันรวดเร็ว สุนัขจะอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีอาการร้อง นั้นคือ ต้องรีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วนที่สุด เพื่อทำการผ่าตัดเท่านั้น ส่วนข้อแนะนำสำหรับผู้เลี้ยงสุนัข เพื่อป้องกันโรคนี้คือ ในช่วงหน้าร้อน อย่าให้สุนัขกินอาหาร หรือ น้ำ มากจนเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะมีน้ำหนักมาก และ เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้สูง " น.สพ. พัฒนา กล่าว
ซึ่งจากการศึกษาสุนัข 134 ตัวที่มีอาการกระเพาะบิดโดยมหาวิทยาลัยฮาโนเวอร์ของเยอรมัน พบว่า 10% ตายหรือฉีดยาให้หลับก่อนการผ่าตัด เนื่องจากเจ้าของสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว หรือมีอาการมากเกินกว่ารักษาได้ ในจำนวนนี้ 33 ตัวที่รับการผ่าตัด 8 ตัว (24%) จะตายหรือฉีดยาให้ตายภายหลังการผ่าตัด 48 ชั่วโมง เนื่องจากไม่ตอบสนองต่อการรักษา และอีก 6 ใน 8 ตัวมีอาการกระเพาะบิดซ้ำอีก 76% ของสุนัขที่กระเพาะบิดแต่ไม่ได้รับการผ่าตัด มีอาการซ้ำอีก สุนัข 88 ตัวที่ได้รับการผ่าตัดร่วมกับการแก้ไขอาการท้องอืด 9 ตัว (10%) ตายระหว่างทำการผ่าตัด อีก 16 ตัว (18%) ตายหลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ส่วน 63 ตัว (71.5%) กลับบ้านอย่างปลอดภัย ในจำนวนนี้มี 4 ตัว (6%) มีอาการกระเพาะบิดซ้ำอีก66.4% ของสุนัขที่เป็นโรคนี้เป็นสุนัขเพศผู้ 33.6% เป็นสุนัขเพศเมีย ทุกตัวมีอายุระหว่า 7-12 ปี เป็นพันธุ์ เยอรมันเชพเพอร์ด และ บ๊อกเซอร์ เป็นส่วนมาก--จบ--
-นท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ