บลจ.ไอเอ็นจี มองหุ้นไทยรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ทั้งปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป การชะลอตัวเศรษฐกิจของสหรัฐและจีน มองตลาดหุ้นไทยอาจผันผวนในทิศทางขาขึ้น แนะ “ทยอยสะสมลงทุน”

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 24, 2012 16:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 เม.ย.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ บลจ.ไอเอ็นจี มองหุ้นไทยรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเป็นหลักทั้งปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป การชะลอตัวเศรษฐกิจของสหรัฐและจีนมองตลาดหุ้นไทยอาจผันผวนในทิศทางขาขึ้น แนะ “ทยอยสะสมลงทุน”ปลื้ม ‘ไอเอ็นจีไทยบาลานซ์ฟันด์’ ได้รับ 5-Star จาก Morningstar ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 บลจ.ไอเอ็นจี มองตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาผันผวนจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะความกังวลต่อวิกฤตหนี้ยุโรปรอบใหม่จากสเปนและอิตาลี รวมถึงความเสี่ยงในการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเนเธอร์แลนด์จากภาวะหนี้ที่สูงขึ้น การชะลอทางเศรษฐกิจของสหรัฐและจีน แต่ยังคงเชื่อตลาดหุ้นไทยสามารถไปต่อได้จากเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง และปัจจัยหนุนจากการที่ IMF ปรับเพิ่มประมาณการณ์จีดีพีไทยในปี 2012 อยู่ที่ระดับ 5.5% และ 7.5% ในปี 2513 แนะนักลงทุน “ทยอยสะสมลงทุน’ เมื่อหุ้นปรับฐาน ติดตามการประชุม รมว.คลัง G-20 พิจารณาการเพิ่มทุนให้แก่ IMF เพื่อเพิ่มความสามารถในการปล่อยสินเชื่อในการแก้ปัญหายูโรโซน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยไตรมาส 1/2555 คาดว่าจะออกมาดี ปลื้ม “กองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยบาลานซ์ฟันด์’ ได้รับการปรับเพิ่ม MorningStar Rating Overall เป็น 5-Star จากผลการดำเนินการย้อนหลัง 3 ปีติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมามีความผันผวนมาจากความกังวลกับการลุกลามของปัญหาหนี้ในกลุ่มยูโรโซน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อการแก้ปัญหาหนี้ของประเทศอิตาลีและสเปนที่หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเงินก็จะมีผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ เนื่องจากอิตาลีและสเปนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 และ 4 ของกลุ่มยูโรโซน โดยเฉพาะอิตาลีซึ่งเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงที่สุดในกลุ่มประเทศยุโรป รวมถึงความกังวลต่อการที่เนเธอรแลนด์มีโอกาสที่จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจากฟิทช์ หากสถานะการคลังไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุล รวมทั้งความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐหลายตัวออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนใน 1Q12 ขยายตัวที่ระดับ 8.1% YoY ซึ่งชะลอตัวลงจาก 4Q11 ที่ระดับ 8.9% YoY จึงทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นเอเชียมีแรงขายทำกำไรและมีความผันผวนจากปัจจัยลบ อย่างไรก็ตาม ตลาดได้คลายความกังวลไปบ้างจากปัจจัยเชิงบวกจากการประชุม รมว.คลัง G-20 พิจารณาการเพิ่มทุนให้แก่ IMF ประมาณ 4.30 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเงินเพิ่มทุนนี้จะเติมเงินกองทุนฉุกเฉินวงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาในกลุ่มยูโรโซน ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลเรื่องการลุกลามของวิกฤติหนี้ยุโรปที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และการที่ EU ยืนยันว่าสเปนยังไม่มีความจำเป็นต้องขอรับเงินช่วยเหลือผ่านโครงการ EFSF รวมถึงการที่พันธบัตรระยะสั้นของสเปนขายได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงต้องติดตามปัจจัยหนุนจากความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีก โดยเฉพาะการปรับลด RRR หลังจากที่สัญญาณการขยายตัวที่ชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนเริ่มชัดเจนขึ้น ในส่วนตลาดหุ้นไทยนั้น เรายังคงเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาตลาดจะมีความผันผวนจากการขายทำกำไรบางส่วน เพราะนับตั้งแต่ต้นปีตลาดหุ้นไทยสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 16% (12 เมษายน 2555) แต่หากมองภาพโดยรวม นักลงทุนยังคงมีความเชื่อมั่นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของไทย โดยทาง IMF ได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์ GDP ไทยในปี 2012 และ 2013 เพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่ 5.5% และ 7.5% ตามลำดับ (เมษายน 2555) สอดคล้องกับการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ไว้ที่ 5.7% ซึ่งการเติบโตนั้นมาจากการลงทุนของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่วิกฤติน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา และการบริโภคของภาคประชาชนจากการปรับเพิ่มขึ้นค่าครองชีพ รวมทั้งนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะทยอยออกมา “หากมองภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจนถึงสิ้นปี 2555 เรายังคงเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ จากการขับเคลื่อนของปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก แต่หากมองภาพการลงทุนในระยะสั้นถึงกลาง นักลงทุนจะต้องติดตามรายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2555 และแนวโน้มของบริษัทจดทะเบียนที่จะทยอยออกมาจนถึงช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2555 ซึ่งคาดว่าจะออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ภายหลังจากที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้ประกาศออกมาก่อนแล้วซึ่งพบว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีกำไรสุทธิดีกว่าคาด ดังนั้น นักลงทุนอาจพิจารณา “ทยอยลงทุน” เมื่อตลาดหุ้นมีการปรับฐานและแนะนำให้ถือลงทุนระยะยาว เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี” นายจุมพล กล่าวเพิ่มเติมว่า “กองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยบาลานซ์ฟันด์” ได้รับการปรับเพิ่ม MorningStar Rating (Overall) อยู่ในระดับ 5-Star ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (ข้อมูล ณ 31 มีนาคม 2555) (www.morningstarthailand.com) จากผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปีที่อยู่ที่ 103.90% สูงกว่าดัชนีเปรียบเทียบที่ 72.20% โดยในช่วง 3 เดือนย้อนหลังผลตอบแทนอยู่ที่ 13.14%, 6 เดือนเท่ากับ 21.82%, 1 ปีเท่ากับ 11.91% ในขณะที่ดัชนีเปรียบเทียบอยู่ที่ 7.84%, 15.46%, 8.24% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ 30 มีนาคม 2555) (www.ingfunds.co.th) “ทาง บลจ.ไอเอ็นจี เชื่อมั่นว่าการบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่องให้กับนักลงทุน เป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นในการบริหารกองทุนอยู่เสมอ จึงทำให้กองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยบาลานซ์ฟันด์ ได้รับการจัดอันดับในระดับ 5-Star กองทุนนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุน ในภาวะที่ตลาดมีความผันผวน เพราะจุดเด่นของกองทุนนี้คือความยืดหยุ่นในการลงทุนระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ และมีการปรับสัดส่วนการลงทุนอย่างสมดุล (Portfolio Rebalancing) ให้เหมาะสมกับสภาพการลงทุนในขณะนั้น จึงทำให้กองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยบาลานซ์ฟันด์ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับผู้สนใจลงทุนในกองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยบาลานซ์ฟันด์สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายธุรกิจกองทุนและที่ปรึกษาการลงทุน โทรศัพท์ 02-688-7777 กด 2 หรือ www.ingfunds.co.th การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การวัดผลการดำเนินงานนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย คุณพรพรรณ ไพบูลย์วัฒนชัย บริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจกองทุนและที่ปรึกษาการลงทุน อรอนงค์ ภัทรเวชกุล (ฟ้า) บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด T-0-2248-7967-8 ต่อ 117 T- 0-2688-7785 F- 0-2688-7707 E- Pornpun.P@ingfunds.co.th E-c_mastermind@hotmail.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ