เอเชียแปซิฟิกจำเป็นต้องมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียวเพื่อทดแทนต้นทุนธรรมชาติที่ลดลง ไทย ติดอันดับพื้นที่ที่มีรอยเท้านิเวศน์เฉลี่ยต่อคนมากที่สุดในภูมิภาค

ข่าวทั่วไป Wednesday June 6, 2012 15:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--WWF รายงานการประเมินต้นทุนธรรมชาติฉบับใหม่ของ WWF ระบุถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รุดหน้าและการบริโภคต่อคนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กำลังเผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าที่มีอยู่ สร้างแรงกดดันต่อป่าไม้ แม่น้ำและมหาสมุทรในภูมิภาคที่ถูกใช้ประโยชน์อย่างมากอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว รายงาน “รอยเท้านิเวศน์และการลงทุนเพื่อต้นทุนธรรมชาติในเอเชียแปซิฟิก” ฉบับนี้ WWF จัดทำร่วมกับธนาคาร เพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นการให้ภาพรวมเกี่ยวกับองค์ประกอบของรายงาน Living Planet ที่เพิ่งมีการเปิดเผยรายงานไป โดยจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับวิธีการรักษาระบบนิเวศแหล่งสำคัญในภูมิภาคให้บรรลุผล เช่น ป่าบนเกาะบอร์เนียวอันโดดเด่น, ความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำบริเวณสามเหลี่ยมปะการัง, อนุภาคลุ่มน้ำโขงที่มีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย รวมทั้ง แถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย “ทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกนั้น ช่องว่างระหว่างความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ กับการฟื้นตัวขึ้นใหม่ของทรัพยากรธรรมชาติยิ่งขยายกว้างขึ้นทุกที” จิม ลีป ผู้อำนวยการใหญ่ WWF สากล กล่าว “ในปี 2551 จำนวนทรัพยากรธรรมชาติ ต่อคนในพื้นที่ที่มีความหลากหลายอย่างแถบเทือกเขาหิมาลัยตะวันออก และในเขตลุ่มน้ำโขง ลดลงราว 2 ใน 3 เมื่อเทียบกับปี 2513 และเป็นเรื่องน่าเศร้าที่อัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์สายพันธุ์ต่างๆในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ อัตราเฉลี่ยทั่วโลก” เขากล่าวต่อ รายงานฉบับใหม่ใช้ดัชนี Living Planet (LPI) ในการวัดความเปลี่ยนแปลงของความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทั่วภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก พบว่าดัชนี้ทั่วโลกลดลงร้อยละ 28 ในช่วงปี 2513 — 2551 แต่ว่าเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่งเดียว กลับพบว่าในช่วงเวลาดังกล่าว มีการลดลงของประชากรสัตว์สายพันธุ์สำคัญๆ อย่างน่าตกใจถึงร้อยละ 64 “นับตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังอยู่ในช่วงที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีการเปลี่ยนแปลงทาง ประชากรศาสตร์อย่างรวดเร็วกว่าภูมิภาคอื่นๆในโลก” โจนาธาน โลห์ จากสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ซึ่งเป็น องค์กรที่คอยติดตามดัชนี LPI กล่าว “ทั่วเขตร้อนเกือบทุกพื้นที่ในแถบเอเชียแปซิฟิก มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากราวๆ 1200 ล้านคน เป็น 2600 ล้านคน ซึ่งแค่นี้ก็เพียงพอที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อแหล่งธรรมชาติในพื้นที่มากขึ้นเป็นสองเท่าแล้ว เมื่อรวมเข้ากับการบริโภคทรัพยากรรายบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงชัดเจนว่าการแก้ไขแนวโน้มที่ถดถอยนี้ เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งรูปแบบการผลิตและบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ” เขากล่าวเพิ่ม ชาติในเอเชียที่มีรอยเท้าทางนิเวศน์มากที่สุด ทั้งรายประเทศและเขตแดน คือ ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, มองโกเลีย, เกาหลีใต้, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ปาปัวนิวกินี, ไทย และจีน เป็น 10 อันดับของพื้นที่ที่มีรอยเท้านิเวศน์เฉลี่ยต่อคนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประชากรในแถบเอเชียแปซิฟิกยังคงบริโภคเฉลี่ยน้อยกว่าเกือบร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกที่บริโภคมากกว่าทรัพยากรของดวงดาวมากกว่าหนึ่งเท่าครึ่งต่อคน แต่ยังมีความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงอยู่ ยกตัวอย่างรอยเท้านิเวศน์ต่อคนของออสเตรเลีย ซึ่งสูงที่สุดในภูมิภาค สูงกว่าติมอร์เลสเต้ถึง 14 เท่า หากวัดจากระดับประเทศ จีนจะเป็นประเทศที่มีรอยเท้านิเวศน์ใหญ่ที่สุดเหนือประเทศอื่นๆในเอเชียแปซิฟิก เนื่องจาก จีนมีประชากรมากที่สุด ในรายงานระบุว่า จีนและอินเดียจะเป็นสองประเทศที่มีรอยเท้านิเวศน์โดยรวมเพิ่มขึ้นสูงที่สุดภาย ในปี 2558 และจะเป็นประเทศที่สร้างรอยเท้านิเวศน์รวมร้อยละ 37 ของประมาณการณ์รอยเท้านิเวศน์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก “ภายใน 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้บริโภคหน้าใหม่หลายร้อยล้านคนเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้บริโภคที่มีอยู่ในเอเชียและแปซิฟิกทุกวันนี้ และจะยิ่งเพิ่มความต้องการพลังงาน, อาหาร, โลหะ และน้ำ” จิม ลีป กล่าว “เราจำเป็นต้องเพิ่มกลไกที่จะปกป้องทรัพยากรทาง เลือกเศรษฐกิจที่ถูกต้องสำหรับชุมชนที่จะใชังานและต้องพึ่งพา” ทางออกของภูมิภาคเพื่อสุขภาวะของโลก รายงานรอยเท้าทางนิเวศน์และการลงทุนเพื่อต้นทุนธรรมชาติในเอเชียและแปซิฟิก สรุปทางออกสำคัญไว้สี่ประการที่จะ สามารถลดการถดถอยของดัชนี Living Planet ในพื้นที่สำคัญสี่แห่ง คือ ใจกลางเกาะบอร์เนียว, สามเหลี่ยมปะการัง, อนุภาคลุ่มน้ำโขง และทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย พื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันเป็น แหล่งกำเนิดอาหาร, น้ำ และพลังงานหล่อเลี้ยงคนหลายล้านคน และยังเป็นแหล่งอาศัยของพืชและสัตว์อันทรงคุณค่าสายพันธุ์ ต่างๆมากมาย รายงานระบุการวางนโยบายที่ยอมรับถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการวางแผนเป็นสมการ ข้อหนึ่ง เช่นเดียวกับการให้งบประมาณเพียงพอ การเฝ้าสังเกตการณ์ทางทะเลและพื้นที่อนุรักษ์ การจ่ายค่าบริการ เพื่อระบบ นิเวศภายใต้โครงการต่างๆ เช่น โครงการ REDD ก็มีบทบาทสำคัญ เช่นเดียวกับโครงการริเริ่มเพื่อความยั่งยืนของภาคเอกชน ยกตัวอย่างภาคธุรกิจหลายธุรกิจในภูมิภาคนี้ ที่แสดงให้เห็นถึงการผลิตสินค้าอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นสำลี, ถั่วเหลือง, น้ำมันปาล์ม, ปลา และไม้ ซึ่งสร้างผลดีต่อทั้งประชาชนและสิ่งแวดล้อม “เราต้องเดินหน้าเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงมากขึ้นทั้งในด้านโครงสร้างและระบบในการผลิตสินค้าและการบริการต่างๆ” ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธาน ADB กล่าว “เศรษฐกิจสีเขียวนั้นจะกลายเป็นจักรกลสร้างความเติบโตและขับเคลื่อนงานสีเขียวรุ่นใหม่ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น” ริโอ +20 รายงานรอยเท้าทางนิเวศน์และการลงทุนเพื่อต้นทุนธรรมชาติในเอเชียและแปซิฟิก เผยแพร่ในวันสิ่งแวดล้อมโลก และเผยแพร่ เพียงสามวันก่อนการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ริโอ+20) ที่นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งได้ นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับทางออกที่ผู้นำชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมเอิร์ธ ซัมมิท จะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือการยึดมั่น ในคำสัญญาเพื่อสร้างอนาคตอันยั่งยืน “ความท้าทายที่ได้นำเสนอในรายงานรอยเท้าทางนิเวศน์ในเอเชีย-แปซิฟิก แสดงให้เราเห็นว่าเราใช้ชีวิตเกินกว่าทรัพยากรที่เรามี แต่ในรายงานยังระบุอย่างชัดเจนถึงทางออกที่ปฏิบัติอย่างได้ผล ตั้งอยู่บนความเข้มแข็งของพันธมิตรของเราทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับนานาชาติ” ลีปกล่าว”ริโอ+20 จะมอบโอกาสอันแสนพิเศษแก่ภาครัฐ, ธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถรักษาธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของโลก เราไว้” เขากล่าวเสริม ADB และ WWF ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2001 ในประเด็นหลักๆด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการพัฒนาและสนับสนุนประเทศต่างๆในเอเชียแปซิฟิก เพื่ออนุรักษ์ต้นทุนทางธรรมชาติในภูมิภาคไว้ หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://awsassets.panda.org/downloads/footprint_and_investment_in_natural_capital_in_apac.pdf ดูภาพประกอบเนื้อหารายงาน https://photos.panda.org/gpn/external?albumId=4253 ดูวิดีโอ “Evergreen” ได้ที่ http://gvn.panda.org/pages/search.php?search=%21collection1751 ดาวน์โหลดกราฟและกราฟฟิคข้อมูลได้ที่ http://dl.dropbox.com/u/11626130/2012_APAC_footprint_graphs.zip ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : เอื้อพันธ์ ชำนาญเอื้อ ผู้จัดการแผนกสื่อสารองค์กร WWF ประเทศไทย, อีเมล uchamnanua@wwfgreatermekong.org, โทร +668 1928 2426 www.wwfthai.org WWF คือหนึ่งในองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด และเป็นอิสระมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีผู้ให้การ สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคน และมีเครือข่ายทำงานอยู่ในประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศ พันธกิจของ WWF คือ ลดการบุกรุก และยั้บยั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของโลก พร้อมไปกับสร้างอนาคตใหม่ให้มนุษย์อยู่ ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ด้วยการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของโลก สร้างหลักประกันให้มีการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผลักดันให้เกิดการลดมลภาวะและลดการบริโภคอย่าง สิ้นเปลือง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ